trực tiếp bóng đá Xoilac
สื่อสร้างสรรค์ | ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
ประเภทสื่อ "ทั้งหมด" พบ 2095 ข้อมูล

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 3

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 3 "พรมแดนทางภูมิศาสตร์หมดความสำคัญลงไปในโลกสมัยใหม่ ประชาชนในโลกใกล้ชิดกันมากขึ้น เราต้องตะหนักในสิ่งนี้ และเข้าใจว่าความใกล้ชิดต้องมีพื้นฐานมาจากความรัก โลกตะวันออกและตะวันตกต้องร่วมมือกันแสวงหาความจริง" จากเรื่อง ชาตินิยม โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1917  

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 4

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 4 "ขอให้สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคกลายเป็นหนทาง และขอให้เรารวมกันเข้า...มิใช่ทำเช่นนั้น ทั้งๆ ที่เรามีความแตกต่างกัน แต่ทำโดยอาศัยความแตกต่างนั้น ขอให้มนุษย์ทุกเชื้อชาติรักษาลักษณะเฉพาะของตน และยังมารวมกัน..มิใช่ในความเหมือนกันที่ตายแล้ว แต่ในความเป็นเอกภาพที่มีชีวิต" จากวาทะ โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1924  

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 5

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 5 "ข้าพเจ้าเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ใฝ่ฝันจะขยายจิตวิญญาณของมนุษย์ ในบ้านของเรา เราแสวงหาเสรีภาพในอำนาจที่จะใช้ภาษาของเรา เสรีภาพที่จะจินตนาการในวรรณกรรมของเรา เสรีภาพของจิตวิญาณในความเชื่อทางศาสนา และเสรีภาพของความคิดในสภาพแวดล้อมทางสังคม โอกาสเช่นนั้นทำให้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นในอำนาจการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิต และเป็นสิ่งเดียวที่จะให้เสรีภาพที่แท้จริงแก่เรา เสรีภาพสูงสุดของมนุษย์ นั่นคือ เสรีภาพของการยึดถือหลักธรรมร่วมกันในโลกมนุษย์" จากเรื่อง อุดมคติของการศึกษา โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1929

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 6

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 6 "อะไรก็ตามที่ควรรู้ คือความรู้ และความรู้ทั้งชายและหญิง มิใช่เพื่อประโยชน์ใช้แสวงหาในทางปฏิบัติ แต่เพื่อความรอบรู้นั่นเอง ความปรารถนาที่จะเรียนรู้เป็นกฎธรรมชาติของมนุษย์ ความรู้มี 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือความรู้บริสุทธิ์ อีกประเภทหนึ่ง คือความรู้ที่ใช้สอย ในสาขาของความรู้บริสุทธิ์ไม่มีแตกต่างทั้งชายและหญิง ความแตกต่างอยู่ในขอบเขตของความรู้เพื่อใช้สอย ผู้หญิงควรมีความรู้บริสุทธิ์เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ และมีความรู้ใช้สอยเพื่อให้เป็นผู้หญิงที่แท้จริง" จากเรื่องการศึกษาของผู้หญิง โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1915

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 7

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 8

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 8 "เมื่ออยู่ในชนบทข้าพเจ้าพยายามตลอดเวลาที่จะเรียนรู้ไปในรายละเอียดปลีกย่อยที่สุด งานของข้าพเจ้าทำให้ต้องเดินทางไกลจากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง จากศิลัยดาถึงหมู่บ้านปักติษา ผ่านแม่น้ำน้อยใหญ่และข้ามหนองน้ำ ด้วยวิธีนี้ข้าพเจ้าได้เห็นชีวิตในหมู่บ้านทุกด้าน ข้านเจ้ากระตือรือร้นอย่างยิ่งที่จะเข้าใจกิจวัตรประจำวันในหมู่บ้าน ความเป็นมาของชีวิตในหมู่บ้านที่สำคัญและน่าสนใจ ไม่นานนักก็เห็นความทุกข์ยาก โศกเศร้าของพวกเขาชัดเจน แล้วรู้สึกอดร้นทดไม่ได้ที่จะต้องทำอะไรบางอย่างกับเรื่องนี้ สำหรับข้าพเจ้ามันน่าละลายที่จะใช้ชีวิตแบบเจ้าที่ดิน สนใจแต่เรื่องหาเงิน และหมกมุ่นอยู่กับกำไรขาดทุนของตนเอง" โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1861 - 1941  

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 9

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 9 "ข้าพเจ้ารู้สึกว่าอินเดียที่แท้จริงเป็นแนวคิด ไม่ใช่เพียงข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ แนวคิดของอินเดียขัดแย้งกับสำนึกอันเข้มข้นของการแบ่งแยกประชาชนของตนเองออกจากชาติอื่น ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งไม่รู้จบสิ้น ดังนั้นคำอธิษฐานเพียงประการเดียวของข้าพเจ้า คือขอให้อินเดียสนับสนุนความร่วมมือกันของประชาชนทั่วโลก จิตวิญญาณของการปฏิเสธการสนับสนุนการรู้สึกแบ่งแยก จิตวิญญาณของการยอมรับความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" จากแนวคิดเรื่อง สวราช การปกครองตนเอง โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1861 - 1941  

เปิด 108 หนังสือดี เปิดหน้าต่างแห่งโอกาส ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.