Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ทั้งหมด" พบ 142 ข้อมูล

หวัด (ไม่) ดีจ้า

ไม่อยากติดหวัดงอมแงม จามฟึดฟัด คัดจมูก ประสิทธิภาพต่ำ ขอแนะนำให้ป้องกันหวัดที่ไม่น่าทักทายนี้ ด้วยพฤติกรรมการกินและการอยู่ที่ช่วยป้องกันโรคหวัดได้ ทั้งการเลือกกินผักผลไม้ หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านหวัด และทางที่ดี ให้เลือกผักอินทรีย์ที่มั่นใจอีกทีว่าปลอดจากเคมีด้วยล่ะ

รู ว่าเขาหลอก อย่าเต็มใจให้หลอก

นอกจากกินผักผลไม้ให้มากขึ้น สิ่งที่เราควรระวัง เตรียมตัว และทำความเข้าใจ คือความปลอดภัยของผักผลไม้ที่เรากิน เพราะทุกวันนี้ ผักผลไม้เชิงเดี่ยวในท้องตลาดมักมีของแถมเป็นสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย และหลักการจดจำเดิมๆ อย่างการเลือกผักที่มีรู เลือกผักที่มีตรารับรอง หรือเลือกกินผักพื้นบ้าน ใม่ใช่ทางออกที่ปลอดภัยเสมอไป เพราะมีการตรวจพบสารปนเปื้อนจากผักผลไม้เหล่านี้เช่นเดียวกัน มารู้เท่าทัน และคัดสรรผักผลไม้ที่เราไว้วางใจว่าจะไม่ถูกหลอกด้วยหลักการเบื้องต้นเหล่านี้

อ่านฉลาก อย่างฉลาด

หนึ่งในหนทางสู่การเลือกกินดี คือการรู้จักพลิกอ่านฉลากโภชนาการที่อยู่หลังซองหรือกล่องก่อนซื้อทุกครั้ง Greenery ลองถอดสูตรวิธีการอ่านตัวเลขแบบง่ายๆ ให้เอาไปใช้กันได้จริง เพื่อการเลือกกินอย่างฉลาด

ความดันทุเรียนสูง

ผลไม้ที่จัดอยู่ในหมวด ‘รักแรง เกลียดแรง’ คือใครเกลียดก็ไม่กินไปเลย แต่ใครที่รักก็รักมากๆ เฝ้ารอฤดูกาลที่ทุเรียนหอมฉุยจะมาถึง แล้วกินกันให้สมกับที่คิดถึง จนบางทีก็มากเกิน และส่งผลต่อพุงล้ำๆ และน้ำตาลในเส้นเลือด! รักการกินทุเรียนเราไม่ว่า แต่เราขอเตือนว่าการกินทุเรียนมีข้อควรระวัง เพื่อให้เราอยู่กินทุเรียนในฤดูกาลถัดไปได้อีกนานๆ

รวมของกินดี เอาที่สบายใจ

ถ้าเกิดหิวขึ้นมาในช่วงเวลาที่จำเป็นต้องแวะร้านสะดวกซื้อ ก็ใช่ว่าเราจะไร้ทางเลือกในการ ‘กินดี’ ลองตั้งใจสอดส่องให้ดีว่าอาหารอะไรบ้างที่มีคุณสมบัติดังนี้ ไม่ผ่านการแปรรูป หรือแปรรูปน้อยที่สุด เลือกวิธีการปรุงแบบนึ่ง ต้ม หรืออบ หลีกเลี่ยงของทอด อ่านฉลากเบื้องต้น หลีกเลี่ยงอาหารที่น้ำตาลสูง โซเดียมสูง หรือไขมันสูง ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด ถ้าเลือกและเลี่ยงได้ตามนี้ สบายใจได้ระดับนึงว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไม่ถามหาแน่นอน

ผัก ระยะปลอดภัย

เพราะผักตามท้องตลาดทั่วไปที่เราไม่รู้ที่มา อาจเป็นผักที่ปลูกด้วยการใช้สารเคมี โดยไม่มีการตรวจสอบควบคุม ส่วนผักที่มีตรารับรองก็ไม่ได้แปลว่าปลอดภัยแบบ 100% จึงเป็นเหตุผลที่ผู้บริโภคอย่างเราต้องรู้จักเลือกและแยกแยะผักให้เป็น 

10 เหตุผลที่เราควรเลิกใช้หลอดพลาสติก

หลอดพลาสติกเป็นสิ่งที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ขนาดของหลอดที่เล็กเกินกว่าจะเก็บไปรีไซเคิล หลุดไปลอยอยู่ในทะเลมหาศาล กลายเป็นอาวุธทำร้ายสัตว์ทะเลทั้งเล็กใหญ่ แถมยังแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติกที่เล็กจิ๋วเป็นแพลงก์ตอน เข้าไปปะปนอยู่ในสัตว์ทะเลที่ถูกจับกลายมาเป็นอาหารของเราอีกที นั่นแปลว่าเราเองก็กำลังกินเจ้าขยะพลาสติกนี้ไปด้วยโดยไม่รู้ตัว สิ่งหนึ่งที่เราเริ่มต้นทำได้ทันทีไม่ยากเลย คือการปฏิเสธหลอดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อลดขยะบนโลกนี้ด้วยตัวเราเอง

สายกรีน ปฏิบัติ

วิธีลดขยะในชีวิตประจำวันมีมากมาย Greenery ลองจับเคล็ดลับเด็ด ๆ ทำไม่ยาก มาจับใส่หมวดจัดหมู่ง่าย ๆ ให้เราได้จดจำ เพื่อช่วยให้การลงมือปฏิบัติจริงเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยรวบรวมเหล่าแฮชแท็กที่รวบรวมมาจากภารกิจ #GreeneryChallenge ให้สายกรีนได้เลือกลด เลือกเริ่ม และเลือกร่วมอุดมกรีนไปด้วยกัน

มอง (ข้าว) กล้องหน่อย

หลายคนรู้ประโยชน์ของข้าวกล้อง แต่ก็ยังกลัวๆ กล้าๆ เกิดคำถามว่าข้าวกล้องจะแข็งไหม อร่อยหรือเปล่า หุงไม่เป็น ลองกินแล้วไม่ชอบ ฯลฯ อินโฟกราฟิกชิ้นนี้จะชวนให้ทุกคนลองมามองข้าวกล้องในมุมมองใหม่ ว่านอกจากประโยชน์จะคับเมล็ดแล้ว ยังมีทริกในการหุงให้ง่าย หุงให้อร่อย ด้วย

คนเจ้าน้ำตาล หยุดดราม่าด้วยการบริโภคน้ำตาลอย่างพอดี

ใครจะรู้ว่า...บางทีอาการทางกายที่เราเป็นอยู่ ซึมเศร้า หดหู่ ฟันผุ กระดูกเปราะ ฯลฯ อาจเกิดจากการบริโภคน้ำตาลเกินไปก็ได้ ถ้าไม่อยากให้อาการดราม่าจากน้ำตาลร้ายเหล่านี้ทำร้ายเรา ลองใช้เคล็ดลับง่าย ๆ จากอินโฟกราฟิกนี้ ค่อย ๆ ลดน้ำตาลกัน

7 วิธี เปลี่ยนร้านกาแฟให้กรีน

ขยะพลาสติกอันดับต้นๆ นอกจากขวดน้ำดื่มใช้ครั้งเดียวทิ้ง คงหนีไม่พ้น ‘แก้วพลาสติก’ สำหรับเครื่องดื่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ น้ำผลไม้ หรือน้ำอัดลม ที่มาเป็นคอมโบ้เซ็ตพร้อมฝาครอบ หลอด บางร้านแถมมาด้วยถุงหิ้วและพลาสติกหุ้มหลอดอีกต่างหาก นอกจากผู้บริโภคจะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้ง ต้นทางอย่างคาเฟ่ ร้านกาแฟ หรือแม้แต่ซุ้มกาแฟเล็กๆ ก็สามารถมีส่วนในการช่วยลดขยะล้นๆ เหล่านี้ หากมีความตั้งใจจริง เรามีวิธีเบื้องต้นที่ชวนเหล่าผู้ประกอบการมาเป็น #ร้านนี้กรีนดี ไปพร้อมๆ กัน

อยู่ให้ได้ ถ้าไม่มีมัน

กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายไขมันทรานส์ โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่มกราคม 2562 ทั้งนี้เพราะไขมันทรานส์ที่เกิดจากไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วน และปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อีกมากมาย อินโฟกราฟิกนี้ให้ความรู้เรื่องไขมันทรานส์และชวนผู้บริโภคสร้างพฤติกรรมบริโภคความมันให้น้อยลง

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.