Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สุขภาพจิต" พบ 12 ข้อมูล

สุขภาพคนไทย 2565

รายงานสุขภาพคนไทยปี 2565 ในวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพกาย สุขภาพจิต การศึกษา ชีวิตการทำงาน เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำในสังคมชุมชนและครอบครัวในแง่มุมต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยในระยะสั้นและระยะยาว นอกเหนือจากรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 แล้วก็ยังมีอีก 10 สถานการณ์เด่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตสุขภาพกายของคนไทยที่เป็นทั้งเรื่องใหม่และที่ยังรอการแก้ไข เช่น การปลดล็อกกัญชา กัญชงและพืชกระท่อม การโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง โรงงานหมิงตี้ระเบิดบทเรียนภัยพิบัติจากโรงงานสารเคมี ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและการปรับตัว อนาคตเกษตรไทยกับเกษตรอัจฉริยะ ไทยกับ RECP และ CPTPP ข้อดีและสิ่งที่ต้องระวังและสุดท้ายเรื่องการเมืองบนท้องถนนกับทางออก ซึ่งรายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นต่อไป

วันทุกข์ที่ผ่านพ้น รวมเรื่องสั้น อ่านยาใจ อ่านเพื่อหัวใจอิ่มสุข

ทุกครั้งที่เราเผชิญกับความทุกข์ ความคิดและตัวของเราเอง คือ เพื่อนที่คลายความทุกข์ที่ดีที่สุด วันทุกข์ที่ผ่านพ้น หนังสือรวมเรื่องสั้นที่จะช่วยเป็นยาใจและคลายทุกข์ให้กับผู้อ่านผ่านตัวละครต่างๆ ที่เกิดจากขบวนการการเขียนระบายความความทุกข์ของผู้เขียน จนเกิดเป็นเรื่องราวที่สวยงามและแตกต่างกัน16เรื่อง ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกจากผู้ทรงวุฒิทั้งด้านของสุขภาพจิตและผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการเขียนวรรณกรรม โดยแต่ละเรื่องมีจุดเด่นคือปมที่ถูกคลี่คลายเพื่อคลายความทุกข์ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต

รายงานสุขภาพคนไทย 2564

รายงานสุขภาพคนไทยปี 2564 ที่นำเสนอ 10 หัวข้อสถานการณ์เด่นแห่งปี 2564  ที่เกิดขึ้นในสังคมและเป็นตัวชี้วัด “สุขภาพพื้นที่” ที่เป็นตัวสะท้อนความหลากหลายในประเด็นสุขภาพของคนไทย โดยรายงานฉบับนี้นำเสนอตั้งแต่เรื่อง สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม เศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ ปัญหาเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปจนถึงสถานการณ์ Covid-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก ที่เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกัน ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสถานการณ์การระบาดของโรค การควบคุมและป้องกัน การต่อสู้กับการระบาดของหลายๆ ประเทศ รวมทั้งกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงประเด็นเรื่องการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคโควิด -19

แนวปฏิบัติสําหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

ทุกวันนี้อาชญากรในโลกออนไลน์มีความพยายามเข้าถึงเหยื่อโดยใช้วิธีการที่หลากหลายมากขึ้น อาชญากรรมส่วนใหญ่เป็นการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กและการทารุณกรรม ซึ่งเด็กและเยาวชนเองก็สามารถเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตผ่านมือถือได้ตลอดเวลาและเยาวชนส่วนใหญ่ก็ยังขาดการชี้แนะในเรื่องการรู้เท่าทันภัยที่มากับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง แนวทางปฏิบัติสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับนี้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความรู้และเป็นแนวทางในการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกับสหวิชาชีพอื่นๆ รวมถึงแนวทางการทำงานร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง โรงเรียนและชุมชน เพื่อเฝ้าระวังคุ้มครองเด็กและแก้ไขปัญหาในลักษณะของการบูรณาการร่วมกัน

ดูแลหัวใจเจ้าตัวน้อยช่วงโควิด-19

อินโฟกราฟิกแนะนำเทคนิคให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการดูแลเด็กๆ ลูกหลานที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้านช่วงโควิด-19 เด็กๆ เองก็เครียดไม่แพ้กันและบางครั้งก็ไม่เข้าใจสถานการณ์ จำเป็นที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและช่วยประคับประคองให้เด็กๆ ผ่านช่วงนี้ไปด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งไม่แพ้ผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน

คุณเป็นหรือเปล่า โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness)

โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) เป็นโรคใหม่ที่คนยุคปัจจุบันเป็นกันมาก สืบเนื่องมาจากภาวะของเทคโนโลยีที่เข้ามาทำให้สังคมหมุนไปอย่างรวดเร็ว โรคทนรอไม่ได้จะส่งผลเสียทำให้คนที่เป็นเกิดปัญหาสุขภาพทางอารมณ์ เรื้อรังกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตและกายตามมา หากใครมีอาการนี้ จะต้องแก้ไขโดยด่วน อินโฟกราฟิกชิ้นนี้มีทั้งสาเหตุ ทางออก และการแก้ไขมาฝากกันอย่างครบถ้วน

ความสุขของสูงวัย หล่นหายไปไหน

ไม่ใช่แค่วัยรุ่นที่ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลง ผู้สูงวัยเองก็เป็นวัยที่ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงมากไม่แพ้กัน ทั้งความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เสื่อมถอยลง ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม หน้าที่การงาน ยังรวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงจากสภาพจิตใจ การสูญเสียเพื่อน คนรัก คู่ชีวิต สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ลูกหลานและคนรอบข้างควรให้ความสำคัญ และช่วยกันประคับประคองให้ผู้สูงวัยรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างมีความสุข กิจกรรมและสิ่งที่ลูกหลานควรทำเพื่อสร้างสุขให้ผู้สูงวัยมีอะไรบ้าง ติดตามได้ในอินโฟกราฟิกชิ้นนี้  

ระวังเครียดมากเสี่ยงโรคร้าย

รู้เท่าทันความเครียดและวิธีป้องกัน เพราะความเครียดส่งผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น เป็นบ่อเกิดแห่งโรคร้าย ทั้งโรคหัวใจ โรคซึมเศร้า โรคประสาท หรืออาจทำให้ถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ความเครียดอันตรายมากกว่าที่เราคิด

เซ็ง เครียด ทำไง

วัฏชีวิตคนเมืองที่รุมเร้าด้วยภาวะ เซ็ง เครียด แล้วเราจะทำยังไงดี ? ทำความรู้จักและสังเกตอาการที่มากับความเครียด กดดัน วิตกกังวล ที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เป็นโรคกระเพาะ นอนไม่หลับ ซึมเศร้า และอีกหลายอาการที่อาจจะนำไปสู่โรคร้ายอื่น ๆ เรียนรู้การหลีกเลี่ยงและป้องกันความเครียด ศัตรูตัวร้ายของทุกคน เพื่อให้เราอยู่บนโลกที่วุ่นวายนี้ได้อย่างมีความสุข

โรคซึมเศร้า เราควรใกล้ชิด

เรียนรู้ และเข้าใจ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี เพราะผู้ป่วยไม่ได้อ่อนแอ แต่ความคิดในแง่ลบนั้นเกิดจากสารเคมีและระบบฮอร์โมนในสมองที่เปลี่ยนไป คนใกล้ชิดคือยาใจสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ ให้หายได้อย่างยั่งยืนเพียงแค่เปิดใจรับฟัง

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.