trực tiếp bóng đá Xoilac
แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน | ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
ประเภทสื่อ
แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
สื่อสร้างสรรค์ของภาคี จำนวนทั้งหมด 210 ข้อมูล

The Reading อ่านสร้างสุข โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ EP.2

คลิปวิดีโอ The Reading อ่านสร้างสุข กับนิทานเรื่องพระจันทร์อยากมีเพื่อน โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการตัดกระดาษไปพร้อมๆ กับการเล่านิทาน จนเกิดเป็นไอเดียในการแต่งนิทานเรื่องพระจันทร์อยากมีเพื่อนขึ้น นิทานเรื่องพระจันทร์อยากมีเพื่อน เป็นนิทานที่มีการใช้เทคนิคการพับและตัดกระดาษเข้ามาช่วยเสริมอรรถรสในการเล่าเรื่องที่จะทำให้เด็กๆ เกิดการจินตนาการตาม มีความรู้สึกสนุกและนำตัวเองความไปมีส่วนร่วมในนิทานมากขึ้น รวมถึงจะได้ฝึกทักษะการคิดวางแผนในกิจกรรมการตัดกระดาษให้เป็นรูปดาวล้อมเดือน ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ มีพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อมือและสายตาที่ประสานกัน

The Reading อ่านสร้างสุข โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ EP.3

นิทานภาพเรื่องเม่นหลบฝน โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ ที่ได้รับรางวัลและได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา เม่นหลบฝนเป็นนิทานภาพที่ไร้ตัวหนังสือแต่สามารถพูดคุยและเล่าเรื่องให้เด็กๆ เข้าใจได้ ด้วยการใช้ภาพและสัญลักษณ์ในหนังสือสื่อสารกับเด็กและด้วยภาพในนิทานจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กฝึกเปล่งคำพูดออกมาและยังเปิดกว้างให้เด็กๆ ได้หัดจินตนาการตามภาพ หนังสือนิทานภาพประเภทไร้ตัวหนังสือนี้จะเป็นตัวช่วยอย่างดีในการฝึกให้เด็กมีพัฒนาด้านทักษะทางภาษาและการพูด รวมถึงฝึกการใช้ความคิดและเปิดกว้างทางจินตนาการของเด็กได้อย่างสร้างสรรค์ 

The Reading อ่านสร้างสุข โดย รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ EP.1

เด็กทุกคนชอบหนังสือ ป้ากุล ยืนยัน” The reading อ่านสร้างสุข โดย รศ. กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ หรือป้ากุลข้าราชการบำนาญสาขาวรรณกรรมสำหรับเด็กมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อดีตบรรณารักษ์และครูสอนภาษาไทย ป้ากุลมีความเชื่อว่าถ้าหากเด็กทุกคนได้เสพศิลปะในนิทานสำหรับเด็กแล้ว พวกเขาจะเติบโตขึ้นมามีจิตใจที่อ่อนโยน ในผลงานนิทานแต่ละเรื่องที่ป้ากุลแต่งล้วนได้รับแรงบันดาลใจมาจากหลานๆ ซึ่งมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและใช้จินตนาการในการแต่งนิทานร่วมกัน อีกทั้งยังทำให้ป้ากุลกล้าที่จะวาดภาพ โดยนิทานของป้ากุลส่วนใหญ่แล้วจะใช้เทคนิคการพับกระดาษและใช้ภาพศิลปะในนิทานเป็นตัวเล่าเรื่อง เพื่อปลูกฝังคุณธรรมและการรักการอ่านให้แก่เด็กๆ

The Reading อ่านสร้างสุข โดย รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ EP.2

การเล่านิทานและการผลิตสื่อที่เข้าใจง่าย เช่น การวาดรูปและการพับกระดาษประกอบการเล่านิทานให้เด็กฟังจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเด็กๆ เพราะเด็กๆ จะได้ทั้งประโยชน์จากการใช้กล้ามเนื้อมือ การพัฒนาทักษะการคิด การวางแผนและยังมีความผูกพันกับตัวละครในเรื่อง The Reading อ่านสร้างสุข โดย รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ Ep.2 ในคลิปวิดีโอที่สองนี้ ป้ากุล จะมาเล่านิทานพร้อมทั้งแนะนำการออกเสียงภาษาไทยที่ถูกต้องด้วยเรื่อง ทำไม .ช้าง จมูกยาว กับเทคนิคการเล่านิทานที่มีทั้งการพับกระดาษและการร้องเพลงมาช่วยหนุนพลังรักการอ่าน ซึ่งเด็กๆ จะได้ทั้งความรู้เรื่องการออกเสียงภาษาไทยที่ถูกต้องและยังได้ฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ผ่านทางภาพศิลปะในนิทานและการพับกระดาษ

The Reading อ่านสร้างสุข โดย รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ EP.3

ผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพ จ๊ะเอ๋ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้

จ๊ะเอ๋คลิปวิดีโอผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่หยิบนิทานภาพมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัวและสร้างวัฒนธรรมการกอดให้เกิดขึ้นในครอบครัวระหว่างพ่อแม่และลูกให้มีความใกล้ชิดและช่วงเวลาแห่งความรักร่วมกันทุกวัน หนังสือนิทานภาพถือเป็นบันไดขั้นแรกที่ปลูกฝังทั้งการรักการอ่านและสร้างพัฒนาการทางด้านสติปัญญาให้แก่เด็ก อีกทั้งผลการวิจัยพบว่าหลังจากที่ผู้ปกครองและเด็กได้เล่นจ๊ะเอ๋กันทุกวัน เด็กๆ มีความกล้าที่จะกอดพ่อแม่มากขึ้น เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งความรักที่สร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัว

เฮือนกล๋อง ป๋อเฒ่าวิ ตำนานศาสตร์และศิลป์แห่งม่อนปิ่น : สื่อศิลป์SE

เรายังรักกันทุกวันจ้ะ

ผลของการใช้หนังสือนิทาน จ๊ะเอ๋ (ฉบับยาวี-ไทย) ที่มีต่อพัฒนาการของบุตรก่อนวัยเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตามบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้านต้านโควิด 2 ภาษา (ไทย-ญี่ปุ่น)

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.