ผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพ จ๊ะเอ๋ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้
“จ๊ะเอ๋” คลิปวิดีโอผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่หยิบนิทานภาพมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัวและสร้างวัฒนธรรมการกอดให้เกิดขึ้นในครอบครัวระหว่างพ่อแม่และลูกให้มีความใกล้ชิดและช่วงเวลาแห่งความรักร่วมกันทุกวัน หนังสือนิทานภาพถือเป็นบันไดขั้นแรกที่ปลูกฝังทั้งการรักการอ่านและสร้างพัฒนาการทางด้านสติปัญญาให้แก่เด็ก อีกทั้งผลการวิจัยพบว่าหลังจากที่ผู้ปกครองและเด็กได้เล่น “จ๊ะเอ๋” กันทุกวัน เด็กๆ มีความกล้าที่จะกอดพ่อแม่มากขึ้น เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งความรักที่สร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัว
สัมพันธภาพกับการคลี่คลายความขัดแย้ง
เมื่อพบกับความขัดแย้งเรามักนึกถึงอยู่แค่คำว่า แพ้หรือชนะ กรอบความคิดเหล่านี้ล้วนมาจากจิตใต้สำนึกและมีอิทธิพลต่อท่าทีที่เราสื่อสารกับผู้อื่น การจะเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งไปสู่การเรียนรู้และเติบโตได้นั้น เราต้องมีความตระหนักรู้ทั้งกาย ใจ ความคิด ความสัมพันธ์ เข้าใจอัตลักษณ์ตัวตนของผู้อื่นและตระหนักรู้ถึงความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ในตัวตนของเรา สัมพันธภาพกับการคลี่คลายความขัดแย้งชุดนี้ จะพาเราเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งไปสู่การเรียนรู้ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงแก่นแท้และช่วยให้เราตอบรับกับสถานการณ์ความขัดแย้งต่างๆ ด้วย “สติ” และ “ความเข้าใจ”
ผลของการใช้หนังสือนิทาน จ๊ะเอ๋ (ฉบับยาวี-ไทย) ที่มีต่อพัฒนาการของบุตรก่อนวัยเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตามบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้ทำการวิจัยสำรวจผลของการใช้นิทานเรื่อง 'จ๊ะเอ๋' กับกลุ่มตัวอย่างจากโครงการแม่รุ่นใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยผลวิจัยพบว่าผลของนิทานทำให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น มีการเล่นจ๊ะเอ๋ การกอดและบอกรักเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเด็กๆ ในช่วงปฐมวัยก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านอารมณ์แจ่มใส มีความสุข มีสมาธิจ้องตาและมองหน้าคุณแม่ได้ดีมากย่ิงขึ้นอีกด้วย
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - พลวิช กล้าหาญ
นายแพทย์ พลวิช กล้าหาญ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์องค์รวมและการแพทย์โฮมิโอพาธีย์ (Homeopathy) กับการใช้การแพทย์ทางเลือกร่วมกับสติสมาธิเพื่อการตื่นรู้และยกระดับจิต ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงกระบวนการภายในและเข้าใจความหมายของการ ‘ตื่น’ เพื่อ ‘รู้’ และใช้การ ‘ตื่น’ เพื่อ ‘รู้’ นี้ เป็นตัวช่วยในการตอบคำถามและทำความเข้าใจกับกระบวนการภายใน ที่ว่า “เข้าใจกระบวนการตื่นรู้ เพื่อเลิกวงจรความทุกข์ เลิกเหนื่อยกับสิ่งเหล่านั้น” และยังช่วยทำให้มองโลกอย่างเข้าใจมากขึ้น เห็นตามจริงตามที่มันเป็น ทำให้ชีวิตหลังการตื่นรู้นั้นเบาสบายขึ้น มีความสุขสงบในชีวิตมากขึ้น
อดัมกับฟาตีมา ตอน พิชิตเพลิงไหม้
หนังสือภาพ อดัมกับฟาตีมา ตอน พิชิตเพลิงไหม้ สะท้อนภาพวิถีชีวิตของเด็ก ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ โดยสื่อแทนสองพี่น้องอดัมกับฟาตีมา ซึ่งมีทักษะในการป้องกันตนเอง และเอาตัวรอดจากเพลิงไหม้อย่างมีสติ ไปขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่และผู้ใหญ่ได้ทันเวลา หนังสือภาพเล่มนี้จัดทำขึ้น 2 ภาษา ท้ายเล่มยังมีการสอดแทรกความรู้ให้กับเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ฝึกทักษะการป้องกันตัว และวิธีการปฏิบัติตนเองเมื่อเกิดเพลิงไหม้
นิทานใต้ทะเล
ประเทศไทย เป็นประเทศที่ติดอันดับต้น ๆ ในการทำให้เกิด “ขยะทางทะเล” มากที่สุด ขยะที่พบส่วนเป็นเป็นพลาสติก ที่ทำร้ายสัตว์ใต้ทะเล ให้บาดเจ็บ เสียชีวิต และใกล้สูญพันธ์ นิทานเรื่องนี้ ชวนเด็กคุยเพื่อปลูกจิตสำนึกเรื่องรักษ์ทะเล และกระตุกเตือนผู้ใหญ่ที่ได้อ่านให้ย้อนกลับมาถามตนว่า เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อคืนความสมบูรณ์ให้ผืนน้ำสีครามนี้
หิวมานิห์ โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
จากวัฒนธรรม ประเพณีของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนใต้ในอดีตที่นิยมทำขนมพื้นบ้านของตัวเอง และ รับประทานขนมกันในชีวิตประจำวัน โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชนท้องถิ่น เป็นกลายเป็นขนมพื้นบ้านหลากหลายชนิดและมีรสชาติ หน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นการสะท้อนความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ของคนในชุมชนได้ดี
หยุดตรวจ คลิปวีดีโอ นายู ซีแยโดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คลิปวิดีโอ สะท้อนแนวคิด สร้างความรัก และเความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หยุดตรวจ คลิปวีดีโอ ป้ายรถ โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หยุดตรวจ คลิปวีดีโอ พวกแบ่งแยกดินแดน โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หยุดตรวจ โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Happy Bird Day โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เพื่อช่วยให้ปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคมต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ผู้คนกล้ามาจับจ่ายใช้สอยกระตุ้นเศรษฐกิจ