จะไปไหนจ๊ะ
สำหรับเด็กปฐมวัย การได้ออกมาเรียนรู้ในโลกกว้าง ได้เห็นและสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ช่วยสร้างเสริมจินตนาการที่ดีให้แก่เด็ก “จะไปไหนจ๊ะ” จึงเป็นนิทานที่คุณพ่อ คุณแม่ใช้เป็นเครื่องมือในการชี้ชวนและพูดคุยกับเด็กๆ ระหว่างเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน
เล่น...เพื่อสร้างโลกที่เป็นสุข
เพราะการเล่นเป็น 1 ในกิจกรรมสำคัญที่จะช่วยพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ให้กับเด็กอย่างสมวัย หนังสือเล่น...เพื่อสร้างโลกที่เป็นสุข จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นคู่มือที่ใช้สำหรับบอกแนวทางปฏิบัติในการจัดสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างพื้นที่เล่นสำหรับเด็กให้กับผู้ที่ทำงานด้านเด็ก โดยเรียบเรียงเนื้อหามาจากประสบการณ์จริงในการทำงานร่วมกับงานวิจัยของต่างประเทศ ผ่านการนำมาปรับปรุงและทดลองใช้โดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) เนื้อหาประกอบไปด้วยภาพรวมการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็ก สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเล่น การพัฒนาพื้นที่เล่น การมีส่วนร่วมในการเล่น ตลอดจนถึงเทคนิคการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเล่นอย่างเป็นรูปธรรม
ตะลุยเมือง 3 ดีต่างแดน @George Town 2014
ตะลุยเมือง 3 ดี @George Town 2014 เป็นหนังสือเล่มเล็กที่เล่าสรุปถึงเมืองจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย เมื่อครั้งที่สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน พากลุ่มภาคีเครือข่ายเมือง 3 ดีไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ศิลปะมาเป็นตัวเชื่อมโยงเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายรูป หุ่นเงา วาดภาพ หรือการทำอาหารประจำชุมชน ทำให้เยาวชนเกิดความรัก หวงแหนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ใช่ในฐานะเมืองมรดกโลก แต่เป็นชุมชนของตัวเอง หนังสือเล่มเล็กเล่มนี้จะพาไปรู้จักกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ในจอร์จทาวน์ทุกมุม ผนวกด้วยเส้นทางการเดินทาง โรงแรม ประหนึ่งคล้ายหนังสือท่องเที่ยวเล่มเล็ก ๆ ที่ให้ผู้อ่านได้เพลิดเพลินสนุกกับการเรียนรู้และพร้อมจะออกเดินทางไปสู่เมืองแห่งศิลปะนี้ด้วยกัน
ช่วยเด็กสร้างโลก
คู่มือการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กวัย 3-5 ปี เหมาะสำหรับเป็นตัวอย่างให้คุณครู คุณพ่อคุณแม่ และผู้ที่ทำงานด้านเด็กได้นำไปทดลอง ประยุกต์ ต่อยอดใช้ในการทำกิจกรรมสำหรับเด็กในวัยนี้ เนื้อหาของกิจกรรมแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามเป้าหมายคุณลักษณะทางด้านจิตใจที่ผู้ใหญ่อยากบ่มเพาะและเสริมสร้างให้เกิดขึ้นในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ระเบียบวินัย สันติ จิตสาธารณะ การเคารพความแตกต่าง ความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ การจัดการอารมณ์ของตัวเอง การรักในเพือนมนุษย์ แบ่งปัน และสร้างสรรค์ โดยแต่ละคุณลักษณะประกอบไปด้วยตัวอย่างกิจกรรม 3 กิจกรรม เพื่อเป็นการหนุนเสริม สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ใหญ่ได้ช่วยกันสร้างโลกที่น่าอยู่และมั่นคงให้เกิดขึ้นในใจของเด็ก ๆ ผู้ที่จะเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพในสังคมโลก
Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น
สรุปข้อสนเทศเรื่องการศึกษาและประเมินพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและดิจิตอลของวัยรุ่น โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะผู้วิจัยได้จัดทำ Fact Sheet ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ เพื่อศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีกทั้งทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความเห็นอกเห็นใจเคารพผู้อื่นและมีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริงได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย
อะไรบ้างที่ถือเป็นการรังแกกันบนโลกออนไลน์
Infographic ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเหล่านี้
ตัวตนทางเพศ กับการสร้างอัตลักษณ์ในโลกออนไลน์
บทสัมภาษณ์ โตมร อภิวันทนากร กลุ่มมานีมานะ ผู้ทำงานขับเคลื่อนประเด็นเรื่องเพศและการรู้เท่าทันสื่อ
LGBT กับคนทางการศึกษาต่อการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์
บทสัมภาษณ์ในมุมมองของ คุณครูนำโชค อุ่นเวียง ครูวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในประเด็นเรื่อง LGBT หรือ ความหลากหลายทางเพศ กับคนทางการศึกษาต่อการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์ ที่ปัจจุบันคนในกลุ่ม LGBT ได้รับการยอมรับทั้งทางอัตลักษณ์ ตัวตน ความสามารถและบทบาทหน้าที่ทางสังคมในแง่มุมที่หลากหลายมากขึ้น
Hate speech ในโลกออนไลน์
เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน... การเดินทางจาก “Hate Speech” สู่ “Cyberbullying” ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่งมาจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง ผ่านการพูด ผ่านตัวอักษรที่เต็มไปด้วยอารมณ์ทางลบ อคติ ตีตรา เหมารวม และความรู้สึกต้องการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของบุคคลหรือกลุ่มคนให้ลดลง Hate Speech (การสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง) ในปัจจุบันถูกสื่อสารผ่านโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และอาจเป็นที่มาของการเกิด Cyberbullying (การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์) แล้วเราจะจัดการ “Hate Speech” ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? 1.มีการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์กับผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่าง 2.มีความเห็นอกเห็นผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกเกลียดชังในโลกไซเบอร์ 3.รายงานการพบเห็นการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ผ่านช่องทางในสื่อสังคมออนไลน์ 4.สนับสนุนแนวทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์ ให้ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายเพื่อลดอคติและการแบ่งแยกในสังคม ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)
1 วันของเด็กในโลกมือถือ
ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 พบเด็กมีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ สูงขึ้น 2-3 เท่า ภายใน 1 ปี ส่วนใหญ่ใช้เพื่อเล่น Social Media ร้อยละ 75.7 และร้อยละ 42.5 รู้สึกทนไม่ได้ถ้าอยู่ลำพังโดยไม่มีโทรศัพท์มือถือ