trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "การดูแล" พบ 17 ข้อมูล

การดูแลผู้สูงวัยช่วงโควิด

อินโฟกราฟิก เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยช่วงโควิด19 กับหลายแนวทางง่ายๆ อยู่บ้านอย่างไรให้มีคุณภาพ เช่น ชวนกันออกกำลังกายเบาๆ ภายในบริเวณบ้าน เดินแกว่งแขน ปลูกต้นไม้ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองและร่างกาย เลือกทานอาหารที่ปรุงสุก เน้นอาหารจำพวกโปรตีนและผักผลไม้หลากสีเพื่อสร้างภูมิคุ้นกัน ที่สำคัญคือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่กังวลไปกับข่าวสารมากจนเกินไปและการ์ดอย่าตก ควรสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างจากคนที่มาเยี่ยมทุกครั้งและควรหมั่นล้างมือ

ผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพ จ๊ะเอ๋ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้

“จ๊ะเอ๋” คลิปวิดีโอผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่หยิบนิทานภาพมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัวและสร้างวัฒนธรรมการกอดให้เกิดขึ้นในครอบครัวระหว่างพ่อแม่และลูกให้มีความใกล้ชิดและช่วงเวลาแห่งความรักร่วมกันทุกวัน หนังสือนิทานภาพถือเป็นบันไดขั้นแรกที่ปลูกฝังทั้งการรักการอ่านและสร้างพัฒนาการทางด้านสติปัญญาให้แก่เด็ก อีกทั้งผลการวิจัยพบว่าหลังจากที่ผู้ปกครองและเด็กได้เล่น “จ๊ะเอ๋” กันทุกวัน เด็กๆ มีความกล้าที่จะกอดพ่อแม่มากขึ้น เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งความรักที่สร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัว

การดูแลแบบประคับประคองในชุมชน: ชุมชนกรุณาเชียงราย

ชุมชนกรุณา อ.แม่สรวย จังหวัดเชียงราย นำเสนอความสำคัญของชุมชนที่มีส่วนร่วมในการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) โดยเน้นการให้ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีต่อการดูแลแบบประคับประคองและการวางแผนล่วงหน้า ติดตามการทำงานของชุมชนกรุณาเชียงรายได้ที่ http://facebook.com/compassioncommuni... วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION

Care club ชุดเครื่องมือเพื่อการดูแลใจ สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย

บางครั้งผู้ดูแล...ก็ต้องการการดูแลด้วยเช่นกัน กิจกรรมกลุ่ม Care club เกิดขึ้นเพื่อดูแล “ใจ”  ของผู้ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกิจกรรมกลุ่มนี้เกิดขึ้นและพัฒนาโดย กลุ่ม Peaceful Death โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลและให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจอย่างสร้างสรรค์ ผ่านทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการ์ดเกม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมนี้เหมาะกับบุคลากรสุขภาพหรือ นักจัดกิจกรรมในชุมชนที่สนใจการดูแล สุขภาวะของผู้ดูแลผู้ป่วย  

เปิดหัวใจผู้ดูแล: ภาริอร วัชรศิริ กับ 11 ปีของการดูแลแม่ป่วยอัมพฤกษ์

“ความเศร้าอยู่กับเราแค่ชั่วคราว แต่ความเสียใจจะอยู่กับเราตลอดไป” ประโยคหนึ่งจากหนังสือ “นครสวรรค์” ที่พาย หรือ ภาริอร วัชรศิริ ชื่นชอบ พายให้ความหมายกับความเศร้าว่าคือห้วงอารมณ์ที่คิดถึงเมื่อไหร่ก็เศร้า และจะหายไปในวันหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป  แต่ความเสียใจจากการทำหรือไม่ทำอะไร เมื่อเวลาผ่านไปแล้วมันจะยังคงอยู่เป็นประสบการณ์หนึ่งในชีวิตที่ไม่เคยลืม สำหรับพายเธอได้ทำหน้าที่ในการดูแลแม่ที่เป็นอัมพฤกษ์ จากเส้นเลือดในสมองแตก มาเป็นเวลากว่า 11 ปี แม้วันนี้แม่ได้จากไปแล้ว พายยังคิดถึงแม่อยู่เสมอ และเธอได้ทำหน้าที่ดูแลแม่อย่างดีที่สุดแล้ว แม่เป็นคนป่วยที่มีความสุขที่สุดในโลก “เราไม่ได้ดูแลคนป่วยเพื่อคนป่วยอย่างเดียว แต่เราดูแลคนป่วยเพื่อดูแลเราเองด้วยเช่นกัน”    

การดูแลอย่างมีความหมายและคำบอกลาสุดท้าย เมื่อคนที่เรารักเดินมาถึงปลายทางของชีวิต

Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson    การบอกลาเศร้าเสมอ โดยเฉพาะกับคนที่เรารัก แต่เมื่อพวกเขาเดินทางมาใกล้ถึงปลายทางแห่งชีวิต และไม่มีสิ่งใดมาหยุดสิ่งที่เป็นสัจธรรมที่สุดอย่างความตายได้ เราจะมีวิธีไหนบ้างที่จะมาส่งเขาได้อย่างนุ่มนวลและทำให้การบอกลาครั้งนี้มีค่าที่สุด  

ภาริอร วัชรศิริ - สักวันเราทุกคนจะต้องเข้าสู่ลูปของการดูแลผู้ป่วยอันยาวนาน จนกว่าจะถึงวันที่เขาจากไป

บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว  

วิชาชีวิต บทที่ 13 การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน - ดร.ปานตา อภิรักษ์นภานนท์

เมื่อผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียงจนถึงผู้ป่วยระยะท้าย สิ่งที่ต้องเตรียมมีทั้งมิติทางของทางร่างกายและจิตใจ ทั้งของผู้ป่วยและผู้ดูแลผสมผสานกันในแบบเฉพาะของครอบครัวนั้นๆ เช่น  การจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นที่บ้าน การติดต่อประสานเรื่องอาการกับบุคลากรการแพทย์ ผู้ป่วยไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ด้วยตนเอง ผู้ป่วยอาการหนักที่บ้านทำอย่างไร ถ้าผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้านทำอย่างไร

วิชาชีวิต บทที่ 12 เทคนิคการดูแลผู้ป่วย -ดร.ปานตา อภิรักษ์นภานนท์

ผู้ป่วยเรื้อรังที่ติดเตียงหรือระยะท้ายต้องการการดูแลที่ละเอียดอ่อนในมิติของกายและใจ ในแบบเฉพาะ เกร็ดความรู้ในคลิปนี้จะช่วยเป็นแนวทางและเสริมความเข้าใจให้กับผู้ดูแลและผู้ต้องการเตรียมตัวยามที่ตนเองเจ็บป่วย เช่น ไม่อยากอาหาร การทำ Ice Saladsเมื่อกระหายน้ำ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ถ่ายเหลว การทำความสะอาดดวงตา จมูก ปาก หู การทาแป้ง การทาโลชั่น การดูแลเกิดแผลกดทับ การหายใจอ้าปาก หายใจลำบาก การนอนไม่หลับ อาการหงุดหงิดสับสน ช่วงเวลาการบอกลา

วิชาชีวิต บทที่ 8 palliative care การดูแลแบบประคับประคอง - รศ.พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล

ผู้ป่วยบางรายจะเกิดภาวะโรคที่ไม่ตอบสนองการรักษาให้หายขาด หรือมีการรักษาที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก และเกิดความทุกข์ทรมานแต่ไม่เกิดความผลรักษาตามที่ต้องการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยระยะท้าย การดูแลแบบประคับประคอง(Palliative care) จึงเป็นทางเลือกการดูแลที่ให้ผู้ป่วย ที่ดูแลทั้งทางกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ ด้วยทีมวิชาชีพสหสาขา เมื่อไรควรเริ่มการดูแลแบบ Palliative care  ใครที่ต้องการการดูแลแบบ Palliative care Advance care plan Living will

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.