Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "มหาวิทยาลัยมหิดล" พบ 20 ข้อมูล

สูงวัยกับธรรมชาติและการรู้ทันสื่อ ICEM E-Bulletin: Vol.3

กรุณากดลิงค์เพื่อเข้าชมสื่อ E-Bulletin https://www.iceml.org/e-bulletin/Vol-03/   ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง กับเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่มากมายในโลกสื่อสารและโลกออนไลน์  สิ่งเหล่านี้ผู้สูงวัยต้องเตรียมพร้อมในการรับข้อมูล และเท่าทันสื่อในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ “ภัยพิบัติ” ที่มักมาพร้อมกับข่าวลวง หรือ Fake News เป็นจำนวนมาก  เนื้อหาภายในเล่มจึงนำเสนอความรู้การสร้างสมดุลการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ตามหลักแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง – มีภูมิคุ้มกัน รู้เหตุรู้ผล และความพอประมาณ”  พร้อมกับบทความเด่น ผู้สูงวัยกับการรู้เท่าทันสื่อ “ความเชื่อ ความจริง เรื่องดิน น้ำ ลมไฟ” และ “การรับมือภัยพิบัติอย่างปลอดภัยจากบทเรียนประเทศญี่ปุ่น”  และพลาดไม่ได้กับบทความ “เกษียณสดใส ท่องเที่ยวไปอย่างเท่าทัน” เพื่อสร้างประสบการณ์การเที่ยวอย่างปลอดภัย ปลอดโควิด 19

การรู้เท่าทันสื่อนานาชาติ ICEM Bulletin: Vol.2

กรุณากดลิงค์เพื่อเข้าชมสื่อ E-Bulletin https://www.iceml.org/e-bulletin/Vol-02/   การรู้เท่าทันสื่อนานาชาติ  ฉบับนี้  พาผู้สูงวัยไปร่วมเรียนรู้แนวทางการสร้างเกราะป้องกันการรู้เท่าทันสื่อของเพื่อนๆ ในประเทศ ทั้งการให้ความช่วยเหลือและบริการด้านอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้สูงอายุในสหราชอาณาจักรและสเปน รวมถึงไปประเทศออสเตรเลีย เพื่อศึกษาความสามารถการใช้สื่อและการเข้าถึงด้านความรู้เท่าทันสื่อ  และพลาดไม่ได้สำหรับเพื่อนคอซีรีส์เกาหลี กับ Soft Power ที่มากับเรื่องราวที่เราชอบกัน  และไม่ลืมที่จะเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกันกับคาถาเท่าทันสื่อ หยุด-อย่าด่วนสรุปเอง , คิด-มีสติพิจารณาไตร่ตรอง , ถาม-สอบถามจากผู้รู้จริง ยืนยันสิ่งที่ถูกต้อง และ ทำ-ตัดสินและสรุปว่าข้อมูลน่าเชื่อถือแค่ไหน เพื่อสื่อสารต่อเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น

สงครามสื่อ ผู้สูงอายุ ICEM E-Bulletin: Vol.1

กรุณากดลิงค์เพื่อเข้าชมสื่อ E-Bulletin https://www.iceml.org/e-bulletin/Vol-01/   วันนี้ในโลกของการสื่อสารทั้งสื่อแบบดั้งเดิม และสื่อออนไลน์แบบใหม่ ล้วนเต็มไปด้วยไวรัสของสื่อที่พร้อมจะคุกคามทุกคน  ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้สูงวัย  เปรียบเสมือนสมรภูมิรบของสื่อ  ICEM E-Bulletin  ฉบับแรก จึงประเดิมด้วยการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “นิเวศสื่อดิจิทัล”  เพื่อเห็นความหลากหลายของสื่อ และภาพรวมของวิวัฒนาการของสื่อ จนนำมาถึง “สงครามสื่อ” ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคนิยม  แล้วสรุปถึงแนวทางการสร้างภูมิรู้เท่าทันสื่อในผู้สูงวัย กับ “บุพนิมิตแห่งมรรค 7 – หลักธรรมป้องกันภัยจากสื่อในผู้สูงวัย  คือ มีเพื่อนผู้รู้ มีการรับสื่อที่เหมาะสม มีการใฝ่รู้สร้างสรรค์ มีการพัฒนาเรียนรู้ มีทัศนคติที่ดี  มีสติไม่ประมาท และมีความคิดไตร่ตรอง”    

หลักสูตรวัยเพชร รู้ทันสื่อ

วัยเพชร คือ วัยที่เปรียบได้ดั่ง ”เพชร”ที่ผ่านการเจียระไนด้วยประสบการณ์ แต่ด้วยความถดถอยทางร่างกายจึงทำให้วัยเพชร หรือผู้สูงอายุมีความรอบในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารในโลกปัจจุบันน้อยลง "หลักสูตรวัยเพชรรู้เท่าทันสื่อ" เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติในโครงการสูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยงที่มีเนื้อหาสาระเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านกิจกรรม เนื้อหาและวิธีการสอนในแต่ละบทมีลักษณะสั้นกระชับเข้าใจง่าย เพื่อให้ง่ายต่อการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อและภูมิคุ้มกันในการบริโภคสื่อให้กับผู้สูงอายุให้ปลอดภัยจากการเสพข้อมูลข่าวสารในแต่ละวัน

ตื่นรู้ 101 ห้องการเรียนรู้ที่ 3 เส้นทางสู่องค์กรแห่งความสุข

วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา มณีวัฒนา คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ เกตุฉาย ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา , คุณชุลีพร รัมยะรังสิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในงาน ตื่นรู้ 101 วันที่ 10 มกราคม 2562 ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา กิจกรรมของ “ตื่นรู้ 101” เป็นการบรรยายผสมผสานกับการลงมือปฏิบัติ (Workshop) เพื่อที่จะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเอง รวมทั้งมีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากเรียนรู้ในแต่ละช่วง โดยวิทยากรประจำห้องแต่ละห้อง ซึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสามารถที่จะเลือกเข้าไปมีส่วนร่วมในห้องต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแต่ละห้องล่วงหน้า ซึ่งพื้นที่การจัดกิจกรรมทั้ง 3 ห้อง จะถูกสร้างเป็นพื้นที่เปิดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจได้ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม

ตื่นรู้ 101 ห้องการเรียนรู้ที่ 1. ห้องเรียนผ่านการเรียนรู้ระดับตัวตน

ห้องการเรียนรู้ที่ 1. "ห้องเรียนผ่านการเรียนรู้ระดับตัวตน" วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทีมวิทยากร กิจกรรมของ “ตื่นรู้ 101” เป็นการบรรยายผสมผสานกับการลงมือปฏิบัติ (Workshop) เพื่อที่จะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเอง รวมทั้งมีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากเรียนรู้ในแต่ละช่วง โดยวิทยากรประจำห้องแต่ละห้อง ซึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสามารถที่จะเลือกเข้าไปมีส่วนร่วมในห้องต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแต่ละห้องล่วงหน้า ซึ่งพื้นที่การจัดกิจกรรมทั้ง 3 ห้อง จะถูกสร้างเป็นพื้นที่เปิดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจได้ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม

การเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา

การเปิดใจ ฟังเสียงสะท้อนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม Leadership Inside Out – การเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา ที่สามารถทำให้บุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เกิดการพัฒนาภายในของตนเอง   เพราะที่ผ่านมาพวกเขาอาจจะวิ่งหาแต่การพัฒนาจากภายนอก โดยไม่ได้มองย้อนกลับมาที่ภายในของตัวเอง  การเรียนรู้ในครั้งนี้ทำให้เกิดการค้นพบตัวตนใหม่ ที่สร้างความสุขให้ตัวเองแล้ว ยังส่งต่อไปยังผู้คนที่อยู่รอบข้าวได้รับความสุขนี้อีก  ด้วยจิตใจที่อ่อนโยน และเป็นมิตรมากขึ้น ปล่อยวางอีโก้หรือตัวตนที่แบกมาหนักเกือบทั้งชีวิต

สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP4 ลงตัวกับความกลัว

ความกลัว เป็นอารมณ์แรก ๆ ของมนุษย์เรา ความกลัวมีรากฐานมาจากความไม่มั่นคงภายในใจ  การจัดการกับความกลัว คือการทำอย่างไรที่เราจะมีความรู้สึกมั่นคงภายใต้ความกลัวที่ยังอยู่  โดยให้ความกลัวเป็นสิ่งเร้าที่มาจากภายนอก แต่ภายในใจของเราแข็งแกร่งมากขึ้น ...เราไม่ต้องพยายามที่จะขจัดความกลัวนั้นออกไป ในทางตรงกันข้ามให้เรายอมรับความกลัวที่มีอยู่ และมีสติที่จะจัดการกับความกลัวนั้นอย่างเข้าใจ

สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP3 ลงตัวกับความเศร้า

ความเศร้าเป็นตระกูลเดียวกับความโกธร  ที่เริ่มต้นจากความไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์รอบตัว หรือตัวเอง จนท้ายที่สุดก็จะมานั่งโทษตัวเอง  ลดคุณค่าในตัวเอง การทำให้เราหลุดจากความเศร้า ต้องใช้การเคลื่อนไหว หรือ การเปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนบรรยากาศ หรือเปลี่ยนอารมณ์ ก็จะทำให้เราหลุดจากอารมร์เศร้าที่ครอบงำได้

สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP2 ลงตัวกับความเครียด

“ความเครียด” เป็นสัญญาณให้เราระมัดระวังเพื่อเตรียมการณ์อะไรบางอย่าง  แต่ว่าความเครียดกลายเป็นสาเหตุที่บั่นทอนจิตใจและร่างกายของคนเรา เพราะเราไปปรุงแต่งให้เกิดขึ้นจากความไม่มั่นใจ ความลังเล และความวิตกกังวล แท้จริงแล้วความเครียดจะหายไปได้เมื่อหมดเหตุ หรือปล่อยวางไม่จดจ่อกับความเครียดนั้น ๆ  ให้นำ “ความสบายใจมาดูแลความเครียด” นั่นเอง       

สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP1 ลงตัวกับความโกรธ

เวลาคนเราโกธร การให้นับ 1 ถึง 10 แล้วนิ่งไว้ เป็นคำสอนที่ไม่ผิดอะไร แต่การห้ามความโกธรนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำหรือ ? เราควรรู้วิธีเรียนรู้และยอมรับความโกธรนั้นด้วยการฝึกเดินทางสายกลาง ด้วยกระบวนการ Learning Process  เรามีหน้าที่ฝึกการมี “สติ” รู้ทันเท่าความโกธร สามารถควบคุม และหาสาเหตุ ยอมรับมัน และปล่อยวางลง  และมี “ปัญญา” ซึ่งจะบอกเราว่าควรทำ หรือไม่ควรทำอะไรให้สอดคล้องกับกาลเทศะ

สุขสัญจรออนไลน์ - New Normal EP4 New Normal คือวิถีภายในซึ่งเป็นชีวิตวิถีใหม่

เมื่อสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในเรื่องการระบาดของโรคอุบัติใหม่อย่าง โควิด 19  ความปกติใหม่ของการดูแลใจ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ New Normal คือการพัฒนาเพื่อให้จิตใจเราสามารถอยู่อย่างเป็นปกติได้ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นปกติ ไม่หลงใหลไปกับความกลัว ความกังวล ความเผลอเพลิน ความคึกคะนองต่าง ๆ ที่จริงแล้วทุกคนล้วนต่างต้องการมีความสุข การจะ มีความสุขได้ก็ด้วยการพาให้ใจกลับมามีความมั่นคงก่อน คือมั่นคงต่อสิ่งที่มากระทบ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.