สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
อ่านสร้างสุข ๒๑ การอ่านมหัศจรรย์แห่งสุขภาพ – สุขชีวิต รวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาที่สำคัญจากหลายเทศถึงประโยชน์ของการอ่านที่ส่งผลต่อสุขภาพเชิงคุณภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจทั้งยังช่วยป้องกันโรคและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกว่า การอ่านหนังสือเล่ม และการอ่านบนเครื่องมือสื่อสารให้ผลต่อร่างกายและจิตใจแตกต่างกันหรือไม่ เหตุใดยังการอ่านหนังสือเล่มจึงยังได้รับความนิยมอยู่จนถึงปัจจุบัน
นิทาน “ทุกมื้ออร่อยจัง” เป็นเครื่องมือที่ดีซึ่งคุณพ่อ คุณแม่ และคุณครูสามารถนำมาใช้ในการเสริมสร้างโภชนาการที่ดีให้กับเด็กๆ ให้เด็กรู้สึกว่าการกินอาหารทุกมื้อเป็นเรื่องที่มีความสุข และได้คุณค่าทางสารอาหารอย่างครบถ้วน ที่สำคัญได้กินข้าวกับคนที่เรารักและรักเรา
เรื่องเล่า “หนังสืออยากมีเพื่อน” เป็นเสียงสะท้อนเล็กๆ ของหนังสือที่เดินทางแรมรอนมา โดยไร้คนเหลียวแล ท่ามกลางบรรยากาศกลิ่นไอของท้องทะเลภาคใต้ จนมีเด็ก ๆ นักอ่านมาช่วยไว้ และเป็นเพื่อนใหม่ของกันและกัน นับเป็นนิทานส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี
กุ๊กไก่เป็นหวัด เล่าเรื่องลูกไก่ป่วยเป็นหวัด แม่ไก่เป็นห่วงเป็นใย จะให้ลูกกินยาปฏิชีวนะ พ่อไก่จึงแนะนำว่า ไม่สบาย เป็นไข้ตัวร้อน อย่ารีบพึ่งยาปฏิชีวนะ เพราะจะทำให้ดื้อยา แค่นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็จะแข็งแรง และหายเองได้ แต่ถ้าไม่หายค่อยไปหาหมอจะดีที่สุด อย่าเสี่ยงซื้อยากินเอง นิทานเรื่องนี้ให้แนวทางการดูแลสุขภาพกับทุกเพศทุกวัยในครอบครัว
กระจิบท้องเสีย นิทานคำคล้องจอง อ่านเพลิน สนุกสนาน รูปแบบภาษาคล้ายเสียงดนตรี เล่าเรื่องนกกระจิบตัวน้อยที่ซุกซน กินของไม่เลือก มือไม้ไม่ล้างให้สะอาดก่อนหยิบอาหารกิน จึงทำให้ท้องเสีย ให้ข้อคิดเตือนใจเด็กๆ ต้องรักษาความสะอาดทุกครั้ง ล้างมือล้างไม้ก่อนรับประทานอาหาร
หอยทากสามพี่น้องอดไปเล่นนอกบ้านเพราะฝนตก แม่จึงสั่งให้พี่ ๆ ดูแลหอยทากจิ๋ว เมื่อพี่ ๆ อ่านนิทานจนหลับปุ๋ย หอยทากจิ๋วจึงหนีออกจากบ้านไปเที่ยวเล่นตามลำพังในขณะที่ฝนตกหนัก สุดท้ายก็ถูกฝนพัดพาให้หลงทาง โชคดีที่แม่และพี่ ๆ หอยทากออกตามหาและช่วยไว้ได้ทันการณ์
เมื่อ “ลูกอ๊อด” สมาชิกใหม่ของบึงบัวที่เกิดจากแม่กบ มีความใฝ่ฝันอยากกระโดดดึ๋งๆ แบบแม่กบ งานนี้เพื่อน ๆ อย่าง เต่าทอง แมลงปอ และตั๊กแตน เลยมาให้กำลังใจกันเต็มที่ ในที่สุดลูกอ๊อดก็เติบโตขึ้นและกระโดดดึ๋ง ๆ ได้อย่างแม่กบจนเพื่อน ๆ ตามไม่ทัน
คลิปอินโฟกราฟิกนำเสนอข้อมูลประเภทหรือกลุ่มของพลเมืองที่มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลในระดับที่แตกต่างกันให้เข้าใจได้อย่างง่าย ๆ โดยในสังคมประชาธิปไตย เราแบ่งกลุ่มพลเมืองในการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ออกเป็น 3 ระดับ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ ที่คิด วิเคราะห์ และประเมินคุณค่าของสื่อได้อย่างดี สามารถนำไปปรับใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ถัดมาคือ พลเมืองที่มีส่วนร่วม ซึ่งนอกจากมีความเข้าใจสื่ออย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังพัฒนาและผลิตเนื้อหา ข่าวสารให้เกิดประโชยน์ต่อชุมชน สังคมอย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรม สุดท้ายคือพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมของสังคม มีการใช้สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม อย่างมีเสรีภาพ เน้นการผลักดันเชิงนโยบาย กฎหมาย สร้างวัฒนธรรมของสื่อที่ดีและมีคุณภาพ
N/A
สื่อสีสันสดใสนำเสนอมุมมองที่มาและความสำคัญของการมีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อเด็ก-เยาวชนและครอบครัว ฉบับเนื้อหาสำหรับประชาชน ประกอบไปด้วยสถานการณ์และสถิติการใช้สื่อที่น่าเป็นห่วงของเด็กไทย ความสำคัญ กระบวนการ และบทบาทสำคัญในการจัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึงบทบาทของภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมตรวจสอบให้การออกกฎหมายและการบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
n/a
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.