Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ความเจ็บปวด" พบ 6 ข้อมูล

เยียวยาปมชีวิต เพื่ออิสรภาพภายใน

โรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ที่ปรากฏให้เห็นทางกายภาพ ที่จริงแล้ว บางสาเหตุของอาการมีที่มาจากปมที่ฝังลึกในจิตใจ และปมเหล่านี้มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่สร้างความกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง จนส่งผลให้ร่างกายสร้างปฏิกิริยาตอบโต้ หรือ เกราะป้องกันตัว เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับอดีต อาจจะปรากฏให้เห็นในรูปแบบความผิดปกติต่างๆ ทางร่างกาย หรือ รูปแบบนิสัยบางอย่าง แต่กลไกทางสมองของมนุษย์เองก็มีศักยภาพในการเยียวยารักษาตัวเองได้เช่นกัน เพราะกายกับจิตมีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว การเยียวยารักษาปมที่ฝังในจิตใจจึงต้องเริ่มจากการฝึกฝนให้ตัวเองกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ ละทิ้งความคิดที่สร้างอคติ ยอมรับตัวตนและการช่วยเหลือจากผู้อื่น เพื่อปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากความทุกข์และการใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมๆ 

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ตา สุรางคนา สุนทรพนาเวช

ตา-สุราคนา สุนทรพนาเวช อดีตรองนางสาวไทย และดารานักแสดงผู้มากฝีมือ  เคยผ่านช่วงเวลาความเป็นความตายด้วยการเป็นมะเร็งที่ท่อน้ำดี ความทุกข์ทรมานในครั้งนั้น จึงคิดว่าการเกิดทำใหเป็นทุกข์ แต่เมื่อได้รับโอกาสจึงตัดสินใจศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิสหธรรมมิกชน เพื่อศึกษาเรื่องการตื่นรู้ หรือ การกลับมาอยู่ภายในตนเอง กลับมาอยู่กับตนเองอย่างซื่อตรง

New Heart New World 3 : ดร.ณัชร สยามวาลา

ดร. ณัชร สยามวาลา นักเขียน กับความสุขของ “การตื่นรู้” สัญลักษณ์ของความทุกข์ ประสบการณ์เฉียดตายและจุดเปลี่ยนของชีวิตกับการฝึกฝนวิชาเจริญสติ ที่ทำให้ค้นพบความปีติที่แท้จริงจากการทำสมาธิ เกิดการเข้าใจโลก เข้าใจชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น เพราะสติช่วยให้เรารู้เท่าทันปัญหา สร้างเหตุแห่งความทุกข์ใหม่น้อยลงและรับมือกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติรู้เท่าทัน อีกทั้งทำให้ความทุกข์นั้นหายไปเร็วขึ้น "จริง ๆ ธรรมะอยู่ในชีวิตเราอยู่แล้ว เพียงแต่คนนั้นจะเห็นหรือเปล่า กายกับใจนี่ก็ธรรมะ ถ้าเราสังเกตดี ๆ มันสอนเราตลอด เมื่อกี้ หิว เดี๋ยวง่วง เดี๋ยวเบื่อ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวอยากทำโน่น เดี๋ยวไม่อยากทำแล้ว นี่มันแสดงธรรมะตลอดเวลาอยู่แล้ว ทำให้เห็นว่าใจไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเป็นอย่างนั้นตลอดกาลชั่วกัลปาวสาน ...มันเปลี่ยนตลอดเวลา" ดร.ณัชร สยามวาลา

เพราะเจ็บไม่ได้แปลว่าแพ้ เข้าใจการจัดการกับความเจ็บปวดทางร่างกาย เมื่อเวลาสุดท้ายของชีวิตใกล้มาถึง

Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson    หลายคนอาจเคยคิดว่า การแสดงความเจ็บปวดทางร่างกายหมายถึงความพ่ายแพ้ อ่อนแอ ไม่อดกลั้น การที่เราสกัดกั้นความเจ็บปวดไว้จะยิ่งทำให้ทรุดหนักและรักษาได้ยากกว่าเดิม เพราะฉะนั้น จึงควรสังเกตตัวเองอย่างถี่ถ้วน ไม่โกหกตัวเองหรือคนใกล้ชิดว่าสบายดีแล้วคิดว่าอาการจะหายเอง เพื่อที่แพทย์และญาติจะได้หาวิธีการจัดการกับความเจ็บปวด (Pain Management) ได้อย่างทันท่วงที  

The Last Life Lesson ความเจ็บปวดและความทรมานครั้งสุดท้าย

จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘ความเจ็บปวดและความทรมานครั้งสุดท้าย’ โดย นอ.นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์เรียนรู้วิธีการจัดการความเจ็บปวดอย่างถูกวิธี ลดความเจ็บปวดด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งการให้มอร์ฟีน การหยุดยา อดน้ำอดอาหาร ที่ช่วยในการบรรเทาความปวดที่เกิดขึ้น    

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.