Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "กิจกรรม" พบ 56 ข้อมูล

รายงานการวิจัยการทบทวนและการสร้างกรอบมโนทัศน์ของสุขภาวะทางปัญญาในคนวัยทำงาน

ปัจจุบันโลกของเรากำลังเผชิญวิกฤตสถานการณ์โลกปั่นป่วนที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งสังคมไทยของเราก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน จากสถานการณ์ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ สงคราม โรคระบาด ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ ปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพกายและจิตใจ งานวิจัยการทบทวนและการสร้างกรอบมโนทัศน์ของสุขภาวะทางปัญญาในคนวัยทำงานชุดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสุขภาวะทางปัญญา ด้วยการใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์เนื้อหาที่สามารถแบ่งกรอบมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับสุขภาวะทางปัญญาของคนวัยทำงานในสังคมไทยได้ 3 ประเด็นหลัก คือ การหยั่งรู้ความเป็นจริงทั้งภายในตนเองและโลกภายนอก การสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้อื่นและธรรมชาติ อีกทั้งงานวิจัยชุดนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นชุดกิจกรรมเชิงประสบการณ์ เพื่อพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและช่วยเหลือเยียวยาคนวัยทำงานในสังคมให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้

หลักสูตรและคู่มือการฝึกอบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน

สุขภาวะทางปัญญาหรือการมีจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน คือ ตัวช่วยสำคัญที่มีอิทธิพลในการพัฒนาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานภายในองค์การหรือการพัฒนาตัวบุคลากรในสถานที่ทำงาน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการทำงานก็คือ ความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ทางบวก การเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะผู้นำ โดยปัจจัยเหล่านี้จะส่งเสริมหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานในองค์รวม องค์การที่สนับสนุนสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานจะเป็นองค์การที่ตระหนักรู้ว่าผู้คนไม่ใช่เครื่องจักร แต่เป็นมนุษย์ที่แสวงหาความหมายและเป้าหมายในการทำงาน รวมถึงความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์การ หลักสูตรและคู่มือการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน จัดทำขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจหรือไม่เคยมีความคุ้นเคยในเรื่องนี้มาก่อน เพื่อนำไปปรับใช้พัฒนาให้เกิดแนวคิดเชิงบวกในการทำงานและการเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในองค์การให้มีประสิทธิผล

The Reading อ่านสร้างสุข โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ EP.2

คลิปวิดีโอ The Reading อ่านสร้างสุข กับนิทานเรื่องพระจันทร์อยากมีเพื่อน โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการตัดกระดาษไปพร้อมๆ กับการเล่านิทาน จนเกิดเป็นไอเดียในการแต่งนิทานเรื่องพระจันทร์อยากมีเพื่อนขึ้น นิทานเรื่องพระจันทร์อยากมีเพื่อน เป็นนิทานที่มีการใช้เทคนิคการพับและตัดกระดาษเข้ามาช่วยเสริมอรรถรสในการเล่าเรื่องที่จะทำให้เด็กๆ เกิดการจินตนาการตาม มีความรู้สึกสนุกและนำตัวเองความไปมีส่วนร่วมในนิทานมากขึ้น รวมถึงจะได้ฝึกทักษะการคิดวางแผนในกิจกรรมการตัดกระดาษให้เป็นรูปดาวล้อมเดือน ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ มีพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อมือและสายตาที่ประสานกัน

Care club ชุดเครื่องมือเพื่อการดูแลใจ สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย

บางครั้งผู้ดูแล...ก็ต้องการการดูแลด้วยเช่นกัน กิจกรรมกลุ่ม Care club เกิดขึ้นเพื่อดูแล “ใจ”  ของผู้ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกิจกรรมกลุ่มนี้เกิดขึ้นและพัฒนาโดย กลุ่ม Peaceful Death โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลและให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจอย่างสร้างสรรค์ ผ่านทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการ์ดเกม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมนี้เหมาะกับบุคลากรสุขภาพหรือ นักจัดกิจกรรมในชุมชนที่สนใจการดูแล สุขภาวะของผู้ดูแลผู้ป่วย  

รายงานการวิจัย โมเดลเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางปัญญา ศาสนาและจิตวิญญาณ และดัชนีชี้วัดสุขภาพ โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาด้านความคิด อารมณ์และสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน

รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี 

เสกโรคซึมเศร้าให้เป็นรอยยิ้มด้วยกิจกรรมมนตร์อาสา

“มนตร์อาสา”  คือกลุ่มกิจกรรมจิตอาสา  ที่คุณเน หรือทิพย์ชยพล ปารีณาพัฒน์นรี ตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการบำบัดความซึมเศร้าของตนเอง ในขณะเดียวกันก็อยากจะชวนเพื่อนมาร่วมกันเสกเวทมนตร์การบำบัดนี้เพื่อลดทอนความซึมเศร้าและภาวะเครียดในสังคมด้วยการลุกขึ้นมามีความสุขมากขึ้นโดยไม่ต้องคิดหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเอง ด้วยกิจกรรมไปล้างกรงเสือ กรงหมี ที่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หรือศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า รวมทั้งยังมี “กิจกรรมหินน้อยค่อยเจรจา”  โดยในวงกิจกรรมมีหินอยู่ 1 ก้อน  หินไปอยู่ที่ใครคนนั้นจึงมีพื้นที่ในการพูดและการเจรจา  เพื่อผ่อนคลายความเครียดในใจให้เพื่อนได้รับฟัง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

รู้จัก จิตอาสาพลังแผ่นดิน

พวกเราคงเคยเห็นคนทำงานจิตอาสาในหลาย ๆ รูปแบบ แล้วก็อาจเกิดคำถามในใจขึ้นมาว่า "แล้วคนตัวเล็กๆ อย่างเราจะทำอะไรได้บ้าง" ความจริงแล้วคนตัวเล็กๆ สามารถทำอะไรได้เยอะแยะ เยอะแบบที่เราเองอาจจะคาดไม่ถึง ทำได้อย่างไร...ติดตามในคลิปวีดีโอนี้เลย ขาดทุนคือกำไร  เพราะ “การให้” และ “การเสียสละ” ย่อมมีผลกำไร ซึ่งก็คือ ความอยู่ดีมีสุขของผู้คนบนแผ่นดิน โครงการจิตอาสา สอนลุงป้าเล่นโซเชียล เปิดโอกาสให้ทุกคนหรือองค์กรมีส่วนร่วมในกิจกรรมจิตอาสาทำความดีในแบบที่ทุกคนเลือกได้  เพราะการได้ให้ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นการลงแรงหรือทำงานจิตอาสาอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้คือการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นและยังเป็นการสร้างคุณค่า ความหมาย มุมมองและประสบการณ์ทำความดีเพื่อสังคม

จิตอาสาพลังแผ่นดิน CSR พัฒนาคน พัฒนาทีม พัฒนาประเทศ

โครงการที่มีแนวคิดเพื่อการยกระดับงาน CSR ขององค์กรให้มีมิติเสริมด้านพัฒนาศักยภาพของบุคลากร หรือ HRD ช่วยสร้างความสัมพันธ์ของบุคลากร และสร้างผลประกอบการความสุขร่วมกันในองค์กร และมีแนวคิดที่จะทำให้งาน CSR ตอบโจทย์ทั้งในมิติของการเพิ่มคุณค่าของงาน องค์กรก้าวหน้า และสังคมได้รับประโยชน์จากการทำงาน CSR อย่างแท้จริง ด้วยการออกไปร่วมเป็นจิตอาสาพัฒนาประเทศ ในการสร้างกิจกรรมช่วยเหลือสังคม โดยใช้องค์ความรู้และความสามารถของตัวบุคคลที่มีอยู่เป็นเครื่องมือ นอกจากจะได้ช่วยพัฒนาสังคมและสร้างพลังบวกให้แก่ตัวบุคคลแล้ว ยังเป็นเป็นการพัฒนาทีม พัฒนาคนให้เห็นคุณค่าในงานที่ทำ อีกทั้งยังเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีในองค์กรและคนในสังคม

สนทนาปิดกิจกรรมอย่างไรให้ ดีต่อใจ

ธนาคารจิตอาสา ถอดบทเรียนหลังจบกิจกรรมงานอาสา ควรมีการสนทนาพูดคุยกันเพื่อสะท้อนการเรียนรู้ที่ได้รับเริ่มจาก เชื่อมโยงความรู้สึกของตนเองกับงานอาสาที่ทำวันนี้ ทบทวนถึงอุปสรรคหรือเรื่องที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้น เราสามารถก้าวข้ามได้อย่างไร จากนั้นขบคิดใคร่ครวญเพื่อเรียนรู้จากหรือสิ่งที่เราได้รับจากการทำงานอาสานั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงว่างานอาสาได้เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาชีวิตเราให้ดีขึ้นอย่างไร

ผู้นำแห่งอนาคต ความรู้ฉบับพกพา

ท่ามกลางวิกฤตของปัญหาสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เราไม่สามารถมีผู้นำที่เป็นวีรบุรุษเพียงคนเดียวท่านั้น สังคมไทยต้องเรียนรู้และพัฒนาภาวะการนำรูปแบบใหม่เป็น “การนำร่วม” ที่เปิดโอกาสให้บุคคลมีความสามารถและความคิดที่หลากหลายเข้ามานำพาสังคมก้าวไปข้างหน้า เป็นการนำที่เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน หรือเรียกว่า “การนำด้วยจริยธรรม” แล้วจึงไปเสริมสร้างกระบวนการทัศน์ใหม่ในการกอบกู้สังคมไทยเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.