การดูแลผู้สูงวัยช่วงโควิด
อินโฟกราฟิก เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยช่วงโควิด19 กับหลายแนวทางง่ายๆ อยู่บ้านอย่างไรให้มีคุณภาพ เช่น ชวนกันออกกำลังกายเบาๆ ภายในบริเวณบ้าน เดินแกว่งแขน ปลูกต้นไม้ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองและร่างกาย เลือกทานอาหารที่ปรุงสุก เน้นอาหารจำพวกโปรตีนและผักผลไม้หลากสีเพื่อสร้างภูมิคุ้นกัน ที่สำคัญคือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่กังวลไปกับข่าวสารมากจนเกินไปและการ์ดอย่าตก ควรสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างจากคนที่มาเยี่ยมทุกครั้งและควรหมั่นล้างมือ
รายงานสุขภาพคนไทย 2564
รายงานสุขภาพคนไทยปี 2564 ที่นำเสนอ 10 หัวข้อสถานการณ์เด่นแห่งปี 2564 ที่เกิดขึ้นในสังคมและเป็นตัวชี้วัด “สุขภาพพื้นที่” ที่เป็นตัวสะท้อนความหลากหลายในประเด็นสุขภาพของคนไทย โดยรายงานฉบับนี้นำเสนอตั้งแต่เรื่อง สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม เศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ ปัญหาเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปจนถึงสถานการณ์ Covid-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก ที่เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกัน ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสถานการณ์การระบาดของโรค การควบคุมและป้องกัน การต่อสู้กับการระบาดของหลายๆ ประเทศ รวมทั้งกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงประเด็นเรื่องการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคโควิด -19
การปฎิบัตตัวของกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันโควิด
อินโฟกราฟิกแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด19 เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงผู้สูงอายุ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนแออัด สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากต้องออกนอกบ้านและหมั่นล้างมือ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพตนเองและทำความสะอาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้เป็นประจำร่วมกันในบ้าน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิตด้วยแอลกอฮอล์
วิธีการกักตัวผู้ป่วยโควิด
เมื่อต้องกักตัว 14 วัน อินโฟกราฟิก วิธีการกักตัวผู้ป่วยโควิดและผู้ที่ต้องเฝ้าระวังอาการ กับ 6 ขั้นตอนการรับมือ ตั้งแต่วิธีการเตรียมที่พักและอุปกรณ์ที่จำเป็น การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยทั้งกรณีที่อยู่คนเดียวและอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งควรงดเว้นกิจกรรมนอกบ้านต่างๆ ที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่น ควรหยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หมั่นเฝ้าสังเกตุอาการตัวเอง หากพบว่ามีไข้ร่วมกับอาการไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ควรแจ้งให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อทราบเพื่อประสานการรับตัวไปรักษาต่อไป
ใช้ชีวิตวิถีใหม่ ไม่ต้องระแวงขนาดนี้ : Stay home Stay safe Covid-19
ใช้ชีวิตวิถีใหม่ ไม่ต้องระแวงขนาดนี้ปะ?... การใช้ชีวิตแบบ new normal สไตล์คนรุ่นใหม่ : Stay home Stay safe Covid-19 สไตล์คนรุ่นใหม่ ก็ใช้ชีวิตแบบไม่ประมาทได้ แค่ ใส่หน้ากาก และ พกเจลแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกครั้ง แค่นี้ก็สามารถใช้ชีวิตแบบวิถีใหม่ได้แล้ว ลองทำดู
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก
ทำงานที่บ้านอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูแลลูกน้อยในบ้านด้วย ทำอย่างไรจะดูแลใจกันได้ทั้งครอบครัว? ท่ามกลางสถานการณ์ new normal สิ่งใหม่ที่เราต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้คือ work from home และการเรียนจากบ้านของลูกน้อยในบ้าน ทำให้เราต้องมีบทบาทพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เป็นแม่-หัวหน้างาน เป็นพ่อ-เพื่อนในงาน เป็นลูก-นักเรียนออนไลน์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คงส่งผลกับภูมิคุ้มกันทางใจของเราไม่น้อย จนอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งกันเองในฐานะที่เป็นอยู่หรือกับสมาชิกในบ้าน ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก” เพื่อให้มีแนวทางที่จะสร้างการอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว พร้อมกับเติมความเข้าใจและรู้จักคนในครอบครัวให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยคู่มือฉบับนี้จะพาเราไปรู้จัก Family O’clock ว่าเราจะจัดการเวลาของทั้งครอบครัวอย่างไร และนำเสนอกิจกรรมที่ครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันและสร้างให้รู้จักกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นอย่าง Family Art Talk เป็นต้น
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รักที่ต้องอยู่ด้วยกันในสถานการณ์โควิด-19
โควิดทำให้เราพูดกันไม่รู้เรื่อง โกรธกัน ทะเลาะกันง่ายหรือไม่ ไม่อยากให้ความสัมพันธ์ต้องพังลง ทำอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ของเรากับคนรักตอนนี้เป็นอย่างไร หลังที่ต้องอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลาส่งผลให้เราทะเลาะกันเพิ่มหรือไม่ หรือห่างเหินกันมากกว่าเดิมหรือเปล่า? ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รัก” เพื่อแนะนำแนวทางในการดูแลใจ เพิ่มความเข้าใจ เชื่อมสัมพันธ์และสร้างภูมิคุ้มใจเพิ่มให้กันและกัน โดยเนื้อหาในคู่มือฉบับนี้ว่าด้วย เราจะดูแลใจอย่างไรเมื่อความโกรธปรากฏขึ้น จะสื่อสารกับคนรักให้เข้าใจกันมากขึ้นได้อย่างไร และเราจะได้ย้อนเวลาหาความรัก เพื่อดูแลใจและความรักของคนรักไปได้พร้อมๆ กัน