สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
การจัดทำหนังสือ MIDL for Inclusive Cties นี้ สสย. ได้รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลการดำเนินงานโครงการ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564 ในแต่ละภูมิภาคจากบุคคลหลายฝ่าย ทั้งที่เป็นนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน คุณครู ผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้มีบทบาทหลักในการขับเคสื่อนกระบวนการ เพื่อชี้ให้เห็นถึงพลังเล็กๆ ของทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ร่วมสร้างเมืองของทุกคน สสย. หวังว่าเรื่องราวในแต่ละพื้นที่ จะทำให้การมองเมืองเปลี่ยนไป มองเห็นคนเล็กคนน้อย เป็นเมืองที่ตอบโจทย์ชีวิตของทุกคน ไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลยให้ใครเป็นคนชายขอบ หรือถูกกีดกันจากการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง และมองเห็น MIDL เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถหยิบยกมาใช้ในการพัฒนาเด็ก พัฒนาสังคมได้ในทุกมิติ
ลุงริน หรือ ครูสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ ผู้ได้รับรางวัล “ครูของแผ่นดิน” จากมูลนิธิโกมลคีมทอง (พ.ศ. 2539) และอีกหลายรางวัลจากภาคราชการ เป็นนักออกแบบนวัตกรรมห้องเรียนผสานชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นนักปฏิบัติการทางสังคมรุ่นบุกเบิก เขียนเล่าประสบการณ์ และเรื่องราวชีวิตการงานในสำนักต่างๆ ของ สสส. ทั้งปฏิบัติการเชิงพื้นที่ และงานเชื่อมโยงระหว่างภาควิชาการ ภาคนโยบาย และภาคประชาสังคม ที่มุ่งเป้าสู่สังคมสุขภาวะ ครูเล่าเรื่องอย่างเรียบง่าย แต่ทรงพลัง และลุ่มลึก ถอดความรู้ในทุกมิติแห่งสุขภาพ
ชุดนิทานเตือนภัยบุหรี่ไฟฟ้า "เด็กปลอดพอด" อ่านพับเล่นด้วยกัน รู้ทันทอยพอดบุหรี่ไฟฟ้า
จากสถานการณ์ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบเรียบร้อยแล้ว วันนี้เกิดมิจฉาชีพมากมายที่เริ่มเข้ามาหาผลประโยชน์จากผู้สูงอายุ แม้จะเป็นผู้มากประสบการณ์ แต่ด้วยเล่ห์เหลี่ยมและเล่ห์กลทั้งหลายที่มาในรูปแบบของออนไลน์ตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ . กระทรวง พม. โดย ผส. และภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยมหิดล สสส. และกลุ่มคนตัวดีจึงได้จัดทำหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ“หยุด คิด ถาม ทำ” และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ (E – book) รวมถึงเว็ปไซต์ (Website) เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีเกราะป้องกัน ไม่เสียรู้ให้กับกลุ่มมิจฉาชีพ . รับชมบรรยากาศ งานแถลงข่าวหลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ “หยุด คิด ถาม ทำ” โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดย กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) สสส. ม.มหิดล กลุ่มคนตัว D สานพลังสร้างสังคมสูงวัยรู้ทันสื่อ . ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 2 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ผู้สูงอายุ ที่นับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงในโลกข้อมูลข่าวสารเพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เพิ่งได้รู้จักกับความสามารถของเทคโนโลยีการสื่อสารได้ไม่นาน ทำให้บางคนยังไม่เข้าใจเทคนิควิธีการสร้างข้อมูล บางคนรับรู้แต่อาจยังปรับตัวตามไม่ทัน และบางคนอาจไม่สนใจที่จะเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีการสื่อสาร ผู้สูงอายุจึงเสี่ยงที่จะถูกชักจูงความคิด และการตัดสินใจจากความเข้าใจเพียงผิวเผินต่อเทคโนโลยี และวิธีการสื่อสารที่มีรูปแบบหลากหลายเช่นในปัจจุบัน “หลักสูตรสูงวัยรู้ทันสื่อ” เกิดจากแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ (Media and Information Literacy) ที่ถูกนำมาใช้อบรมให้ความรู้ เพื่อสร้างสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ให้เป็นสังคมอุดมปัญญาที่เข้มแข็ง เท่าทัน และมีความสุขต่อไป
n/a
ภาคต่อของหนังสือ “ห้องเรียนเปลี่ยนวัฒนธรรม” ที่ชวนผู้อ่านทำความเข้าใจกับระบบอำนาจนิยมเพื่อนำไปสู่วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (Peace Education) หนังสือเล่มนี้สื่อสารโดยตรงกับพ่อแม่ผู้ปกครองและครอบครัวถึงการเลี้ยงดูบุตรหลาน ชวนเปลี่ยนจากการใช้ “อำนาจเหนือ” เป็น”อำนาจร่วม” สร้างความปลอดภัย ความเข้าใจ ความรักและความสุขแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้บุตรหลานสามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างมีสติปัญญาและความรับผิดชอบท่ามกลางวิกฤตินานัปการในศตวรรษนี้
โครงการ Young Food เป็นการทำงานร่วมกันของสี่องค์กรที่เล็งเห็นความสำคัญของอาหารและระบบบริโภคนิยมซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคมและทำให้กิจกรรมแบบเดิมที่เคยปฏิบัติกับครอบครัวผ่านการประกอบอาหารเริ่มหายไป ทำให้ Generation gap ยิ่งเพิ่มช่องว่างมากกว่าเดิม ส่งผลให้เด็กเยาวชนห่างหายจากกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว รวมถึงขาดพื้นที่ในการสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างตัวเด็กเยาวชนด้วยกันเอง Magazine Online เล่มนี้ ถ่ายทอดบทเรียนและความรู้บางส่วนที่ได้จากประสบการณ์ดำเนินงานในพื้นที่ 2 ปีของทั้งสี่องค์กรคือสถาบันสื่อเด็ก และเยาวชน(สสย.) มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.) บริษัทอินี่(INI)นวัตกรรมสากล และมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ที่ต้องการเปิดพื้นที่เรียนรู้ให้กับเด็กเยาวชน คนรุ่นใหม่ และผู้คนหลากหลายวัยสามารถสร้างการเรียนรู้เรื่อง
บริษัท ไทยเบิ้ง โคกสลุง จำกัด ต.โคกสลุง จ.ลพบุรี เป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของคนในชุมชน พี่มืด - ประทีป อ่อนสลุง ผู้ประสานงานหลักไทยเบิ้งโคกสลุง เล่าว่าการทำงานพัฒนาชุมชนเป็นการทำงานที่ไม่มีวันเสร็จ เราต้องสร้างคนรุ่นใหม่ เพื่อมาสืบสานงานต่อเสมอและเน้นการทำงานที่สร้างสมดุลระหว่าง “มูลค่า” และ “คุณค่า” เพราะถ้าคุยกันแต่เรื่องกำไรผลประโยชน์ ความยั่งยืนของชุมชนก็ไม่มีวันเกิด เราจำเป็นต้องสร้างเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ เป็นเด็กและเยาวชนให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด เราต้องเอาแนวคิดร่วมสมัยของคนรุ่นใหม่มาสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่นให้มีคุณค่า ซึ่งกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้เราต้องถอดบทเรียนสร้างเป็นหลักสูตร เพื่ออบรมและสร้างกระบวนการทำงานใหม่ ๆ ที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_YlnYKqe/
บริษัท สหัสขันธ์ จูราสสิก แอนด ทราเวล จำกัด หนี่งในวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมที่นำความโดดเด่นของพื้นที่ อ.สหัสขันธ์ มาพัฒนาให้เป็นต้นแบบชุมชนท่องเที่ยวสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ คุณชมพิศ ปิ่นเมือง ประธานวิสาหกิจชุมชนสหัสขันธ์ สะท้อนแนวคิดการพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืนโดยนำการท่องเที่ยวเป็นแกนกลางในการขยายเครือข่ายการทำงาน ทำให้เกิดการต่อยอดไม่สิ้นสุดโดยนำความเชื่อและศรัทธาของชุมชนที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาร้อยเรียงเข้ากับคุณค่าของโบราณสถานอย่างวัดวาอาราม หรือ การค้นพบ ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ใหญ่เพื่อสร้างเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวอันโดดเด่นต่อการต้อนรับผู้คนที่เดินทางมาที่ อ.สหัสขันธ์ และได้มีการส่งต่อคุณค่าของชุมชนด้วยการอบรมมัคคุเทศก์ที่หลากหลายวัย ให้เกิดการเรียนรู้ และซึมซับคุณค่าของชุมชนอย่างต่อเนื่อง กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_JoG6-1L/
เพื่อน - สกาวกวิน กาญจนเสมา ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนล้านนา เปิดใจถึงการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ตนเองได้รับเมื่อมีโอกาสมาทำงานกับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม จากเดิมที่ตนเป็นคนไม่กล้าแสดงออก หรือการพูดในที่สาธารณะ ขณะนี้ตนมีทักษะการพูด การแสดงออกเพื่อสื่อสารงานที่ขับเคลื่อน รวมทั้งมีทักษะในการประสานงานกับเครือข่ายภาคีในการเปิดพื้นที่สืบสานล้านนาให้กว้างขวางขึ้น ที่ไม่เพียงเป็นการสานพลังของรากเหง้าในชุมชน ยังเป็นการส่งต่อภูมิปัญญาล้านนาให้กับคนรุ่นใหม่ได้นำมาผสมผสานกับวัฒนธรรมอุษาคเนย์ หรือตะวันตก เพื่อสร้างสรรค์เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่จากรุ่นสู่รุ่น กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_8ScWwZ_/
วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ย่านบ่านซ้าน จ.ภูเก็ต แม้จะเป็นน้องใหม่ในการก้าวสู่การทำงานร่วมกับ สสส. และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนพื้นที่ต่าง ๆ แต่การเริ่มต้นจาก “ทุนวัฒนธรรม” ที่เป็นเอกลักษณ์ของ จ.ภูเก็ต นับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เกิดความยั่งยืนได้ไม่ยากนัก ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตและความเชื่อของคนภูเก็ตที่มีความหลากหลาย ทั้งการกินของคนภูเก็ตที่กิน วันละ 7 มื้อ เทศกาลถือศีลกินผัก , การเดินที่มีเสน่ห์ด้วย “รถโพถ้อง” สองแถวนำเที่ยว สัมผัสย่านการค้าเก่าที่สำคัญ ของ จ.ภูเก็ต หรือ “อังมอเหลา” คฤหาสน์เก่าของนายเหมือง จ.ภูเก็ต ทุนวัฒนธรรมเหล่านี้ จึงเป็นพลังให้วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ย่านบ่านซ้าน จ.ภูเก็ต ถูกบอกต่อ และส่งพลังไปสู่วงกว้างได้ในอนาคตอันใกล้นี้ กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jPZudJKye-/
กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร