คู่มือชีวามิตร EP.6 ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลผู้ป่วย
เมื่อความเจ็บป่วยระยะท้ายดำเนินมาถึงจุดที่ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร การตัดสินใจ หรือความสามารถในการดูแลตัวเอง เรามักพบว่ามีปัญหาทางด้านกฎหมายเกิดขึ้น เป็นประเด็นขัดแย้ง หรือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวได้เสมอ นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า มาเรียนรู้หลักการเบื้องต้นทางกฎหมายในการตั้งผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลผู้ป่วย ว่ามีความแตกต่าง กันอย่างไร ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 6 ผู้พิทักษ์-ผู้อนุบาลผู้ป่วย” เตรียมพร้อมวางแผนชีวิตระยะท้ายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อการจากลาอย่างสุขสงบ ไม่มีสิ่งค้างคาในใจ
คู่มือชีวามิตร EP.5 ความปรารถนาที่แท้จริง
ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ทุกคนต้องการการดูแลรักษาที่ทรมานน้อยที่สุด ไม่เป็นภาระให้คนรอบข้างและจากไปอย่างมีคุณภาพ หนังสือ “ความปรารถนาที่แท้จริง” เป็นการแนะนำการวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในวาระสุดท้ายของชีวิตและการทำ Living will ที่เป็นตัวช่วยในวันที่ผู้ป่วยสื่อสารไม่ได้ ไม่มีสติสัมปชัญญะ เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจเจตนาในการเลือกวิธีการรักษาที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยจริง ๆ เพราะการทำตามเจตนาของผู้ป่วยนอกจากจะเป็นการลดความทุกข์ใจของผู้ดูแลที่ต้องตัดสินใจแล้ว ยังถือเป็นการมอบสิ่งที่ดีที่สุด ที่ตรงตามความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ที่จากไป มาเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้จากคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 5 ความปรารถนาที่แท้จริง” เพื่อให้การวางแผนในชีวิตระยะท้ายมีคุณภาพ พร้อมจากไปแบบทุกข์ทรมานน้อยที่สุดอย่างที่ตั้งใจ
คู่มือชีวามิตร EP.4 จัดกระเป๋าครั้งสุดท้าย
เชื่อว่ามีหลายคนที่ตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเราจะเตรียมพร้อมทางการเงินสำหรับชีวิตบั้นปลายโดยเฉพาะการดูแลรักษาด้านสุขภาพอย่างไร “จัดกระเป๋าครั้งสุดท้าย” คลิปวิดีโอที่จะแนะนำถึงสิ่งสำคัญ ในเรื่องการวางแผนทางการเงิน สิทธิขั้นพื้นฐาน สวัสดิการต่าง ๆ ที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลและหนังสือมอบอำนาจต่าง ๆ ให้เราได้เรียนรู้การวางแผนและเตรียมตัว เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตระยะท้ายที่ดี มาเรียนรู้การวางแผนทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้ายที่ดี ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 4 จัดกระเป๋าครั้งสุดท้าย” เพื่อเตรียมพร้อมจัดกระเป๋าเดินทางสู่ลมหายใจสุดท้าย ด้วยความสบายใจและหมดห่วง
คู่มือชีวามิตร EP.3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี
เมื่อความเจ็บป่วยดำเนินมาถึงระยะท้าย หลายคนมักคิดว่าเป็นข่าวร้ายและไม่สามารถบอกความจริงกับผู้ป่วยอย่างตรงไปตรงมาได้ “ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี” จะช่วยให้เราเปลี่ยนมุมมองการแจ้งความจริงกับผู้ป่วย พร้อมเรียนรู้เทคนิคขั้นตอนการแจ้งความจริงและวิธีรับมือกับปฏิกิริยาต่อความโศกเศร้าของผู้ป่วย การแจ้งความจริงกับผู้ป่วยเท่ากับเป็นการปลดล็อคและบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้เขาสำรวจความต้องการของตัวเองและวางแผนจัดการสิ่งเหล่านั้น มาเรียนรู้เทคนิคการแจ้งข่าวร้ายด้วยกัน ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี” แล้วคุณจะรู้ว่า นั่นไม่ใช่เรื่องร้ายเสมอไป แต่กลับช่วยปลดล็อคและ ลดความทุกข์ให้กับคนที่ เรารักได้เช่นกัน
คู่มือชีวามิตร EP.2 ร่างกายกำลังบอกลา
ชุดความรู้ที่อธิบายอาการภาพรวมในผู้ป่วยในภาวะใกล้เสียชีวิตและคำแนะนำความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของผู้ป่วย เพื่อให้เราดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีและคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยระยะท้ายเป็นหลัก ไม่ยัดเหยียดการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ในระยะท้ายของชีวิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและเป็นการสร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยระยะท้ายมากขึ้น มาหาคำตอบกันในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 2 ร่างกายกำลังบอกลา: สรีระวิทยาภาวะใกล้เสียชีวิต”
คู่มือชีวามิตร EP.1 ทางเลือกที่เลือกได้
เมื่อมีคนเจ็บป่วยในครอบครัว แน่นอนว่าทุกคนอยาก “รักษาให้ถึงที่สุด” แต่ถ้าความเจ็บป่วยเดินทางมถึงระยะสุดท้าย เราควรเลือกการรักษาแบบไหนดี? เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างและยื้อความเจ็บปวดให้ยาวนานยิ่งขึ้น “ทางเลือกที่เลือกได้” คู่มือที่ช่วยแนะนำให้เราตระหนักถึงทางเลือกในการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตและความสุขให้แก่ผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อให้คนที่เรารัก “อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”
Trailer ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข
ความเจ็บป่วย ความชรา และช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต เป็นธรรมชาติที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ มาร่วมเรียนรู้ไปกับคลิปวิดีโอ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข” ทั้ง 12 ตอน ที่จะทำให้คุณเข้าใจความหมายของการ “อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ได้อย่างลึกซึ้งและเป็นจริง
สืบจับกรุ๊ปเมา ทีมพเนจรจัด
หนังสั้น สืบจับกรุ๊ปเมา โดย ทีมพเนจรจัด (นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามและวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี ) เป็นผลงานซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยมือถือ ในโครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยหนังสั้น ได้เล่าเรื่องการสืบสวนหาตัวคนกระทำความผิดจากเหตุการณ์รถชนกันจนผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ได้รับบาดเจ็บ และกุญแจสำคัญที่ไขปริศนาและหาตัวผู้ทำความผิด “ดื่มแล้วขับ” ก็คือ “การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารแอลกอฮอล์”
DrinkandDriveStory ทีมArt Gallery
Drink and Driver Story โดย ทีม Art Gallery (นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม) เป็นหนังสั้นที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยมือถือ โครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หนังสั้นเรื่องนี้ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องย้อนกลับไปยังต้นเหตุของเหตุการณ์ที่ชายหนุ่มคนหนึ่งรู้สึกงุนงงว่าเหตุใดจึงถูกเจาะเลือด แล้วความทรงจำเขาก็ค่อยๆ ชัดเจนขึ้น จนพบความจริงที่น่าสะพรึงกลัวก็คือ ฆาตรกรที่ฆ่าน้องสาวของเขา ก็คือ เขาเอง
Late Night Ads ทีมThe1310
Late Night Ads โดย ทีมThe1310 เป็นหนังสั้นฝีมือการผลิตของกลุ่มคนทำสื่ออิสระ ที่เล่าเรื่อง ของ “สมโพช ”หนุ่มพนักงานออฟฟิศ ผู้ที่ได้รับแรงกดดันจากหัวหน้างานจนเกิดความเครียดและเก็บกด ในวันหนึ่งสมโพชเห็นคลิปโฆษณา “เบียร์ไอเบกซ์เซอร์” บนเฟซบุ๊กของเขา อิทธิพลของโฆษณานี้ทำให้เขาเกิดความอยากดื่มและตัดสินใจโพสต์ชวนเพื่อนไปดื่มสังสรรค์ที่บาร์เบียร์แห่งหนึ่ง และโฆษณานี้ก็เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สมโพช ไม่ได้กลับมาเต้นเพลงแจ๊สแบบที่เขาชอบอีกต่อไป หนังสั้นเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยมือถือ โครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แถวตรง : ทีมผู้หญิงใส่แว่นคนนั้น
“แถวตรง” โดย ทีมผู้หญิงใส่แว่นคนนั้น เป็นหนังสั้นที่ผลิตขึ้นจากกลุ่มนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเจาะเลือดตรวจเพื่อตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ อีกหนึ่งมาตรการในการกวดขันและเอาจริงเอาจังประเด็น “เมาแล้วขับ” การเล่าเรื่องมีการนำคนมาแสดงเป็น “เลือด” และ “แอลกอฮอล์” เพื่อสื่อให้เห็นถึงโทษเมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ขาดสติ ควบคุมตนเองไม่ได้ ถ้าคู่กรณี หรือตำรวจสงสัยว่าเมาสุราสามารถสั่งให้หยุดรถและสั่งให้เป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์เพื่อตรวจได้ โดยถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุก 1 ปี, ปรับ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบขับขี่ และยึดรถไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน
เล่า(เหล้า) ทีมStar Piont
1 ใน 11 ผลงานในโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ หัวข้อ อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา ด้วยโจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่องย่อ เรื่องราวของ “แกง” เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่มีไอดอลในใจเหมือนกับคนทั่วไป ซึ่งแกงชอบรุ่นพี่ในโรงเรียนชื่อว่า “มีน” และทุกครั้งที่มีนโพสต์รูปภาพลงบนเฟซบุ๊ก เธอจะเลียนแบบมีนทุกครั้ง วันหนึ่งมีนโพสต์รูปถือแก้วเหล้ากับกลุ่มเพื่อน ทำให้ “ต้า” เพื่อนของแกงไม่ชอบจึงเตือนแกงว่าห้ามทำตามเด็ดขาด แต่แกงยังคงชื่นชอบและทำตามอยู่จนเป็นเหตุให้ทั้งสองคนทะเลาะกันแล้วเกิดเป็นเรื่องไม่ดีตามมาในตอนจบ