สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง ปรัชญา โดย ดร เมธา หริมเทพาธิป
เมื่อผู้ตื่นรู้สามารถรวมใจกันให้เป็น Oneness ย่อมสามารถสร้างสรรค์สังคมเพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมร่วมกันได้ด้วย ความรักความเข้าใจ ความงามในจิตใจ และความรักในเพื่อนมนุษย์ตามความเป็นจริง สิ่งที่ทำได้เลยก็คือ ความเข้าใจ การยอมรับ และอภัยตนเองจากนั้นก็มองให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ‘การเชื่อมต่อ” (Connect) ด้วยอำนาจและผลประโยชน์ แท้จริงแล้วเป็น ‘การปฏิเสธการเชื่อมต่อ’ (Disconnect) การเชื่อมต่อให้ลึกถึงระดับความรู้สึกทางจิตใจนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการเข้าถึงความจริง ความงาม ความรักในตัวมนุษย์ เข้าใจตนเอง เห็นใจเห็นผู้อื่น เชื่อมโยงด้วยความรักความเข้าใจกับเพื่อนมนุษย์ . - ดร.เมธา หริมเทพาธิป ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ONE หนึ่งเดียวกัน"
สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง จิตวิญญาณ โดย คุณจุรี พิพัฒนรังคะ ครูบี
ตระหนักถึงความจริงว่าไม่มีสิ่งใดในโลก ที่ไม่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับสิ่งอื่น มีความรักให้ทุกชีวิตโดยไม่แบ่งแยก ตระหนักถึงที่ว่างอันกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต แผ่กว้างไพศาลข้างในตัวคุณ ยอมรับความแตกต่างมากขึ้น ไม่ได้มองว่ามันเป็นปัญหา พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น เห็นว่าทุกข์ของผู้อื่นคือทุกข์ของเรา เห็นตัวเราและสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แยกออกจากกัน เข้าใจความรักที่แท้จริง ความรักที่ไปพ้นขั้วบวกและลบ ไม่มีพวกเรา-พวกเขา ไม่มีฉัน-ไม่มีเธอ มีแต่ความเป็นดั่งกันและกัน ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากบอร์ดเกม "Path to Oneness - ทางสู่หนึ่งเดียวกัน"
ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล หัวข้อ “ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน” ถ่ายทอดสดจากวัดป่าสุคะโต We Oneness Live เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน - We Oneness“ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสหธรรมิกชนภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
สังคมอริยะชน Part 2 โดย พระอาจารย์สมทบ ปรักกโม
สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรักกฺโม ในหัวข้อสังคมอริยะชน ช่วงที่สอง เป็นการเสวนาธรรมและตอบคำถามแก่ผู้เข้าร่วมเสวนาธรรม เรื่องการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งปัญญาหรืออริยะสังคม ซึ่งอริยะสังคมสามารถสร้างได้จากการริเริ่มพัฒนาศักยภาพภายในตัวบุคคล โดยนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อฝึกฝนและพัฒนาตนให้เกิดสติปัญญารู้เท่าทันไม่ประมาท รู้เหตุรู้ผล รู้คุณ รู้โทษและฉลาดในการเห็นความจริง เพื่อที่จะรับมือกับสิ่งที่เข้ามาในชีวิตได้อย่างมีสติและช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยดีงาม
สังคมอริยะชน Part 1 โดย พระอาจารย์สมทบ ปรักกโม
สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรกฺกโม ช่วงที่หนึ่ง เรื่องหนทางสู่การเป็น “อริยะชน” หรือ ผู้ที่เข้าถึงคุณธรรม รู้เท่าทันตนเอง มีสติและฉลาดในการจัดการ โดยการนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้และฝึกฝนในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาศักยภาพในตัวเราให้มีคุณสมบัติของอริยะชน คือ รู้เท่าทันตนเอง มีความเพียรและใฝ่รู้ รู้จักการเสียสละไม่ยึดถือ มีสติปัญญาในการจัดการที่ดีและมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเองในการทำสิ่งที่ดีงามได้ รวมถึงประพฤติตนให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและสามารถนำพาชีวิตของตนเองไปสู่จุดหมายได้อย่างมีความสุขจากภายในที่แท้จริง
เราจะเป็นมิตรกับตนเอง ได้อย่างไร โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “การเป็นหนึ่งกับตัวเองอย่างมีคุณค่า” โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ถ่ายทอดสดจากงาน Wake up ONE : Writers & Stars Awakening Workshop กิจกรรม Wake up ONE เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน - We Oneness“ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสหธรรมิกชนภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
We Oneness คือ
We Oneness ในมูลนิธิสหธรรมนิกชน เกิดจากความตั้งใจในการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้ ของกลุ่มกัลยาณมิตรที่มีความหลากหลายในวิธีคิดแต่มีสัจจะความจริงเดียวกัน ซึ่งมีเป้าหมายที่อยากจะให้ผู้คนหันกลับมาสนใจเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิตให้เกิดการตระหนักรู้โดยการนำหลักพระพุทธศาสนา ศาสตร์เพื่อการตื่นรู้ เพื่อให้มนุษย์ยุคนี้กลับมารู้จักตัวเองและนำวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดสังคมต้นแบบหรือสังคมอาริยะชน อีกทั้งเป้าหมายหลักของมูลนิธิสหธรรมนิกชน คือ ขยายพื้นที่ทางความคิดและเพิ่มกัลยาณมิตรในสังคม
หนูจี๊ดติดจอ
“หนูจี๊ด ติดจอ” นิทานภาพ โดย ตุ๊บป่อง ที่ชักชวนให้เยาวชนหันมาดูแลดวงตาและสร้างวินัยในการจัดเวลาการใช้งานสื่อให้เหมาะสม เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการเรียนรู้และในการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กๆ ถ้าหากใช้ดวงตาเพ่งมองจอโทรทัศน์ จอโทรศัพท์มือถือ หรือ หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป จะก่อให้เกิดผลเสียต่อดวงตาก่อนวัยอันควรได้
หนูจ๋าสิไปไส
“หนูจ๋าสิไปไส” โดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช นิทานภาพที่ชักชวนให้เยาวชนทำกิจกรรมสร้างความสุขโดยการสัมผัสธรรมชาติรอบตัว เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะและพลังในการเรียนรู้ โดยได้บอกเล่าเรื่องราวความผูกพันระหว่างเด็กกับผู้คนแวดล้อมและวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ
สามเหลี่ยมสนุก
นิทานภาพสีสันสดใสที่จะช่วยสร้างสรรค์ความคิดและขยายพื้นที่จินตนาการของเด็กๆ ที่อยู่ในช่วงปฐมวัยให้กว้างไกล ด้วยตัวอักษรและรูปทรงสามเหลี่ยมมหาสนุก นอกจากจะได้รับความเพลิดเพลินจากภาพนิทานที่มีสีสันสดสวยแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังทักษะการรักการอ่านและการคิดอย่างลึกซึ้งให้แก่เด็กๆ ในส่วนท้ายเล่มของนิทานก็ยังมีกิจกรรมสนุกๆ ส่งท้าย เพื่อต่อยอดจินตนาการให้แก่เด็กๆ ได้ลองฝึกทักษะการคิดและจินตนาการอย่างสร้างสรรค์
ลูกรักกับหนังสือเล่มแรก (ฉบับปรับปรุง)
หนังสือคือของขวัญที่งดงามที่สุดที่จะมอบให้แก่ลูกที่อยู่ในวัยกำลังเติบโตและเรียนรู้ ลูกรักกับหนังสือเล่มแรก โดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช คู่มือสร้างเสริมพัฒนาการของลูกน้อยด้วยหนังสือ พ่อแม่สามารถเริ่มสร้างการเรียนรู้และฝึกให้เขามีสมาธิได้ด้วยการอ่านหนังสือให้เขาฟัง เพราะเด็กจะจดจ่อกับภาพและน้ำเสียงตลอดเวลาที่เราพูดคุย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นก้าวแรกที่จะนำพาเขาเข้าสู่หนทางแห่งการเรียนรู้ทางด้านภาษา ด้านการอ่านและการเขียน รวมไปถึงพัฒนาการทางด้านอื่นๆ ในขั้นต่อไป อีกทั้งการอ่านหนังสือกับลูกยังเป็นช่วงเวลาแห่งความอบอุ่นที่จะได้ใช้เวลาร่วมกับลูกอย่างมีความสุข
The Last Life Lesson เตรียมจัดกระเป๋าออกเดินทางครั้งสุดท้าย
จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘เตรียมจัดกระเป๋าออกเดินทางครั้งสุดท้าย’พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญการวางแผนการเงิน -- เราเองอยากจะมีความเป็นอยู่อย่างไรเมื่อเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต ? การเตรียมการทางการเงินเพียงพอหรือไม่ ? มีวิธีคำนวณอย่างไร ? เราอยากจะให้ญาติรอบตัวเข้ามาช่วยทำตามความต้องการนั้นอย่างไร ? จัดการเอกสารทางกฏหมายและวางแผนการเงินในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อเตรียมตัวในการออกเดินทางครั้งสุดท้าย