สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
ภาพยตร์สั้น เล่าเรื่องชีวิตของยายละมูล ครูเพลงอาวุโส ที่รักและขับร้องบทเพลงไทยเบิ้ง เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชนบ้านสลุง กับหลานสาวที่ตระเวนออกไปหาคุณตาคุณยายรุ่นเดียวกันกับยายละมูล เพื่อชักชวนมาเปิดการแสดงขับร้องเพลงไทยเบิ้งให้เยาวชนคนหนุ่มสาวได้ฟัง เพื่อจะเกิดความรักและสืบสานเพลงไทยเบิ้งต่อไป แต่ทว่าวันแสดงกลับไม่มีทั้งผู้ขับร้องและผู้ชมมาแม้แต่คนเดียว หรือนี่จะเป็นลมหายใจเฮือกสุดท้ายของเพลงพื้นบ้านไทย
หิ้ว คือ คำศัพท์ในกระบวนการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นในวงการการเมือง เมื่อคนโกงบ้านโกงเมือง 2 ฝ่าย ไม่อยากให้ตนเองเดือดร้อน ก็จะมีการว่าจ้าง คนกลาง ให้มาทำหน้าที่เป็น “คนหิ้ว” ท้ายสุดภาพยนตร์ก็แสดงให้เห็นว่าการโกงนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายดาย เมื่อกิเลสมันเรียกร้อง ความอยากได้ ทั้งที่รู้ทั้งรู้ว่าเป็นเงินที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นกระบวนการโกงเป็นทอดๆ ไม่มีสัจจะในหมู่โจร
ม่าเหมี่ยว...ถุงนั้น เป็นผลงานหนึ่งในภาพยนตร์สั้นที่เกิดในโครงการเล่าเรื่องโกง 1 และ โครงการเล่าเรื่องโกง 2 ที่ระดมเหล่านักเขียนและผู้กำกับ ร่วมมือกันสร้างสรรค์ ตีแผ่ สะท้อนถึงปัญหาคอร์รัปชั่นที่เป็นต้นตอของปัญหาทั้งมวล ซึ่งปัญหานี้อาจเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่เห็นเป็นเรื่องธรรมดา เช่น การขโมยชมพู่ม่าเหมี่ยวของเด็กชายเชษฐ์และนุ้ยที่โรงเรียน จนถูกคุณครูจับได้ แต่ท้ายสุดผู้ใหญ่ที่พร่ำสอนก็กลับเผลอเรอเป็นคนทำเสียเอง
ภาพยนตร์สั้นฝีมือนักศึกษาในโครงการอย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา เรื่องแรก "John Doe" เนื้อเรื่องว่าด้วยชายหนุ่มผู้เข้าไปสมัครใช้บริการในองค์กรลึกลับ เมื่อเสียชีวิตแล้วสามารถไปอยู่ร่างใหม่ได้ 3 ครั้ง แต่เพราะเหล้า แม้จะมีชีวิตใหม่แต่กลับเจ็บปวดและเลวร้ายกว่าเดิม ส่วนเรื่องที่สอง Father เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มเดินทางกลับบ้านเพื่อไปรับ เขาต้องเจอกับพ่อขี้เหล้า ทุบตีแม่ จนในวันที่พ่อจากไป เขาก็ไม่แม้แต่จะมาร่วมงานศพ ด้วยผิดหวังในคนที่เคยเป็นเหมือนฮีโร่ของตนเอง
ไปรู้จักกับ 'ถนนเด็กเดิน' ถนนสายศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่สะท้อนทั้งอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของชุมชนได้อย่างน่ารักและลงตัว เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ชุมชนและเด็ก ๆ ได้เรียนรู้รากเหง้าและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปพูดคุยกับตัวแทนเยาวชน 3 พื้นที่สร้างสรรค์ ปิดท้ายด้วยการชวนเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ที่ชุมชนบางหลวง ย้อนเวลาไปดื่มด่ำในยุค ร.ศ.112 ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและช่วยกันสืบสานต่อไป
n/a
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 2 "ข้าพเจ้ากลายเป็นคนมองโลกในแง่ดีในแบบฉบับของตนเอง...ถ้าเข้าประตูหนึ่งแล้วทำอะไรไม่ได้ ข้าพเจ้าจะเข้าอีกประตูหนึ่ง หรือไม่ก็สร้างประตูเอง สิ่งที่เยี่ยมยอดจะมาเองไม่ว่าปัจจุบันจะมืดมนเพียงใด" โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1861-1941
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 3 "พรมแดนทางภูมิศาสตร์หมดความสำคัญลงไปในโลกสมัยใหม่ ประชาชนในโลกใกล้ชิดกันมากขึ้น เราต้องตะหนักในสิ่งนี้ และเข้าใจว่าความใกล้ชิดต้องมีพื้นฐานมาจากความรัก โลกตะวันออกและตะวันตกต้องร่วมมือกันแสวงหาความจริง" จากเรื่อง ชาตินิยม โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1917
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 4 "ขอให้สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคกลายเป็นหนทาง และขอให้เรารวมกันเข้า...มิใช่ทำเช่นนั้น ทั้งๆ ที่เรามีความแตกต่างกัน แต่ทำโดยอาศัยความแตกต่างนั้น ขอให้มนุษย์ทุกเชื้อชาติรักษาลักษณะเฉพาะของตน และยังมารวมกัน..มิใช่ในความเหมือนกันที่ตายแล้ว แต่ในความเป็นเอกภาพที่มีชีวิต" จากวาทะ โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1924
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 5 "ข้าพเจ้าเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ใฝ่ฝันจะขยายจิตวิญญาณของมนุษย์ ในบ้านของเรา เราแสวงหาเสรีภาพในอำนาจที่จะใช้ภาษาของเรา เสรีภาพที่จะจินตนาการในวรรณกรรมของเรา เสรีภาพของจิตวิญาณในความเชื่อทางศาสนา และเสรีภาพของความคิดในสภาพแวดล้อมทางสังคม โอกาสเช่นนั้นทำให้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นในอำนาจการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิต และเป็นสิ่งเดียวที่จะให้เสรีภาพที่แท้จริงแก่เรา เสรีภาพสูงสุดของมนุษย์ นั่นคือ เสรีภาพของการยึดถือหลักธรรมร่วมกันในโลกมนุษย์" จากเรื่อง อุดมคติของการศึกษา โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1929
กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร