สื่อศิลป์ SE - แววดาว ศิริสุข กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม (Social Enterprise) สืบสานภูมิปัญญาล้านนา
คุณแววดาว ศิริสุข ได้เล่าถึงความสำเร็จของการขับเคลื่อน “โครงการสืบสานล้านนาสร้างสรรค์ ต่อยอดภูมิปัญญา นำพาวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน” ที่เกิดจากถ่ายทอดภูมิรู้จากผู้อาวุโสของชุมชนสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อส่งต่อไปยังเด็กเยาวชนที่จะเติบโตมาเป็นพลังสำคัญในการสร้าง พื้นที่ดี-ภูมิดี-สื่อดี โดยที่ผ่านมามีผลงานน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ กิจกรรม “กินข้าวซอย กอยน้ำปิง อิงประวัติศาสตร์” ที่นำแนวคิดชุมชนพึ่งพาตนเอง มาออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม จนเป็นที่นิยมและรู้จักของนักท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้และความยั่งยืนให้กับท้องถิ่น และอีกหนึ่งกิจกรรม คือ “ฟ้อนล้านนาเพื่อการบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ” เป็นการผสามผสานระหว่างความบันเทิงกับการออกกำลังกาย ช่วยสานสัมพันธ์ของคนต่างวัยให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/im2Aoy0PgO/
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 51 เดือนมีนาคม - เดือนเมษายน 2563
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับ Social Distancing ต่อเนื่องจาก Virtual Run ในโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story ‘จะปล่อย’ หรือ ‘จะเปลี่ยน’ กับกิจกรรม ‘วิ่ง’ ในรูปแบบ Virtual Run ซึ่งเป็นการวิ่งเสมือนร่วมอยู่ในงานจริง โดยฉบับนี้จะมุ่งเน้นให้ความรู้ในเรื่องของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ไวรัสโคโรน่า กับวิธีป้องกัน การรักษาระยะห่างทางสังคมและการสังเกตอาการของโรค รวมถึงการออกกำลังกาย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ภายในบ้าน
อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้านต้านโควิด 2 ภาษา (ไทย-ญี่ปุ่น)
นิทาน 2 ภาษา ไทย-ญี่ปุ่น เรื่อง อีเล้งโค้งอยู่บ้านต้านโควิด ที่มาพร้อมความสนุกและอารมณ์ขันที่สอดแทรกความรู้ให้กับน้อง ๆ เยาวชนและทุกคนในครอบครัวให้หันมาทำความรู้จักกับโรคร้ายโควิด-19 และวิธีการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่ น้อง ๆ เยาวชน นอกจากจะได้รับความสนุกสนานและความรู้ไปกับการอ่านนิทานแล้ว ยังเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้แก่เยาวชนในการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยจากโรคร้ายโควิด-19 อีกด้วย สามารถดาวน์โหลดสื่อเพื่ออ่านได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=531
check ก่อน Share โดย สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การโพสต์ภาพในวัยเด็กทาง Social Media คุณว่าเหมาะสมหรือไม่ ? พ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้ใหญ่ควรคิดก่อนโพสต์และแชร์ เพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลซึ่งกันและกัน
INFLUFAILURE โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
การใช้สื่อ social media อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ เกี่ยวกับการเลือกรับสื่อภายใน social media อย่างมีวิจารณญาณของวัยรุ่น(นักเรียน-นักศึกษา) ในการเสพสื่อจากสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน INFLUFAILURE คือเป็นผู้นำทางความคิดที่ล้มเหลว
Young Share โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
"จดหมายลูกโซ่ ” Support : จดหมายลูกโซ่มีลักษณะการส่งต่อข้อมูลกันเป็นทอดๆ โดยผู้ที่ได้รับข้อมูลเหล่านั้นจะต้องมีวิจารณญาณในการตัดสินใจว่าข้อมูลที่ได้รับมีข้อเท็จจริงอย่างไร เช่นเดียวกับปัจจุบันที่มีการแชร์ข้อมูลใน Social network มากมายโดยมีแนวโน้มการแชร์ข้อมูลเท็จมากขึ้น เราจึงอยากให้คนรุ่นใหม่มีวิจารณญาณในการหาข้อมูลที่ถูกต้องก่อนที่จะแชร์ข้อมูลเหล่านั้นออกไป
Young Share โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
"จดหมายลูกโซ่" Support : จดหมายลูกโซ่มีลักษณะการส่งต่อข้อมูลกันเป็นทอดๆ โดยผู้ที่ได้รับข้อมูลเหล่านั้นจะต้องมีวิจารณญาณในการตัดสินใจว่าข้อมูลที่ได้รับมีข้อเท็จจริงอย่างไร เช่นเดียวกับปัจจุบันที่มีการแชร์ข้อมูลใน Social network มากมายโดยมีแนวโน้มการแชร์ข้อมูลเท็จมากขึ้น เราจึงอยากให้คนรุ่นใหม่มีวิจารณญาณในการหาข้อมูลที่ถูกต้องก่อนที่จะแชร์ข้อมูลเหล่านั้นออกไป
Mongi Day Challenge แคมเปญท้าขยับ กับมิชชันเพื่อสุขภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร
จากพฤติกรรมของนักเรียนที่เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันใช้ไปกับเทคโนโลยี หรือสื่อ Social ต่างๆ จนเกิดเป็นพฤติกรรมเฉื่อยนิ่ง ไม่ค่อยออกไปทำกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกาย จึงคิดออกมาเป็นเกมบน Mobile website ที่ทำให้เด็กได้ทำกิจกรรมขยับร่างกาย หรือออกไปทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน เพื่อแลกกับของรางวัล
อินโฟกราฟิก การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560
ผลสรุปรายงานการศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่นปี 2560 แบบเข้าใจง่ายๆ ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิก ชี้ว่าการรังแกกันบนโลกออนไลน์ ทั้งการจับกลุ่มนินทา การส่งรูปภาพไปก่อกวน การคุกคามทางเพศ การแอบอ้างสวมรอย การลบหรือบล็อคผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล พบเยาวชนไทยอายุ 13-18 ปี เกิน 2 ใน 3 เคยเป็นผู้กระทำและผู้ถูกเคย ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้เครียด กังวล หวาดกลัว และอับอาย โดยทางแก้ไขจำเป็นต้องอาศัยทั้งตัวเยาวชน ผู้ปกครอง พ่อแม่ ค่อยเป็นหูเป็นตา สอดส่องให้ใช้งานสื่อโซเซียลอย่างสร้างสรรค์