Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "งานวิจัย" พบ 14 ข้อมูล

ผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพ จ๊ะเอ๋ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้

“จ๊ะเอ๋” คลิปวิดีโอผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่หยิบนิทานภาพมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัวและสร้างวัฒนธรรมการกอดให้เกิดขึ้นในครอบครัวระหว่างพ่อแม่และลูกให้มีความใกล้ชิดและช่วงเวลาแห่งความรักร่วมกันทุกวัน หนังสือนิทานภาพถือเป็นบันไดขั้นแรกที่ปลูกฝังทั้งการรักการอ่านและสร้างพัฒนาการทางด้านสติปัญญาให้แก่เด็ก อีกทั้งผลการวิจัยพบว่าหลังจากที่ผู้ปกครองและเด็กได้เล่น “จ๊ะเอ๋” กันทุกวัน เด็กๆ มีความกล้าที่จะกอดพ่อแม่มากขึ้น เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งความรักที่สร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัว

รายงานวิจัย พฤติกรรมและสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนที่ปัญหาหนี้สิน

ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน โดยที่ในยุคแรกผู้ให้บริการเงินกู้ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มที่อยู่นอกระบบ จนเมื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีนโยบายให้บริการแก่ เกษตรกรรายย่อยและยากจนมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรมิได้หมดไป และยังมีแนวโน้มที่มีหนี้สินในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น ...รายงานฉบับนี้ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมทางด้านการเงิน การใช้จ่าย รายได้ของครัวเรือน การกู้ยืม และ สถานะทางการเงินของครัวเรือน และ เพื่อศึกษาความไม่เป็นธรรมของสัญญาสินเชื่อของธนาคารต่าง ๆ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันของพี่น้องเกษตรกรไทย

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง รูปแบบและกระบวนการปรับตัวของชาวนาสู่การผลิตอาหารที่ยั่งยืน

ปัญหาหนี้สิน เป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยมาเนิ่นนาน บั่นทอนคุณภาพและความมั่นคงของชาวเกษตรกรไทย  การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่นำร่อง อย่าง จ.ปทุมธานี จ.ชัยนาท และจ.เพชรบุรี จะทำให้การทำงานส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น รวมถึงช่วยปลดล็อคพันธนาการหรือกับดักหนี้สินที่พี่น้องเกษตรกรยังต้องเผชิญอยู่ด้วย

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง ธนาคารที่ดินชุมชน เพื่อการผลิตอาหารที่ยั่งยืน กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา และฉะเชิงเทรา

ปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลานาน หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากที่สุด  ก็คือ การถือครองทรัพย์สินที่ดิน ...การปฏิรูปที่ดินจะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดินมากขึ้น และทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม เนื่องจากจะมีการจัดสรรทรัพยากรใหม่ระหว่างผู้เป็นเจ้าของที่ดินและผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดิน มีการนำที่ดินที่ถูกทิ้งร้างมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน นอกจากนั้นการปฏิรูปที่ดินยังทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมมากขึ้น ลดการกระจุกตัวของการถือครอง ที่ดิน และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

ผลของการใช้หนังสือนิทาน จ๊ะเอ๋ (ฉบับยาวี-ไทย) ที่มีต่อพัฒนาการของบุตรก่อนวัยเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตามบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้ทำการวิจัยสำรวจผลของการใช้นิทานเรื่อง 'จ๊ะเอ๋' กับกลุ่มตัวอย่างจากโครงการแม่รุ่นใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยผลวิจัยพบว่าผลของนิทานทำให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น มีการเล่นจ๊ะเอ๋ การกอดและบอกรักเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเด็กๆ ในช่วงปฐมวัยก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านอารมณ์แจ่มใส มีความสุข มีสมาธิจ้องตาและมองหน้าคุณแม่ได้ดีมากย่ิงขึ้นอีกด้วย

รายงานการวิจัย โมเดลเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางปัญญา ศาสนาและจิตวิญญาณ และดัชนีชี้วัดสุขภาพ โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาด้านความคิด อารมณ์และสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน

รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี 

วิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม

งานวิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงสังคม ภายใต้ “โครงการผู้นำแห่งอนาคต” เพื่อศึกษาประสบการณ์ แนวคิด ความเชื่อ แรงบันดาลใจของกลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาครู ซึ่งเป็นกลุ่มที่มุ่งผลักดันให้เกิด “ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง” หรือครูยุคใหม่ที่มีสมรรถนะ มีความสามารถในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ๆ และเป็นกำลังขับเคลื่อนทางสังคมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนบนฐานสุขภาวะทางปัญญา เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะความพร้อมในการดำรงชีวิตให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสังคม

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

หนังสือสรุปผลงานวิจัย 3 เรื่อง เพื่อการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองเด็กและเยาวชนในสื่อยุคดิจิทัล ในรูปแบบที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย ประกอบไปด้วย 1. งานวิจัยประเด็นข้อเสนอนโยบายของหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมต่อประเด็นการแข่งขันอีสปอร์ตในประเทศไทย 2. งานวิจัยประเด็นการขับเคลื่อนการรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กเยาวชนในต่างประเทศและแนวทางสำหรับประเทศไทย และ 3. งานวิจัยประเด็นการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กผ่านสื่อเฟซบุ๊กของสำนักข่าวออนไลน์ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนตระหนักและรู้เท่าทันสื่อในโลกยุคดิจิทัลอย่างทันท่วงที

การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล สำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ และแนวทางสำหรับประเทศไทย

งานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ เพื่อใช้เสนอเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนไทย โดยมี 6 ประเทศที่เป็นแนวทางในการศึกษา ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา  สหภาพยุโรป ประเทศอินเดีย ประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี 5 ประเด็นที่ค้นพบและสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนในประเทศไทยได้

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.