ปัญญาความสุข ในโลกอันผันผวน
ท่ามกลางโลกอันผันผวน มีขึ้นมีลง มีเรื่องวุ่นวายที่เข้ามากระทบจิตใจของเราตลอดเวลา ทุกคนต่างดิ้นรนไขว่คว้าหาความสุขมาเติมเต็มช่องว่างภายใน ซึ่งความสุขที่เราหามาได้นั้นก็ล้วนแต่เป็นความสุขที่เบี่ยงเบนความทุกข์ได้เพียงแค่ชั่วครู่เท่านั้น ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะมีความรู้สึก “เป็นสุข” ได้เพียงแค่ครู่เดียว ทั้งๆ ที่เรากลับใช้เวลาวิ่งตามความสุขเหล่านี้กันแทบจะทั้งชีวิต การสร้างสุขภาวะทางปัญญาเพื่อให้เกิดการตื่นรู้และรู้เท่าทันตนเองและความไม่แน่นอนของโลก จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยเรารับมือกับโลกยุคนี้ หนังสือเรื่อง “ปัญญาความสุข ในโลกอันผันผวน” บทเรียนแห่งความสำเร็จจากภารกิจสร้างสังคมสุขภาวะด้วยการขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางปัญญา หนังสือเล่มนี้จะพาเราไปค้นพบความหมายของสุขภาวะทางปัญญาและนอกจากจะทำให้เราเข้าใจว่าทำไมเราถึงต้องการสุขภาวะทางปัญญาแล้ว ยังทำให้เรารู้อีกว่าที่จริงแล้วความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ใกล้กว่าที่เราคิด
วิชาชีวิต บทที่ 12 เทคนิคการดูแลผู้ป่วย -ดร.ปานตา อภิรักษ์นภานนท์
ผู้ป่วยเรื้อรังที่ติดเตียงหรือระยะท้ายต้องการการดูแลที่ละเอียดอ่อนในมิติของกายและใจ ในแบบเฉพาะ เกร็ดความรู้ในคลิปนี้จะช่วยเป็นแนวทางและเสริมความเข้าใจให้กับผู้ดูแลและผู้ต้องการเตรียมตัวยามที่ตนเองเจ็บป่วย เช่น ไม่อยากอาหาร การทำ Ice Saladsเมื่อกระหายน้ำ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ถ่ายเหลว การทำความสะอาดดวงตา จมูก ปาก หู การทาแป้ง การทาโลชั่น การดูแลเกิดแผลกดทับ การหายใจอ้าปาก หายใจลำบาก การนอนไม่หลับ อาการหงุดหงิดสับสน ช่วงเวลาการบอกลา
วิชาชีวิต บทที่ 5 มาตรา12 VS การุณยฆาต โดย ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส
การวางแผนชีวิตล่วงหน้าในวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ คนที่ไม่สบายแต่ยังมีสติสัมปชัญญะ เขาสามารถตัดสินใจได้ว่าจะรักษาอย่างไร แต่หากคนที่ไม่สบายขาดสติ หรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ส่วนใหญ่ญาติหรือผู้ดูแลก็อยากจะยื้อชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แต่กลับเป็นการเพิ่มความทุกข์ทรมานให้ผู้ที่จากไป “พรบ. สุขภาพแห่งชาติ มาตราที่ 12” มีสาระสำคัญให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนชีวิตในช่วงสุดท้ายได้ ว่าอยากตะจากไปแบบไหน ด้วยการทำ “เจตจำนง หรือ Living Will” ว่าถ้าวันหนึ่งต้องจากไป ขอจากไปตามธรรมชาติ จากไปอย่างสงบ
อาหารการกิน
นิตยสารสารคดีฉบับพิเศษ รวบรวมผลงานสารคดีจำนวน 12 เรื่อง และ สารคดีภาพอีก 2 เรื่อง ภายใต้ประเด็น 'อาหารการกิน จากปากท้องถึงการปกป้องโลก' อันเป็นผลงานของน้อง ๆ เยาวชนจากค่ายสารคดีครั้งที่ 12 สะท้อนมุมมองแนวคิดอาหารที่มากกว่าการกินเพื่ออิ่มท้อง แต่ยังหมายถึงภาพสะท้อนของวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ไปจนถึงกระทั่งแนวคิดของสังคมในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.12 (ตอน เจ้าวัวเห็นแก่ตัว และ ตอน มือใหญ่ หูกาง ก้นแหลม ขี้มูกเยอะ)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.12 นำเสนอนิทานทุ่งซ่าตอนแรกเรื่อง เจ้าวัวเห็นแก่ตัว นิทานจาก จ.เชียงใหม่ เล่าถึงวัวและควายซึ่งเป็นเพื่อนเดินทางของพ่อค้าเร่ที่หาบสิ่งของมากมายเพื่อเดินทางเข้าเมือง แต่ด้วยความเห็นแก่ตัวของวัวที่ต้องการสบาย จึงออกอุบายแกล้งทำขาเจ็บ จนพ่อค้าต้องแบ่งของทั้งหมดมาให้ควายแบกแทน แต่สุดท้ายควายแบกไม่ไหวจึงสิ้นใจตาย สุดท้ายวัวจึงต้องรับภาระทั้งหมดของควายไว้เพียงผู้เดียว ต่อด้วยนิทานทุ่งซ่าเรื่องที่สอง ตอน มือใหญ่ หูกาง ก้นแหลม ขี้มูกเยอะ เป็นนิทานจากภาคใต้ เล่าถึงสี่เกลอผู้มีลักษณะเด่น คนหนึ่งมือใหญ่ คนหนึ่งหูกาง และอีกสองคนก็มีก้นแหลมและขี้มูกเยอะ ความไม่เหมือนคนอื่นทำให้รู้สึกอับอายไม่มั่นใจ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ผจญภัยกับพายุ แต่ทั้งสี่ก็รอดชีวิตกันมาได้ กลายเป็นเพื่อนที่ดีร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันเสมอมา ท้ายรายการ ชวนเด็ก ๆ มาทำเบ็ดตกปลาแม่เหล็ก เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กและประสาทสัมผัสด้วยการเล่นอย่างสร้างสรรค์
Pocket English ตอนที่ 12 บนถนนมีอะไรบ้าง
ภาษาอังกฤษมีอยู่รอบตัวในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องของการบอกเส้นทางการเดินทาง เป็นเรื่องที่เรามักจะได้ใช้บ่อยที่สุด ตอนนี้พี่หลุยส์กับพี่ลูกเจี๊ยบเลยจะพาน้อง ๆ มาเรียนรู้คำศัพท์และสำนวนภาษาอังกฤษของการบอกเส้นทางบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ทางแยก วงเวียน รู้แล้วจะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันกันได้อย่างถูกต้อง
12
12 เป็นผลงานอินโฟกราฟิกคลิกในโครงการอย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา นำเสนอโดยใช้เลข 12 เป็นตัวเชื่อมโยงให้เห็นผลกระทบของการดื่มเหล้าในเด็กเยาวชน ตั้งแต่อายุในการดื่มเหล้า ระยะเวลาในการดื่มเหล้า 12 ปีกับโอกาสต่าง ๆ ที่จะสูญเสียไป รวมไปถึง 12 โรคร้ายแรงและปิดท้ายด้วย 12 วิธีที่จะทำให้เยาวชนห่างไกลจากเหล้าได้สำเร็จ
ใจดีสู้สื่อ ภาพลักษณ์สำคัญไฉน 22Dec12
รายการใจดีสู้สื่อ ตอน ภาพลักษณ์สำคัญไฉน พาไปทำความรู้จักกับคำว่าภาพลักษณ์ การสร้างภาพลักษณ์ พร้อมกับตั้งคำถามให้ได้ฉุกคิดกันว่าแท้จริงแล้วภาพลักษณ์ที่เราเห็น ทั้งดารา นักแสดง นักการเมือง รวมถึงองค์กรต่าง ๆ แสดงออกมานั้น แท้จริงแล้วมีความเป็นจริงหรือไม่ เราจะเชื่อถือได้มากแค่ไหน
ใจดีสู้สื่อ สื่อวิทยุ 29Dec12
ใจดีสู้สื่อ ตอน สื่อวิทยุ พาไปรู้จัก เข้าใจ และเท่าทันสื่อวิทยุในทุกแง่มุม ตั้งแต่อุปกรณ์การฟังวิทยุที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมของผู้ฟังวิทยุ ผู้ผลิตสื่อวิทยุ และสำคัญที่สุดคือผู้สนับสนุนและการตลาดในสื่อวิทยุ ที่อาจจะล่อลวงให้เราหลงเชื่อและเสียเงินไปโดยไม่ทันรู้ตัว
ใจดีสู้สื่อ ข่าว เท็จจริงแค่ไหน 10Nov12
ใจดีสู้สื่อ ตอน ข่าว เท็จจริงแค่ไหน ตีแผ่สื่อข่าวยุคใหม่ที่ปัจจุบันมีรูปแบบวิธีนำเสนอหลากหลาย ผลประโยชน์ทับซ้อน บางครั้งก็อาศัยรูปแบบข่าวมานำเสนอเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้รับสารต้องฝึกตั้งคำถามว่าข่าวที่กำลังรับอยู่นั้นแท้จริงแล้วน่าเชื่อถือแค่ไหน พร้อมรับฟังเคล็ดลับข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารว่าจะรับฟังรับชมข่าวอย่างไร ไม่ให้หลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง