Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ผู้ป่วย" พบ 59 ข้อมูล

วิธีการกักตัวผู้ป่วยโควิด

เมื่อต้องกักตัว 14 วัน อินโฟกราฟิก วิธีการกักตัวผู้ป่วยโควิดและผู้ที่ต้องเฝ้าระวังอาการ กับ 6 ขั้นตอนการรับมือ ตั้งแต่วิธีการเตรียมที่พักและอุปกรณ์ที่จำเป็น การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยทั้งกรณีที่อยู่คนเดียวและอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งควรงดเว้นกิจกรรมนอกบ้านต่างๆ ที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น ควรหยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หมั่นเฝ้าสังเกตุอาการตัวเอง หากพบว่ามีไข้ร่วมกับอาการไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ควรแจ้งให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อทราบเพื่อประสานการรับตัวไปรักษาต่อไป

คู่มือหลักสูตรการบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย

การที่บุคคลจะเข้าถึงการอยู่ดีและตายดีนั้น แม้จะเป็นเรื่องเฉพาะตน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การดูแลวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นเรื่องที่สำคัญมากและจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับทั้งคนในครอบครัว แพทย์ พยาบาล เภสัชกร รวมถึงผู้ที่รับจ้างดูแล คู่มือหลักสูตรการบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายสำหรับผู้ดูแลและนักบริบาลชุดนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการเผยแพร่แนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีคุณภาพที่ดีและจากไปด้วยดี รวมถึงช่วยให้ครอบครัวเข้าใจยอมรับความพลัดพรากสูญเสียที่เกิดขึ้นได้

ชุมชนกรุณาเชียงใหม่

ชุมชนกรุณา จ.เชียงใหม่ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาล และชุมชน ที่เปิดพื้นที่เรียนรู้เรื่องการอยู่ดีและตายดีเครื่องมือการเรียนรู้ของกลุ่ม Peaceful Death เช่น สมุดเบาใจ เกมไพ่ไขชีวิต ไพ่ฤดูฝน เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถสนทนาเรื่องชีวิตและความตาย การวางแผนดูแลล่วงหน้า อันช่วยสนับสนุนการดูแลสุขภาพช่วงท้ายอย่างมีคุณภาพ ติดตามการทำงานของชุมชนกรุณาเชียงใหม่ ได้ผ่านเพจ ชุมชนกรุณาขะไจ๋ http://facebook.com/compassioncommuni... วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION

สันติภาวัน สถานพำนักพระภิกษุอาพาธระยะท้าย

เมื่อพระภิกษุป่วยระยะท้าย ปัญหาหนึ่งที่ท่านพบบ่อยๆ คือ วัดหลายแห่งไม่มีพระพร้อมเป็นผู้ดูแล พระภิกษุหลายรูปไม่ได้รับการดูแลที่ดีเท่าที่ควร มิฉะนั้นอาจต้องพักที่โรงพยาบาล ซึ่งอาจไม่ใช่ที่ที่ดีที่สุดในการอยู่ในสมณเพศ​ มิฉะนั้นอาจต้องกลับบ้านให้ญาติดูแล ซึ่งเสี่ยงต่อการผิดพระวินัย พระภิกษุหลายรูปจึงอาจต้องลาสิกขาเพียงเพราะป่วยเรื้อรังหรือระยะท้าย ไม่สามารถละสังขารได้ในผ้ากาสาวพัตร สันติภาวัน สถานพำนักพระภิกษุอาพาธระยะท้ายจึงเกิดขึ้น โดยมีพระสงฆ์และทีมจิตอาสาช่วยผู้ดูแลอำนวยความสะดวก เพื่อให้ท่านได้ใช้ชีวิตช่วงท้ายพิจารณาความเป็นจริงของชีวิต และละสังขารอย่างสงบ ตามอุดมคติของพระพุทธศาสนา วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION"

เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม

ชุมชนกรุณา ไม่ปฏิเสธบทบาทของภาคธุรกิจบริการ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และเป็นพลังหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการตายดี รู้จัก เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ผู้ให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน ก่อตั้งโดย ศ.นพ.ดร. อิศรางค์ นุชประยูร ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งและชีวาภิบาล และผู้อำนวยการโครงการ อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://peacefuldeath.co/yuanyen/ วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION"

ชมรมชายผ้าเหลือง ชุมชนกรุณา

น่าดีใจที่ชุมชนห้วยยอด และพื้นที่ใกล้เคียง ในจังหวัดตรัง มีกระแสของการดูแลใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย โดยที่ทั้งชุมชนและทีมสุขภาพต่างมีส่วนร่วม หนุนเสริมซึ่งกันและกัน นำโดย พระกฎษดา ขนฺติกโร ประธานชมรมชายผ้าเหลือง และผู้นำสังฆะแห่งการเยียวยา ชมการทำงานและแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างโรงพยาบาล และชุมชน ในวีดีโอชมรมชายผ้าเหลือง ชุมชนกรุณา วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION

ชุมชนกรุณา Manifesto

เพราะการเผชิญความสูญเสียเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญของชีวิต หน้าที่การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการตายดี จึงไม่อาจจำกัดเพียงครอบครัว บุคลากรสาธารณสุข เท่านั้น หากเป็นความรับผิดชอบของทุกคน แม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่เราทุกคนสามารถมีส่วนช่วยเหลือได้ตามความศักยภาพ ความสามารถ และบทบาทหน้าที่ที่เป็นอยู่ ขอเพียงมีความกรุณา เห็นอกเห็นใจผู้ที่กำลังเผชิญความสูญเสีย แม้การช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก ชุมชนกรุณา คือแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้สามารถดูแลผู้เผชิญความสูญเสีย ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล โดยเน้นการป้องกันความทุกข์ การบรรเทาความรุนแรง และการเยียวยาฟื้นฟู ผ่านการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคสุขภาพและภาคสังคม การทำงานโดยวิเคราะห์ระบบนิเวศน์ในชุมชน การขับเคลื่อนชุมชนกรุณา สามารถทำงานให้ความช่วยเหลือในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับกลุ่มองค์กร ระดับโครงสร้างนโยบาย หรือในระดับวัฒนธรรมของสังคม

I SEE U: ชุมชนกรุณา

I SEE U คือกลุ่มอาสา เยียวยาจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย นำทีมโดยคุณอรุณชัย อรุณชัย นิติสุพรรัตน์ นอกจากกลุ่ม I SEE U จะอบรมอาสาสมัคร ให้มีทักษะเยี่ยมผู้ป่วยในกรุงเทพและปริมณฑลแล้ว ยังจัดกิจกรรมสนับสนุนคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และให้กำลังใจบุคลากรสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ติดตามการดำเนินงานของกลุ่ม I SEE U ได้ที่เพจ I SEE U Contemplative Care และอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://peacefuldeath.co/กว่าจะมาเป็น... วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION

คู่มือชีวามิตร EP.6 ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลผู้ป่วย

เมื่อความเจ็บป่วยระยะท้ายดำเนินมาถึงจุดที่ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร การตัดสินใจ หรือความสามารถในการดูแลตัวเอง เรามักพบว่ามีปัญหาทางด้านกฎหมายเกิดขึ้น เป็นประเด็นขัดแย้ง หรือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวได้เสมอ นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า มาเรียนรู้หลักการเบื้องต้นทางกฎหมายในการตั้งผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลผู้ป่วย ว่ามีความแตกต่าง กันอย่างไร ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 6 ผู้พิทักษ์-ผู้อนุบาลผู้ป่วย” เตรียมพร้อมวางแผนชีวิตระยะท้ายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อการจากลาอย่างสุขสงบ ไม่มีสิ่งค้างคาในใจ

คู่มือชีวามิตร EP.3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี

เมื่อความเจ็บป่วยดำเนินมาถึงระยะท้าย หลายคนมักคิดว่าเป็นข่าวร้ายและไม่สามารถบอกความจริงกับผู้ป่วยอย่างตรงไปตรงมาได้ “ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี” จะช่วยให้เราเปลี่ยนมุมมองการแจ้งความจริงกับผู้ป่วย พร้อมเรียนรู้เทคนิคขั้นตอนการแจ้งความจริงและวิธีรับมือกับปฏิกิริยาต่อความโศกเศร้าของผู้ป่วย การแจ้งความจริงกับผู้ป่วยเท่ากับเป็นการปลดล็อคและบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้เขาสำรวจความต้องการของตัวเองและวางแผนจัดการสิ่งเหล่านั้น มาเรียนรู้เทคนิคการแจ้งข่าวร้ายด้วยกัน ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี” แล้วคุณจะรู้ว่า นั่นไม่ใช่เรื่องร้ายเสมอไป แต่กลับช่วยปลดล็อคและ ลดความทุกข์ให้กับคนที่ เรารักได้เช่นกัน

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.