The Learner Vol.1 : ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์
ศ.วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์ ที่ชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไป เมื่อดวงตามองไม่เห็น และเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อเรียนรู้ว่า คนตาบอด ไม่ได้ไร้ค่า คนตาบอดทำได้ทุกอย่าง และท่านส่งต่อความเชื่อและความเข้มแข็งนั้นให้ทั้งผู้ที่มองเห็นและมองไม่เห็น ให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีความมั่นใจ
The Learner
Short Clip Series "The Learner" ถ่ายทอดเรื่องราวนักเรียนรู้ ต่างเพศ วัย อาชีพ และบทบาท เพื่อให้เห็นว่า ทุกชีวิตสามารถมีการเรียนรู้ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับตนเองได้ ทำให้เราเข้าใจและเปลี่ยนแปลงจากภายในของตน
เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต
“ชีวิต คือการเรียนรู้” ประโยคคุ้นชินที่กระตุกเตือนให้เราแสวงหาการเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น แต่จะมีสักกี่คนที่ค้นพบการเรียนรู้ที่แท้จริง...เรียนรู้ใน “คุณค่าแห่งชีวิต” เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองจากภายในสู่ภายนอก ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ด้วยจิตวิญญาณ ด้วยใจที่ใคร่ครวญ การรู้ด้วยจิตสำนึกใหม่ หรือที่สากลเรียกว่า การเรียนรู้แบบองค์รวม – Holistic Learning หนังสือเล่มนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้เราหันมาทบทวนชีวิตของตนเองว่าที่ผ่านมาเราใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าหรือไม่ ?
ฝึกกาย ฝึกจิต ชีวิตยืนยาว
หนังสือเล่มนี้ เป็นการแนะนำการออกกำลังกายด้วยการผสานกลมกลืนระหว่างกายและใจ สำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติธรรมอยู่ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศไทย ก็จะเคยออกกำลังกายด้วยรูปแบบนี้ เป็นการฝึกกระบอง - เหยืองชิง หมั่นทำเป็นประจำร่างกายจะแข็งแรงแก้ปัญหาไหล่คิด ปวดบ่า และยังส่งผลให้จิตสุขสงบ ชีวิตสดชื่นเบิกบาน
ตะวันในพุงฉัน
ตะวันในพุงฉัน เป็นเรื่องราวของเจนนี่และมอลลี่เพื่อนรักที่ทะเลาะกัน จนทำให้เจนนี่เศร้าเสียใจเพราะไม่มีเพื่อนเล่น จนเจนนี่นั่งเหงาอยู่เพียงลำพัง แล้วตะวันได้ทอดตัวมาตกที่พุงของเจนนี่ ความอบอุ่นและความงามของแสงตะวัน เป็นสิ่งที่เจนนี่อย่างแบ่งปันกับมอลลี่ และนั่นเองที่นำพาให้เขาทั้งสองได้กลับมาเป็นเพื่อนรักที่ดีต่อกันอีกครั้ง เรื่องราวนี้สะท้อนให้ถึงมิตรภาพและความรักจากธรรมชาติ จะช่วยเยียวยาและสมานความสัมพันธ์ได้เสมอ
เล่น เป็น เด็ก เรียนรู้การฝึกสติกับเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ
ปัจจุบันการเรียนการสอน และการเรียนรู้ของเด็กแวดล้อมไปด้วยภาวะการแข่งขัน และการเรียนเร็ว เรียนลัด แท้จริงแล้วท่านติช นัท ฮันห์ เน้นการสอนเด็กต้องทำควบคู่กับความรักและความเข้าใจระหว่างครูและนักเรียน ระหว่างพ่อแม่และลูก เพราะนั่นคือ พื้นฐานการเรียนรู้ที่ดี และที่สำคัญ “การฝึกสติ” ก็เป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ ช่วยพัฒนากระบวนการรับรู้ของเด็กได้ดีขึ้น ทำให้เด็กเกิดความมั่นคงทางอารมณ์ และมีความเชื่อมั่นและเบิกบานในชีวิต เพื่อเสริมสร้างภูมิปัญญาและภูมิรู้อย่างมีความสุข
1ผู้ให้ ช่วยได้ 8 ชีวิต
แม้เราจะเสียชีวิตแต่ชีวิตเราจะไม่สูญเปล่า เมื่อเราเลือกที่จะเป็นผู้ให้เป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการบริจาคอวัยวะเพื่อต่อชีวิตให้ผู้ที่รออวัยวะและรอการปลูกถ่ายอวัยวะ ขอเพียงอายุไม่เกิน 65 ปี สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดเชื้อ หรือโรคร้ายแรง เราก็สามารถบริจาคอวัยวะได้ สนใจบริจาคอวัยวะ โทร. 1661 หรือผ่าน แอปพลิเคชัน “บริจาคอวัยวะ”
คู่มือจัดทำข้อเสนอโครงการ เมือง 3 ดีวิถีสุข
คู่มือฉบับนี้ เป็นเสมือนเข็มทิศเพื่อให้ชุมชมและสังคม ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นของตนเองสู่ “เมืองสื่อสร้างสรรค์” หรือ “เมือง 3 ดี วิถีสุข” ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบในการมี “สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี” โดยเป็นผสานพลังการทำงานของแผนงานหลักของ สสส. ประกอบด้วย แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน, แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาวะ เบื้องต้นมีพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดที่ขับเคลื่อน คือ แม่ฮ่องสอน, สุรินทร์ และ เพชรบุรี
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 48 เดือนกันยายน - เดือนตุลาคม 2562
ศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ เปิดตัวโครงการ วิ่งสู่ชีวิตใหม่สตอรี่ : Run for New Life Story กับ 8 บุคคลต้นแบบ จาก 8 พื้นที่ทั่วประเทศ ที่กล้าเปลี่ยน...ลุกขึ้นมาวิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองเป็นเวลากว่า 3 เดือน (ก.ย. - พ.ย. 62) โดยมีการตามติดถ่ายทำจากทีมผลิตตสื่อ 8 ทีม เพื่อมาเผยแพร่ทางออนไลน์ สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนถามตัวเอง ว่า เราจะ “ปล่อย” หรือ จะ “เปลี่ยน” นอกจากนี้ภายในเล่มยังมีการนำเสนอเรื่องราวดนตรีบำบัดสร้างชีวิตใหม่ให้เยาวชนผู้หลงเดิรนทางผิด และเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย
อาสารับฟัง ฟังยังไงให้เข้าไปถึงหัวใจ
การฟังให้เป็น ฟังเสียงแล้วเข้าอกเข้าใจไปถึงหัวใจคนพูด ฟังแล้วไม่ตัดสินให้เขาทุกข์ใจไปมากกว่าเดิม ฟังแล้วให้อีกฝ่ายวางใจ กล้าที่จะบอกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจออกมา ต้องทำยังไง?นี่เป็น 7 ขั้นตอนในการรับฟังที่อยากให้ทุกคนลองนำไปใช้กันดู
คู่มือเดินเมืองตลาดพลู
คู่มือเดินเมืองตลาดพลูชุดนี้ เป็นสื่อสร้างสรรค์สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2562 (MIDL Week 2019) ภายใต้ธีม MIDL for Inclusive Cities: สร้างเมืองของทุกคน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2562 ณ ตลาดพลู กรุงเทพมหานคร
สุขภาวะคนเมืองเรื่องของทุกคน
วันนี้ความเป็นเมืองกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกพื้นที่ พร้อม ๆ กับความสะดวกสบายที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและการเดินทาง ในอีกด้านวิถีชีวิตเรากำลังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป เราไม่อาจหยุดยั้งความเป็นเมืองที่รุกเข้ามาหาเราได้ แต่เราจะทำอย่างไรให้อยู่กับเมืองได้อย่างมีความสุข ติดตามใน ‘สุขภาวะคนเมือง เรื่องของทุกคน’ แง่มุมความคิดโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. จากงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะคนเมืองและชนบท