Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "โควิด" พบ 52 ข้อมูล

สูงวัยกับธรรมชาติและการรู้ทันสื่อ ICEM E-Bulletin: Vol.3

กรุณากดลิงค์เพื่อเข้าชมสื่อ E-Bulletin https://www.iceml.org/e-bulletin/Vol-03/   ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง กับเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่มากมายในโลกสื่อสารและโลกออนไลน์  สิ่งเหล่านี้ผู้สูงวัยต้องเตรียมพร้อมในการรับข้อมูล และเท่าทันสื่อในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ “ภัยพิบัติ” ที่มักมาพร้อมกับข่าวลวง หรือ Fake News เป็นจำนวนมาก  เนื้อหาภายในเล่มจึงนำเสนอความรู้การสร้างสมดุลการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ตามหลักแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง – มีภูมิคุ้มกัน รู้เหตุรู้ผล และความพอประมาณ”  พร้อมกับบทความเด่น ผู้สูงวัยกับการรู้เท่าทันสื่อ “ความเชื่อ ความจริง เรื่องดิน น้ำ ลมไฟ” และ “การรับมือภัยพิบัติอย่างปลอดภัยจากบทเรียนประเทศญี่ปุ่น”  และพลาดไม่ได้กับบทความ “เกษียณสดใส ท่องเที่ยวไปอย่างเท่าทัน” เพื่อสร้างประสบการณ์การเที่ยวอย่างปลอดภัย ปลอดโควิด 19

สุขภาพคนไทย 2565

รายงานสุขภาพคนไทยปี 2565 ในวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพกาย สุขภาพจิต การศึกษา ชีวิตการทำงาน เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำในสังคมชุมชนและครอบครัวในแง่มุมต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยในระยะสั้นและระยะยาว นอกเหนือจากรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 แล้วก็ยังมีอีก 10 สถานการณ์เด่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตสุขภาพกายของคนไทยที่เป็นทั้งเรื่องใหม่และที่ยังรอการแก้ไข เช่น การปลดล็อกกัญชา กัญชงและพืชกระท่อม การโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง โรงงานหมิงตี้ระเบิดบทเรียนภัยพิบัติจากโรงงานสารเคมี ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและการปรับตัว อนาคตเกษตรไทยกับเกษตรอัจฉริยะ ไทยกับ RECP และ CPTPP ข้อดีและสิ่งที่ต้องระวังและสุดท้ายเรื่องการเมืองบนท้องถนนกับทางออก ซึ่งรายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นต่อไป

อรุโณทัยแห่งการตื่นรู้ สู่การขยายมวลความสุข

รู้หรือไม่ว่าในวันวันหนึ่งเราใช้สมองส่วนไหนในการดำรงชีวิตมากที่สุด สมองส่วนหน้าส่วนที่ใช้สติปัญญาไตร่ตรอง ส่วนกลางส่วนของความรู้สึก หรือว่าส่วนหลังที่เป็นส่วนที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดเพียงเพื่อเอาชีวิตรอดไปวันๆ  อรุโณทัยแห่งการตื่นรู้สู่การเคลื่อนขยายมวลความสุข โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นหนังสือที่พูดถึงการสร้างสุขภาวะทางปัญญา เพื่อการตื่นรู้ในระดับจุลภาคไปสู่ระดับมหภาค ด้วยการใช้สมองส่วนหน้าที่เป็นส่วนของมนุษย์ขั้นสูงในการเข้าถึงความเป็นจริง เพื่อให้เรารู้เท่าทันตนเองและเข้าใจความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโลก รวมถึงการสร้างสังคมแห่งการตื่นรู้หรือสังคมยุคสมองส่วนหน้า ซึ่งเราทุกคนล้วนเป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งหรือหนึ่งในมวลสารแห่งความสุขที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่สังคมแห่งอารยะ

การดูแลผู้สูงวัยช่วงโควิด

อินโฟกราฟิก เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยช่วงโควิด19 กับหลายแนวทางง่ายๆ อยู่บ้านอย่างไรให้มีคุณภาพ เช่น ชวนกันออกกำลังกายเบาๆ ภายในบริเวณบ้าน เดินแกว่งแขน ปลูกต้นไม้ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองและร่างกาย เลือกทานอาหารที่ปรุงสุก เน้นอาหารจำพวกโปรตีนและผักผลไม้หลากสีเพื่อสร้างภูมิคุ้นกัน ที่สำคัญคือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่กังวลไปกับข่าวสารมากจนเกินไปและการ์ดอย่าตก ควรสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างจากคนที่มาเยี่ยมทุกครั้งและควรหมั่นล้างมือ

การปฎิบัตตัวของกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันโควิด

อินโฟกราฟิกแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด19 เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงผู้สูงอายุ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนแออัด สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากต้องออกนอกบ้านและหมั่นล้างมือ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพตนเองและทำความสะอาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้เป็นประจำร่วมกันในบ้าน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิตด้วยแอลกอฮอล์

วิธีการกักตัวผู้ป่วยโควิด

เมื่อต้องกักตัว 14 วัน อินโฟกราฟิก วิธีการกักตัวผู้ป่วยโควิดและผู้ที่ต้องเฝ้าระวังอาการ กับ 6 ขั้นตอนการรับมือ ตั้งแต่วิธีการเตรียมที่พักและอุปกรณ์ที่จำเป็น การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยทั้งกรณีที่อยู่คนเดียวและอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งควรงดเว้นกิจกรรมนอกบ้านต่างๆ ที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น ควรหยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หมั่นเฝ้าสังเกตุอาการตัวเอง หากพบว่ามีไข้ร่วมกับอาการไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ควรแจ้งให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อทราบเพื่อประสานการรับตัวไปรักษาต่อไป

The Reading อ่านสร้างสุข โดย ครูชีวัน วิสาสะ

จนถึงตอนนี้ สถานการณ์วิกฤตโควิด19 ยังไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงเพราะไวรัสมีการกลายพันธุ์ออกเป็นหลายสายพันธุ์ ทำให้สถานการณ์ของโรคระบาดโควิด19 มีความรุนแรงมากขึ้นและทำให้การรักษาโรคยากขึ้นไปอีก  การจะสื่อสารและอธิบายกับเด็กให้พวกเขาเข้าใจถึงความน่ากลัวของโรคระบาดและเห็นถึงความสำคัญของการตั้งการ์ดป้องกันตัวเองจากโรคร้าย ด้วยคำพูดจากผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียวดูจะไม่เพียงพอ The Reading อ่านสร้างสุข คลิปวิดีโอ การใช้นิทานภาพเรื่องอีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้านต้านโควิด ที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารโน้มน้าวและอธิบายให้แก่เด็กๆ เข้าใจถึงความน่ากลัวของโรคโควิด19 โดยนิทานภาพจะทำให้พวกเขาเห็นภาพและเกิดความเข้าใจถึงสถานการณ์มากขึ้น พร้อมทั้งเห็นความสำคัญของการป้องกันและดูแลตัวเองในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด19 ได้อย่างสร้างสรรค์

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.