trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ไทย" พบ 530 ข้อมูล

ความสุขซุกซ่อน อยู่ที่ไหน

ความสุขที่เราตามหา...อยู่ที่ไหน? ชีวิตของเราเต็มไปด้วยบทสนทนาเกี่ยวกับ คนอื่นและโลกภายนอก จะดีแค่ไหน ถ้าได้พูดคุยกับตัวเองอย่างมีคุณภาพ หรือได้คุยอย่างใส่ใจ ได้ฟังแบบไม่ตัดสิน ได้แลกเปลี่ยนอย่างเปิดใจ กับคนที่รัก คนใกล้ตัว เราอาจพบว่า คนที่เรารักและตัวเรา อาจจะได้เห็น ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น โครงการสำรวจความสุขที่ซุกซ่อนภายในใจ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 8 ช่องทางในการเข้าถึงความสุข รวมถึงการใช้ เกมการ์ด Happiness Explorer 9 คน การ์ด 8 หมวด 64 คำถามและการใช้กระบวนการรับฟังอย่างลึกซึ้ง หรือ Deep listening ฟังอย่างไม่ตัดสินเป็นเครื่องมือในการเล่นเกม ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องมือในการช่วยสะท้อนความคิดและแสดงตัวตนที่แท้ของเราต่อคนรอบข้าง อีกทั้งเป็นการช่วยให้เรากลับมามองตัวตนที่แท้จริงของเราและสร้างการตระหนักรู้เท่าทันตนเอง ในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ

ทำไมยังทุกข์ใจกับเรื่องเดิมๆ

ทำไมบางครั้งเรายังทุกข์ใจกับเรื่องเดิม ๆ สื่อคลิปวิดีโอชิ้นนี้ จะแนะนำในเรื่องการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะแค่ “รู้” อย่างเดียวคงไม่พอ เราต้องจัดระเบียบตัวเราเองใหม่และลงมือทำ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เราต้องเข้าใจและเชื่อมั่นในตนเอง เลือกวิธีที่เหมาะสมและทำอย่างสม่ำเสมอ โดยทั้งหมดนี้เริ่มจากสิ่งที่เรียกว่าการมีสติ มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้เราสำรวจตัวเองและได้ฝึกฝนสติให้การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเราเป็นไปได้จริง เมื่อเราเริ่มปฏิบัติเราจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงเริ่มได้ที่ตัวเรา

อยู่กับอารมณ์

วิดีโอคลิปที่แนะนำเรื่องการรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเราและทำความเข้าใจยอมรับ เพราะในวันแต่ละวันเราต้องเผชิญกับหลายสถานะการณ์ที่มากระทบจิตใจของเรา ทั้งสุข เศร้า ผิดหวัง โกรธ ลังเล เราไม่จำเป็นต้องปิดกั้นอารมณ์ แต่เราจำเป็นต้องเข้าใจและอยู่กับมันให้ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต ที่จะทำให้เราเติบโต หลายความรู้สึกจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของชีวิตทั้งตัวเราและผู้อื่นมากขึ้น

คุณเคย Bully คนเหล่านี้หรือเปล่า

เพราะการมองใครแค่เปลือก คงไม่ได้ทำให้เรารู้จักเขาจริงๆ หลายครั้งที่เรามักชอบตัดสินคนจากการสบตาแค่ไม่กี่วินาที คงจะดีถ้าคนในสังคมจะได้รู้จักและเข้าใจกันที่ข้างในจริงๆ  วันนี้เราเลยพาคนที่มักจะถูกสังคมตัดสินอย่างเช่น เด็กช่างกล ผู้หญิงกลางคืน เพศที่สาม คนสักเต็มตัว ฯลฯ มาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคม โดยที่พวกเขา ต่างก็ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อพวกเขา ได้เปิดเผยตัวเองให้ทุกคนได้เห็น...  รู้สึกบ้างไหมว่า เมื่อเราเติบโตขึ้น โลกก็ดูเหมือนจะเป็นมิตรกับเราน้อยลงเรื่อย ๆ นั่นอาจเป็นเพราะเรามองโลก มองคนรอบตัวด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป เมื่อเติบโตขึ้นและมีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น เราจะ "ตัดสิน" ผู้คนที่เราพบเจอเร็วขึ้น โดยเฉพาะคนที่ดู "แตกต่าง" ไปจากเรา และหลายครั้งมันก็ทำให้เราตกอยู่ภายใต้ความกังวล ความกลัว รู้สึกแปลกแยก ไปจนถึงสร้างความขัดแย้ง และทำให้"ความสุข" ของเราลดลง การด่วนตัดสิน ทำให้เราพลาดโอกาสที่จะรับฟังกัน พลาดโอกาสที่จะเข้าใจกัน และพลาดโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในทางตรงข้าม การไม่ด่วนตัดสิน ทำให้เราสามารถรับฟังผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง (deep listening) และมีความสุขมากขึ้นได้อย่างไร คลิปนี้มีคำตอบ .... ไม่ด่วนตัดสิน รู้เท่าทันความคิดตนเอง สามารถฟังคนรอบข้างดัวยหัวใจ รับฟังอย่างลึกซึ้งจนเกิดความเข้าใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และมีความสุขมากขึ้น

ความสุขของคุณ คืออะไร

ความสุขที่แท้จริงของคนเราคือ อะไร? คุณกำลังมีความสุขอยู่จริง ๆ ใช่ไหม? คลิปวิดีโอชิ้นนี้ชวนให้เรามาสำรวจและตั้งคำถามถึงความสุขของเรา อีกทั้งเป้าหมายชีวิตที่แท้จริงของทุกคนว่าที่จริงแล้วเรากำลังวิ่งตามอะไรอยู่และสิ่งที่เรากำลังทำ ใช่ความสุขที่แท้จริงหรือความสุขของเรานั้นที่จริงได้ทำร้ายทั้งตัวเรา สังคม คนคนรอบข้างและคนที่เรารักในทางอ้อมหรือไม่ เพื่อให้เรารู้เท่าทันตนเอง พิจารณาทุกสิ่งอย่างรอบคอบและใช้ชีวิตอย่างมีสติ

Happiness Calendar ปฏิทินความสุข

ปฏิทินความสุข “Happiness Calendar”  เครื่องมือที่จะให้คุณคิดทบทวนความรู้สึกในแต่ละวันของคุณว่าเป็นอย่างไร เรามีอความสุขเพราะอะไร เราทุกข์เพราะเหตุใด จากหลักคิดแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ในกัน” (Naikan) หมายถึง การได้หยุดสำรวจจิตใจ ทบทวนตัวเองในแต่ละวัน เพื่อให้ได้รู้จักและเข้าใจตัวเอง จะได้อยู่กับปัจจุบันและวันพรุ่งนี้ได้ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น ... “ในกัน” สามารถทำได้หลายวิธี และหนึ่งในนั้นก็คือ การระบายสีใน ปฏิทินความสุข “Happiness Calendar” ซึ่งจะช่วยให้คุณได้สำรวจจิตใจตัวเอง ประมวลผลด้วย "สีสัน" ของจิตใจในแต่ละวันลงไป ปฏิทินความสุข Happiness Calendar นี้ ดาวน์โหลดปฏิทินขนาดใหญ่ A1 http://bit.ly/2AROosB ดาวน์โหลดปฏิทินขนาด A4 ต่อกัน 4 แผ่น https://bit.ly/2Jg4pi4 คู่มือแนะนำการใช้ http://bit.ly/2AROsZn ขอให้ทุกคนมีความสุข ด้วยความปรารถนาดีจาก ความสุขประเทศไทย www.happinessisthailand.com และ www.facebook.com/happinessisthailand    

เปิดโลกอาสา : มูลนิธิสุขภาพไทย

เปิดโลกอาสา ชวนไปรู้จักกับ “มูลนิธิสุขภาพไทย” ที่มีหน้าที่สำคัญคือการดูแลสุขภาพองค์รวมของคนทุกเพศทุกวัย ด้านกายใจ สิ่งแวดล้อม และสติปัญญา โดยภารกิจหลักมี 2 ด้าน  คือ งานด้านสมุนไพร เน้นการดูแลสุขภาพด้วยการพึ่งพาตนเอง และงานอาสาสมัคร เพื่อดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนต่าง ๆ โดยกิจกรรมอาสาสมัครดูแลเด็กนี้เอง  เป็นเสมือนกุญแจไขประตูแห่งความรักและการให้ระหว่างอาสาสมัครและเด็ก ๆ ได้อย่างอัศจรรย์ใจ   มูลนิธิสุขภาพไทย website : http://www.thaihof.org/ facebook : https://www.facebook.com/thaihof.org  โทรศัพท์ : 02-589-4243 Email: thaihof@yahoo.com

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง

Child Online  Protection Guideline 1.0 หรือ แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง ยังคงเข้มข้นด้วยเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรระแวดระวังทั้งเรื่องสื่อลามกอนาจารออนไลน์ , การพนันออนไลน์ , ภัยจากเกมออนไลน์ , การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ Cyber Bullying ซึ่งนอกจากเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเพื่อสร้างความตื่นตัวในการป้องกันแล้ว คู่มือเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดูแล และคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยสื่อออนไลน์ และเสริมสร้างความรู้เท่าทันทางสื่อออนไลน์ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในยุคดิจิทัลนี้อีกด้วย

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562

ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์  พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83%  ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน  และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์”  จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย    

วิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม

งานวิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงสังคม ภายใต้ “โครงการผู้นำแห่งอนาคต” เพื่อศึกษาประสบการณ์ แนวคิด ความเชื่อ แรงบันดาลใจของกลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาครู ซึ่งเป็นกลุ่มที่มุ่งผลักดันให้เกิด “ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง” หรือครูยุคใหม่ที่มีสมรรถนะ มีความสามารถในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ๆ และเป็นกำลังขับเคลื่อนทางสังคมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนบนฐานสุขภาวะทางปัญญา เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะความพร้อมในการดำรงชีวิตให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสังคม

จิตอาสาที่ยั่งยืน แผนที่ทำดีประเทศไทย

หนังสือ 'จิตอาสาที่ยั่งยืน แผนที่ทำดีประเทศไทย' เป็นหนังสือโดยโครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผู้นำจิตอาสาด้วยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เนื้อหาภายในเล่ม แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกเป็นเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับพัฒนาการจิตอาสาทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ความเป็นมาของงานอาสาสมัครในประเทศไทย ส่วนที่สอง เป็นตัวอย่างของผู้ที่ทำงานจิตอาสาในหลากหลายรูปแบบ ให้มองเห็นเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจ และส่วนสุดท้ายคือแผนที่ความดี รวบรวมสถานที่ที่เปิดรับอาสาสมัคร โดยแบ่งข้อมูลเป็นภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย มีชื่อองค์กร ประเด็นการทำงานขององค์กร สถานที่ติดต่อ และลักษณะงานอาสาสมัครที่ต้องการ เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจได้สามารถเลือกงานอาสาที่ตรงใจและเหมาะสมกับทักษะที่มีได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Long Version บทบรรยายไทย)

คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Long Version/ มีบทบรรยาไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.