Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ผู้ป่วยระยะสุดท้าย" พบ 12 ข้อมูล

คู่มือชีวามิตร EP.3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี

เมื่อความเจ็บป่วยดำเนินมาถึงระยะท้าย หลายคนมักคิดว่าเป็นข่าวร้ายและไม่สามารถบอกความจริงกับผู้ป่วยอย่างตรงไปตรงมาได้ “ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี” จะช่วยให้เราเปลี่ยนมุมมองการแจ้งความจริงกับผู้ป่วย พร้อมเรียนรู้เทคนิคขั้นตอนการแจ้งความจริงและวิธีรับมือกับปฏิกิริยาต่อความโศกเศร้าของผู้ป่วย การแจ้งความจริงกับผู้ป่วยเท่ากับเป็นการปลดล็อคและบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้เขาสำรวจความต้องการของตัวเองและวางแผนจัดการสิ่งเหล่านั้น มาเรียนรู้เทคนิคการแจ้งข่าวร้ายด้วยกัน ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี” แล้วคุณจะรู้ว่า นั่นไม่ใช่เรื่องร้ายเสมอไป แต่กลับช่วยปลดล็อคและ ลดความทุกข์ให้กับคนที่ เรารักได้เช่นกัน

คู่มือชีวามิตร EP.2 ร่างกายกำลังบอกลา

ชุดความรู้ที่อธิบายอาการภาพรวมในผู้ป่วยในภาวะใกล้เสียชีวิตและคำแนะนำความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของผู้ป่วย เพื่อให้เราดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีและคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยระยะท้ายเป็นหลัก ไม่ยัดเหยียดการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ในระยะท้ายของชีวิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและเป็นการสร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยระยะท้ายมากขึ้น   มาหาคำตอบกันในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 2 ร่างกายกำลังบอกลา: สรีระวิทยาภาวะใกล้เสียชีวิต”

คู่มือชีวามิตร EP.1 ทางเลือกที่เลือกได้

เมื่อมีคนเจ็บป่วยในครอบครัว แน่นอนว่าทุกคนอยาก “รักษาให้ถึงที่สุด” แต่ถ้าความเจ็บป่วยเดินทางมถึงระยะสุดท้าย เราควรเลือกการรักษาแบบไหนดี? เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างและยื้อความเจ็บปวดให้ยาวนานยิ่งขึ้น “ทางเลือกที่เลือกได้” คู่มือที่ช่วยแนะนำให้เราตระหนักถึงทางเลือกในการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตและความสุขให้แก่ผู้ป่วยระยะท้าย     เพื่อให้คนที่เรารัก “อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”

ศ.นพ. อิศรางค์ นุชประยูร - เมื่อความตายรออยู่เบื้องหน้าจึงรู้ว่าสิ่งใดสำคัญที่สุดในชีวิต

บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson บทความสัมภาษณ์ ศ.นพ. อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่างๆ และการตระหนักถึงคุณค่าความหมายสูงสุดของชีวิต เพราะชีวิตของคนเราเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและเราควรจะใช้ชีวิตในตอนนี้อย่างไรให้มีคุณภาพ อีกทั้งเรื่องความปรารถนาดีของเราในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่อาจกลายเป็นการทำร้ายผู้ป่วยหรือคนที่เรารักในทางอ้อม เราจึงควรปรับทัศนคติ คำนึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วยระยะท้ายและคนที่เรารักเป็นสำคัญ โดยการเติมเต็มความสุขที่เป็นการเคารพความต้องการซึ่งกันและกัน

พีระพัฒน์ เหรียญประยูร - การจัดกระเป๋าเดินทางครั้งสุดท้าย ที่ลงมือทำได้ตั้งแต่วันนี้

คุณพีระพัฒน์ เหรียญประยูร  Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการวางแผนการเงิน ได้ให้คำแนะนำเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่เริ่มเตรียมพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้ ทั้งเรื่องการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคต การเตรียมตัวเพื่อการรักษาสุขภาพ สิทธิขั้นพื้นฐาน การเตรียมเอกสารสำคัญการมอบอำนาจในกรณีที่เราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพื่อให้พร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่จะมาถึงอย่างมีคุณภาพ  

นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ - กระบวนการตายตามธรรมชาตินั้นสั้นและเจ็บปวดน้อยกว่า

บทความสัมภาษณ์ นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ  เรื่อง ข้อเท็จจริงของความทุกข์ทรมานทางร่างกายของผู้ป่วยระยะท้ายกับการยืดกระบวนการตายให้ยาวนานขึ้นซึ่งเท่ากับเพิ่มความเจ็บปวดทรมานให้มากขึ้น แต่เราสามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการให้ผู้ป่วยและญาติได้รู้ข้อเท็จจริง  เพื่อยอมรับความจริงในกลไกธรรมชาติของร่างกายมนุษย์และใช้การแพทย์สมัยใหม่ช่วยลดความเจ็บปวด โดยปล่อยให้อาการของโรคดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติ สุดท้ายต้องให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองในการแสดงเจตจำนงในการรักษา  

ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย - ทำไมคนป่วยหนักหรือในภาวะใกล้ตายจึงเกิดภาพหลอน

บทความสัมภาษณ์ ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ภาวะอาการสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสับสนเพ้อคลั่งในผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากกลไกการทำงานของสมองที่ล้มเหลวแบบเฉียบพลันจนเกิดภาพหลอน หรือ ภาวะ Delirium เพื่อเป็นความรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีสติรับรู้และเผชิญหน้ากับการจากไปได้อย่างสงบสุขที่สุด  

ภาริอร วัชรศิริ - สักวันเราทุกคนจะต้องเข้าสู่ลูปของการดูแลผู้ป่วยอันยาวนาน จนกว่าจะถึงวันที่เขาจากไป

บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว  

รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา - เข้าใจแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อไม่พาผู้ป่วยระยะท้ายมายื้อความตายยาวนาน

บทความสัมภาษณ์ รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา เรื่อง บทบาทที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินและคำแนะนำความรู้ความเข้าใจต่อความเจ็บปวดในการยื้อชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหน้าที่ที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินมีไว้เพื่อรองรับคนไข้ที่ยังมีโอกาสรอดต่อไป ไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยระยะท้ายค่อยๆ จากไปอย่างสงบสุขได้ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรทำความเข้าใจกับสิ่งสุดท้ายที่ผู้ป่วยระยะท้ายทุกคนต้องการจริงๆ คือ การลดความเจ็บปวดทรมานทางกาย หาที่พึ่งพิงทางใจ การตอบเรื่องจิตวิญญาณ การจัดการเรื่องทางสังคมและสถานที่ที่อบอุ่นเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้จากไปอย่างสงบ  

วิชาชีวิต Live 4 เตรียมประคับประคอง โดย รศ.พญ.รัตนา พันธ์พานิช vs ดีเจพี่อ้อย

เมื่อการรักษาไม่ก่อประโยชน์ จะประคับประคองต่อได้อย่างไร  การตระหนักถึงสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิต แม้ในเวลาที่ความตายใกล้เข้ามา ร่วมกันทำความเข้าใจถึงการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เพื่อให้ลมหายใจสุดท้ายเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทั้งกับครอบครัวและผู้จากไป เพราะการยื้อชีวิตอาจไม่ใช่คำตอบที่ใจต้องการ   “จะมีสักกี่คนที่ได้อยู่กับคนที่เรารักในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต ส่วนใหญ่จะอยู่กับหมอและพยาบาล ดังนั้น ถ้าเราอยากมีลมหายใจสุดท้ายที่มีความสุขกับคนที่เรารัก การเลือก (การรักษา) จึงเป็นสิ่งสำคัญ” ดีเจพี่อ้อย

วิชาชีวิต บทที่ 5 มาตรา12 VS การุณยฆาต โดย ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส

การวางแผนชีวิตล่วงหน้าในวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ  คนที่ไม่สบายแต่ยังมีสติสัมปชัญญะ เขาสามารถตัดสินใจได้ว่าจะรักษาอย่างไร  แต่หากคนที่ไม่สบายขาดสติ หรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ส่วนใหญ่ญาติหรือผู้ดูแลก็อยากจะยื้อชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แต่กลับเป็นการเพิ่มความทุกข์ทรมานให้ผู้ที่จากไป “พรบ. สุขภาพแห่งชาติ มาตราที่ 12” มีสาระสำคัญให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนชีวิตในช่วงสุดท้ายได้ ว่าอยากตะจากไปแบบไหน ด้วยการทำ “เจตจำนง หรือ Living Will”  ว่าถ้าวันหนึ่งต้องจากไป ขอจากไปตามธรรมชาติ จากไปอย่างสงบ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.