Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ครอบครัว" พบ 126 ข้อมูล

สุขภาพคนไทย 2565

รายงานสุขภาพคนไทยปี 2565 ในวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพกาย สุขภาพจิต การศึกษา ชีวิตการทำงาน เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำในสังคมชุมชนและครอบครัวในแง่มุมต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยในระยะสั้นและระยะยาว นอกเหนือจากรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 แล้วก็ยังมีอีก 10 สถานการณ์เด่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตสุขภาพกายของคนไทยที่เป็นทั้งเรื่องใหม่และที่ยังรอการแก้ไข เช่น การปลดล็อกกัญชา กัญชงและพืชกระท่อม การโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง โรงงานหมิงตี้ระเบิดบทเรียนภัยพิบัติจากโรงงานสารเคมี ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและการปรับตัว อนาคตเกษตรไทยกับเกษตรอัจฉริยะ ไทยกับ RECP และ CPTPP ข้อดีและสิ่งที่ต้องระวังและสุดท้ายเรื่องการเมืองบนท้องถนนกับทางออก ซึ่งรายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นต่อไป

การดูแลผู้สูงวัยช่วงโควิด

อินโฟกราฟิก เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยช่วงโควิด19 กับหลายแนวทางง่ายๆ อยู่บ้านอย่างไรให้มีคุณภาพ เช่น ชวนกันออกกำลังกายเบาๆ ภายในบริเวณบ้าน เดินแกว่งแขน ปลูกต้นไม้ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองและร่างกาย เลือกทานอาหารที่ปรุงสุก เน้นอาหารจำพวกโปรตีนและผักผลไม้หลากสีเพื่อสร้างภูมิคุ้นกัน ที่สำคัญคือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่กังวลไปกับข่าวสารมากจนเกินไปและการ์ดอย่าตก ควรสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างจากคนที่มาเยี่ยมทุกครั้งและควรหมั่นล้างมือ

ผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพ จ๊ะเอ๋ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้

“จ๊ะเอ๋” คลิปวิดีโอผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่หยิบนิทานภาพมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัวและสร้างวัฒนธรรมการกอดให้เกิดขึ้นในครอบครัวระหว่างพ่อแม่และลูกให้มีความใกล้ชิดและช่วงเวลาแห่งความรักร่วมกันทุกวัน หนังสือนิทานภาพถือเป็นบันไดขั้นแรกที่ปลูกฝังทั้งการรักการอ่านและสร้างพัฒนาการทางด้านสติปัญญาให้แก่เด็ก อีกทั้งผลการวิจัยพบว่าหลังจากที่ผู้ปกครองและเด็กได้เล่น “จ๊ะเอ๋” กันทุกวัน เด็กๆ มีความกล้าที่จะกอดพ่อแม่มากขึ้น เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งความรักที่สร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัว

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก

ทำงานที่บ้านอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูแลลูกน้อยในบ้านด้วย ทำอย่างไรจะดูแลใจกันได้ทั้งครอบครัว? ท่ามกลางสถานการณ์ new normal สิ่งใหม่ที่เราต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้คือ work from home และการเรียนจากบ้านของลูกน้อยในบ้าน ทำให้เราต้องมีบทบาทพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เป็นแม่-หัวหน้างาน เป็นพ่อ-เพื่อนในงาน เป็นลูก-นักเรียนออนไลน์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คงส่งผลกับภูมิคุ้มกันทางใจของเราไม่น้อย จนอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งกันเองในฐานะที่เป็นอยู่หรือกับสมาชิกในบ้าน ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก” เพื่อให้มีแนวทางที่จะสร้างการอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว พร้อมกับเติมความเข้าใจและรู้จักคนในครอบครัวให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยคู่มือฉบับนี้จะพาเราไปรู้จัก Family O’clock ว่าเราจะจัดการเวลาของทั้งครอบครัวอย่างไร และนำเสนอกิจกรรมที่ครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันและสร้างให้รู้จักกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นอย่าง Family Art Talk เป็นต้น

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกันในสถานการณ์โควิด-19

ต่อสู่กับโควิด-19 อยู่ด้านหน้าแทบขาดใจ อยากกอดครอบครัวแค่ไหนก็ทำไม่ได้ จะบอกรักพวกเขาอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่หากมันกลับมาอีกครั้งเราในฐานะผู้ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าการต่อสู้กับไวรัสหรือเรามีคนในครอบครัวที่เป็นคนหน้าด่านต่อสู้กับโรคแล้วละก็ เราจะดูแลความรักกันอย่างไรดี ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกัน” สำหรับผู้คนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคโควิด-19 หรือผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกับคนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรค ให้สามารถดูแลความรักในชีวิตของเราและส่งกำลังใจดูแลกันและกันได้ไม่ให้ความรักล้มป่วยไปเสียก่อน โดยคู่มือฉบับนี้จะนำเสนอ “ภาษาชูกำลัง (ใจ)” ที่จะทำให้ใจใกล้กันได้แม้กายต้องห่าง อันนำไปสู่วิธีบอกรักแบบพอดีๆ

สนทนาประสาครอบครัว เริ่มคุยอย่างไรให้ได้ดูแลกัน

โควิด-19 ทำให้เราเห็นชัดว่าบ้านและครอบครัวเป็นที่พักพิงใจที่มั่นคงที่สุด ในวันหยุดที่เราอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน จะดีแค่ไหนที่เราได้ใช้ช่วงเวลานี้

ผลของการใช้หนังสือนิทาน จ๊ะเอ๋ (ฉบับยาวี-ไทย) ที่มีต่อพัฒนาการของบุตรก่อนวัยเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตามบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้ทำการวิจัยสำรวจผลของการใช้นิทานเรื่อง 'จ๊ะเอ๋' กับกลุ่มตัวอย่างจากโครงการแม่รุ่นใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยผลวิจัยพบว่าผลของนิทานทำให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น มีการเล่นจ๊ะเอ๋ การกอดและบอกรักเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเด็กๆ ในช่วงปฐมวัยก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านอารมณ์แจ่มใส มีความสุข มีสมาธิจ้องตาและมองหน้าคุณแม่ได้ดีมากย่ิงขึ้นอีกด้วย

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ภัทรมน วิเศษลีลา

คุณภัทรมน วิเศษลีลา เจ้าของบ้านไม้หอม พระราม 2 บ้านหลังงามท่ามกลางธรรมชาติ ที่เปิดบ้านให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ “ตัวเอง” ได้ร่วมแบ่งปันเรื่อราวเส้นทางสู่การตื่นรู้ “ความรู้สึกตัว” เท่านั้น ที่เป็นมิตรแท้ ที่ช่วยให้ก้าวข้ามความยากในชีวิตไปได้ เพราะเมื่อตื่นรู้ตัว เกิดการยอมรับ ความเข้าใจ ความคิดจะไม่พาไปฟุ้ง ปรุง หรือ แต่ง ไม่ติดอยู่กับอดีต ไม่กังวลกับอนาคต เพราะความสุขเกิดขึ้น ณ ที่ปัจจุบันขณะ

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร

เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร ผู้บริหารโค้ชชิ่ง (จิตตปัญญาศึกษา) ครั้งหนึ่งในอดีตเคยคิดสงสัยในชีวิตว่าเราเกิดมาทำไม  จนกระทั่งวันหนึ่งได้มารับหน้าที่แม่  จากที่เคยคิดว่าชีวิตประสบความสำเร็จสามารถโค้ชผู้อื่นได้  แต่กับตนเองในความเป็นแม่ ได้แต่สงสัยว่า “ฉันจะเป็นแม่ที่ดีได้อย่างไร?” มันไม่มีกฎตายตัวเลย จึงเริ่มหันมาอยู่กับตัวเอง ฝึกฝนการภาวนา เปิดตาภายใน จึงพบว่าเราไม่รู้ แล้วทำอย่างไรจึงรู้ นั่นคือ การตื่นรู้คือการกลับมาสัมผัสกับธรรมชาติของใจเราอย่างซื่อตรง  ยอมรับว่า “ลูกไม่ใช่ของเรา” จากนั้นก็ต้อนรับกับความจริงว่า “แม่อาจมีอิทธิพลในการเติบโตของลูกทั้งกายและใจ แต่ก็ไม่มีอำนาจใดที่จะเปลี่ยนแปลงความเป็นปัจเจกของลูกได้ ...การเป็นแม่จึงค้นพบความตื่นรู้ในใจตน...  

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ชรรินชร เสถียร

ริน ผู้ช่วยอาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษาและเจ้าของหนังสือที่มีชื่อว่า ลูก แม่ ฉันและการเดินทางสู่อิสรภาพของใจ กับบทสัมภาษณ์ประสบการณ์บนเส้นทางแห่งการสร้างการเติบโตภายในและการค้นพบความหมายของการตื่นรู้ ที่ช่วยสร้างการยอมรับในตัวตน ไม่ยึดติด ไม่หลงอยู่กับความคิดและความเชื่อเดิมของเรา เพื่อให้ตระหนักถึงที่มาแห่งความทุกข์และใช้ชีวิตด้วยความเข้าใจในความจริงของโลกด้วยใจที่เปิดกว้าง

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - รัสรินทร์ เรืองบูรณะรัตน์

รัสรินทร์ เรืองบูรณะรัตน์ หรือ คุณติ๊ก เจ้าของเพจ “ลูกในฝันคนอย่างฉันก็สร้างได้” เป็นการแบ่งปันการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีและมีความสุข  แต่ครั้งหนึ่งคุณติ๊กเคยทุกข์แสนสาหัส ถึงขั้นอยากจะฆ่าตัวตาย  นับเป็นโอกาสดีที่เกิดความคิดมาเปลี่ยนแปลงตนเอง เริ่มศึกษาธรรมะและฝึกสมาธิ จึงทำให้มีสติในการตื่นรู้กับชีวิตมากขึ้น ว่าความทุกข์ทั้งหมดในชีวิตมาจากรากคือความกลัว  ซึ่งเกิดจากความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ  ตั้งแต่นั้นมาคุณติ๊กก็มุ่งมาในเส้นทางศึกษาธรรมะ  เพื่อการตื่นรู้เข้าใจตนเองมากขึ้น

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - อังคณา มาศรังสรรค์

เส้นทางสู่การตื่นรู้ ‘ปล่อยตัวเองออกจากสนามรบ’ โดย คุณอังคณา มาศรังสรรค์ อดีตวิศวกร สู่ผู้บริหารโรงเรียนสอนพิเศษ กับวิถีทางเลือกเพื่อจัดการปมปัญหา ‘Midlife Crisis’ การตั้งคำถามต่อชีวิตและเส้นทางสู่การเรียนรู้โลกภายในตัวตน ที่ช่วยสร้างการตื่นรู้ การมองเห็นและเข้าใจปมปัญหาภายใน อีกทั้งได้สร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจากการที่ได้ทำความรู้จักตัวตน เกิดการ ’คลี่คลายอดีต’ ‘การใคร่ครวญ’ ‘การรู้ตัว’ เกิดความรัก ความเมตตาและความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบกายที่ดีขึ้น

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.