Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ทั้งหมด" พบ 332 ข้อมูล

อ่านฉลาก อย่างฉลาด

หนึ่งในหนทางสู่การเลือกกินดี คือการรู้จักพลิกอ่านฉลากโภชนาการที่อยู่หลังซองหรือกล่องก่อนซื้อทุกครั้ง Greenery ลองถอดสูตรวิธีการอ่านตัวเลขแบบง่ายๆ ให้เอาไปใช้กันได้จริง เพื่อการเลือกกินอย่างฉลาด

ความดันทุเรียนสูง

ผลไม้ที่จัดอยู่ในหมวด ‘รักแรง เกลียดแรง’ คือใครเกลียดก็ไม่กินไปเลย แต่ใครที่รักก็รักมากๆ เฝ้ารอฤดูกาลที่ทุเรียนหอมฉุยจะมาถึง แล้วกินกันให้สมกับที่คิดถึง จนบางทีก็มากเกิน และส่งผลต่อพุงล้ำๆ และน้ำตาลในเส้นเลือด! รักการกินทุเรียนเราไม่ว่า แต่เราขอเตือนว่าการกินทุเรียนมีข้อควรระวัง เพื่อให้เราอยู่กินทุเรียนในฤดูกาลถัดไปได้อีกนานๆ

รวมของกินดี เอาที่สบายใจ

ถ้าเกิดหิวขึ้นมาในช่วงเวลาที่จำเป็นต้องแวะร้านสะดวกซื้อ ก็ใช่ว่าเราจะไร้ทางเลือกในการ ‘กินดี’ ลองตั้งใจสอดส่องให้ดีว่าอาหารอะไรบ้างที่มีคุณสมบัติดังนี้ ไม่ผ่านการแปรรูป หรือแปรรูปน้อยที่สุด เลือกวิธีการปรุงแบบนึ่ง ต้ม หรืออบ หลีกเลี่ยงของทอด อ่านฉลากเบื้องต้น หลีกเลี่ยงอาหารที่น้ำตาลสูง โซเดียมสูง หรือไขมันสูง ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด ถ้าเลือกและเลี่ยงได้ตามนี้ สบายใจได้ระดับนึงว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไม่ถามหาแน่นอน

ผัก ระยะปลอดภัย

เพราะผักตามท้องตลาดทั่วไปที่เราไม่รู้ที่มา อาจเป็นผักที่ปลูกด้วยการใช้สารเคมี โดยไม่มีการตรวจสอบควบคุม ส่วนผักที่มีตรารับรองก็ไม่ได้แปลว่าปลอดภัยแบบ 100% จึงเป็นเหตุผลที่ผู้บริโภคอย่างเราต้องรู้จักเลือกและแยกแยะผักให้เป็น 

1ผู้ให้ ช่วยได้ 8 ชีวิต

แม้เราจะเสียชีวิตแต่ชีวิตเราจะไม่สูญเปล่า เมื่อเราเลือกที่จะเป็นผู้ให้เป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการบริจาคอวัยวะเพื่อต่อชีวิตให้ผู้ที่รออวัยวะและรอการปลูกถ่ายอวัยวะ ขอเพียงอายุไม่เกิน 65 ปี  สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดเชื้อ หรือโรคร้ายแรง เราก็สามารถบริจาคอวัยวะได้ สนใจบริจาคอวัยวะ โทร. 1661 หรือผ่าน แอปพลิเคชัน “บริจาคอวัยวะ”  

อาสารับฟัง ฟังยังไงให้เข้าไปถึงหัวใจ

การฟังให้เป็น ฟังเสียงแล้วเข้าอกเข้าใจไปถึงหัวใจคนพูด ฟังแล้วไม่ตัดสินให้เขาทุกข์ใจไปมากกว่าเดิม ฟังแล้วให้อีกฝ่ายวางใจ กล้าที่จะบอกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจออกมา ต้องทำยังไง?นี่เป็น 7 ขั้นตอนในการรับฟังที่อยากให้ทุกคนลองนำไปใช้กันดู

คู่มือเดินเมืองตลาดพลู

คู่มือเดินเมืองตลาดพลูชุดนี้ เป็นสื่อสร้างสรรค์สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2562 (MIDL Week 2019) ภายใต้ธีม MIDL for Inclusive Cities: สร้างเมืองของทุกคน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2562 ณ ตลาดพลู กรุงเทพมหานคร

ต่างวัย ต่างใจอาสา

งานจิตอาสา เป็นกิจกรรมที่ทำได้ตั้งแต่เด็กจนผู้สูงอายุ เพียงเราเลือกงานที่ชอบ และตามความสามารถของเรา ถ้าเป็นวัยเด็กแนะนำให้ตามคุณพ่อคุณแม่ไปทำงานอาสาที่วัดหรือโรงเรียน พอโตมาอายุ 3-12 ปี อยู่ในช่วงชอบการเรียนรู้ เชื่อมโยงสิ่งรอบตัว งานอาสาที่เหมาะสม คือการจัดสวน ทำงานศิลปะ มาถึงช่วงวัยรุ่น เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง งานจัดพื้นที่สร้างสรรค์ สอนวาดรูป ในวัยทำงานเราเลือกงานอาสาได้ตามความถนัดในอาชีพเลย แม้ยามชรางานอาสาที่มีคุณค่า มากประสบการณ์ คือ การนำชม นำทัวร์ชุมชม แค่คิดจะทำงานอาสา เราก็สามารถลงมือได้ง่าย เริ่มต้นที่ตัวเรา...สนใจทำงานอาสา คลิก www.JitArSaBank.com 

สนทนาปิดกิจกรรมอย่างไรให้ ดีต่อใจ

ธนาคารจิตอาสา ถอดบทเรียนหลังจบกิจกรรมงานอาสา ควรมีการสนทนาพูดคุยกันเพื่อสะท้อนการเรียนรู้ที่ได้รับเริ่มจาก เชื่อมโยงความรู้สึกของตนเองกับงานอาสาที่ทำวันนี้ ทบทวนถึงอุปสรรคหรือเรื่องที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้น เราสามารถก้าวข้ามได้อย่างไร จากนั้นขบคิดใคร่ครวญเพื่อเรียนรู้จากหรือสิ่งที่เราได้รับจากการทำงานอาสานั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงว่างานอาสาได้เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาชีวิตเราให้ดีขึ้นอย่างไร

ทักษะการเป็นนักสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา

การเป็นนักสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา ต้องได้รับการฝึกฝนทักษะเรื่องการตระหนักรู้เพื่อสะท้อนตนเอง ด้วยการเรียนรู้และเข้าใจโลกภายในตนเอง มีความสมดุลทางปัญญา นอกจากนี้ต้องมีทักษะการดูแลความสัมพันธ์ในชีวิตและงานอย่างสมดุล รวมทั้งมีทักษะการคิดด้วยการมองภาพรวมและเชื่อมโยงมิติทางสังคม โดยทักษะเหล่านี้จะมาช่วยสร้างเสริมการออกแบบกิจกรรมได้ตรงตามเป้าหมายการพัฒนาทางปัญญา

แผ่นพับแนวแนะและแนวปฏิบัติในการใช้หนังสือและการอ่าน

สื่อแผ่นพับ เพื่อให้แนวทางปฏิบัติในการใช้หนังสือและการอ่าน เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและศักยภาพให้กับเด็กปฐมวัย (แรกเกิด - 6 ปี) อย่างบูรณาการ นำเสนอแนะแนวให้ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเด็กด้วยความมหัศจรรย์ของหนังสือภาพหรือนิทาน

โปสเตอร์ หนังสือสร้างสุขสมรรถนะเด็กสร้างได้

แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้จัดทำ “หนังสือภาพ”  ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงปฐมวัย (แรกเกิด – 6 ปี) ให้มีสมรรถนะ หรือ Competency กระตุ้นการทำงานของสมองของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง 7 ด้าน คือ พัฒนาการด้านภาษา, พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา, พัฒนาการด้านจินตนาการและการสร้างสรรค์, พัฒนาการด้านอารมณ์, พัฒนาการด้านสังคม, พัฒนาการด้านจริยธรรม และพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและสุขภาวะทางกาย  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.