การฝึกเจริญสติในช่วงวิกฤติโรคระบาด
ช่วงวิกฤติของโรคระบาด การได้กลับมาอยู่กับตัวเอง สื่อสารกับภายในใจ นับเป็นช่วงเวลาในการฝึกการเจริญสติให้เราได้คลายความวิตกกังวล เราสามารถเจริญสติภาวนาในขณะล้างมือให้นาน 20 วินาที เพื่อยับยั้งเชื้อโรค เรามีสติในการตระหนักรู้ต่อข่าวสารข้อมูล เท่าทันสื่อจริงสื่อลวง และมีสติในการบริหารเวลาในการดูแลตนเอง และครอบครัวได้มากขึ้น
หวัด (ไม่) ดีจ้า
ไม่อยากติดหวัดงอมแงม จามฟึดฟัด คัดจมูก ประสิทธิภาพต่ำ ขอแนะนำให้ป้องกันหวัดที่ไม่น่าทักทายนี้ ด้วยพฤติกรรมการกินและการอยู่ที่ช่วยป้องกันโรคหวัดได้ ทั้งการเลือกกินผักผลไม้ หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านหวัด และทางที่ดี ให้เลือกผักอินทรีย์ที่มั่นใจอีกทีว่าปลอดจากเคมีด้วยล่ะ
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน โรคร้าย บทเรียนล้ำค่าจากหัวใจ : นิดดา หงษ์วิวัฒน์
อ่านโดย : คุณวิมลรัตน์ ปฏิพัทธ์วุฒิกุล หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน กำแพงทางความคิด ชื่อโรคซึมเศร้า : นันทวัฒน์ ชัยพรแก้ว
อ่านโดย : คุณอินทีวร อุไรรัตน์ หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เสกโรคซึมเศร้าให้เป็นรอยยิ้มด้วยกิจกรรมมนตร์อาสา
“มนตร์อาสา” คือกลุ่มกิจกรรมจิตอาสา ที่คุณเน หรือทิพย์ชยพล ปารีณาพัฒน์นรี ตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการบำบัดความซึมเศร้าของตนเอง ในขณะเดียวกันก็อยากจะชวนเพื่อนมาร่วมกันเสกเวทมนตร์การบำบัดนี้เพื่อลดทอนความซึมเศร้าและภาวะเครียดในสังคมด้วยการลุกขึ้นมามีความสุขมากขึ้นโดยไม่ต้องคิดหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเอง ด้วยกิจกรรมไปล้างกรงเสือ กรงหมี ที่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หรือศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า รวมทั้งยังมี “กิจกรรมหินน้อยค่อยเจรจา” โดยในวงกิจกรรมมีหินอยู่ 1 ก้อน หินไปอยู่ที่ใครคนนั้นจึงมีพื้นที่ในการพูดและการเจรจา เพื่อผ่อนคลายความเครียดในใจให้เพื่อนได้รับฟัง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ฟังด้วยหัวใจ ฟังเสียงเพื่อนซึมเศร้า
การฟังด้วย “หัวใจ” จะช่วยดูแลคุณและคนที่คุณต้องดูแล เมื่อใดที่เราต้องรับสายโทรศัพท์เพื่อนซึ่งอยู่ในภาวะซึมเศร้าโทร. เข้ามาระบายให้คุณฟัง คุณจะต้องทำอย่างไร ? จะช่วยเขาได้ไหม ? บางครั้งการรับฟังด้วยหัวใจ นอกจากจะช่วยดูแลเพื่อนที่โทร. มาหาคุณแล้ว มันยังช่วยให้คุณได้ฟังเสียงข้างในของตัวเองว่าพร้อมจะรับฟังเพื่อนไหม ด้วยขั้นตอนดังนี้ 1. สังเกตุความรู้สึกตัวคุณเอง ว่าเป็นอย่างไร พร้อมจะรับฟังไหม 2. สังเกตเสียงความคิดในหัวคุณ เพื่อรู้เท่าทันและหรี่เสียงนั้นให้เบาลงๆ โดยไม่ต้องพูดมันออกมา 3. ฟังความรู้สึกคนพูด มากกว่าเรื่องราวที่เขาพูด 4. ไม่พูดแทรก หรือพูดขัด 5. ถามความรู้สึกเขา 6. ฟังด้วยความเห็นใจและไม่ตัดสิน เพื่อให้เขารู้ว่าเขามีตัวตน มีคุณค่า และมีคนที่พร้อมอยู่เคียงข้าง และ 7. ฟังแล้วต้องปล่อยวางให้เป็น เพียงเท่านี้ก็ฟังก็จะดูแลใจของกันและกันเป็นอย่างดี
วิชาชีวิต ตอน พลังกอด เยียวยาโรค
การกอด คือพลังมหัศจรรย์ สามารถเยียวยารักษาโรคได้ แม้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถึงการกอดจะไม่ทำให้หายป่วยได้ แต่อ้อมกอดที่อบอุ่น ช่วยเติมเต็มพลังแห่งรักให้คนที่เรารักจากไปอย่างสงบสุข โดยผู้ที่นำการกอดมาเป็นศาสตร์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วย คือ อาจารย์พรวรินทร์ นุตราวงศ์ หรือ คุณแอ้ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล คุณแอ้เชื่อมั่นว่าสุขาภวะที่ดีเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับสัมผัสที่อบอุ่น การเจ็บป่วยทำให้ผู้ป่วยเครียดและทุกข์ สิ่งแรกที่ญาติ ๆ ควรทำคือการอด การให้ความรัก เมื่อใจสู้ กายก็จะไม่ยอมแพ้ เกิดเป็นพลังชีวิตให้ก้าวข้ามความทุกข์ทรมานได้ นั่นคือ ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่ของ “พลังกอด”
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 45 เดือนมีนาคม - เดือนเมษายน 2562
เนื้อหาในจุลสาร ศิลป์สร้างสุข ฉบับนี้ ยังคงมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมในทุกมิติ เพื่อให้เด็ก ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ด้วยกัน เนื้อหาฉบับนี้ มีการพูดคุยกันในเรื่องกิจกรรม “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยการลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ มีการแสดงทัศนะการขับเคลื่อนวัฒนธรรม โดย อ. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และกวีซีไรต์ รวมทั้งการเสริมพัฒนการเด็กด้วยการปั้นดินศิลปะจากสิ่งรอบตัวภายในครอบครัวและชุมชน
คนเจ้าน้ำตาล หยุดดราม่าด้วยการบริโภคน้ำตาลอย่างพอดี
ใครจะรู้ว่า...บางทีอาการทางกายที่เราเป็นอยู่ ซึมเศร้า หดหู่ ฟันผุ กระดูกเปราะ ฯลฯ อาจเกิดจากการบริโภคน้ำตาลเกินไปก็ได้ ถ้าไม่อยากให้อาการดราม่าจากน้ำตาลร้ายเหล่านี้ทำร้ายเรา ลองใช้เคล็ดลับง่าย ๆ จากอินโฟกราฟิกนี้ ค่อย ๆ ลดน้ำตาลกัน
ไขมันทรานส์ วายร้าย ทำลายสุขภาพ
รู้จักไขมันทรานส์ วายร้าย ทำลายสุขภาพ ไขมันทรานส์มาจากไหน ทำจากอะไร แฝงตัวอยู่ในอาหาร ขนม หรืออะไรที่เรารับประทานบ้าง แล้วเมื่อกินไขมันทรานส์เข้าไปแล้ว จะส่งผลอย่างไรต่อร่างกายเราบ้าง อินโฟกราฟิกชิ้นนี้สรุปทุกเรื่องมารวมกันให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ในหน้าเดียว
คุณเป็นหรือเปล่า โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness)
โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) เป็นโรคใหม่ที่คนยุคปัจจุบันเป็นกันมาก สืบเนื่องมาจากภาวะของเทคโนโลยีที่เข้ามาทำให้สังคมหมุนไปอย่างรวดเร็ว โรคทนรอไม่ได้จะส่งผลเสียทำให้คนที่เป็นเกิดปัญหาสุขภาพทางอารมณ์ เรื้อรังกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตและกายตามมา หากใครมีอาการนี้ จะต้องแก้ไขโดยด่วน อินโฟกราฟิกชิ้นนี้มีทั้งสาเหตุ ทางออก และการแก้ไขมาฝากกันอย่างครบถ้วน
สัญญาณของโรค ที่ถูกมองข้าม
การเช็คสุขภาพไม่จำเป็นต้องใช้เวลาและไปที่โรงพยาบาลทุกครั้ง ในทุก ๆ วันเราสามารถตรวจเช็คสุขภาพเราเองได้จากการสังเกตร่างกายเราอย่างง่าย ๆ อินโฟกราฟิกชิ้นนี้ จะบอกถึงสัญญาณอันตรายที่หากเกิดขึ้นกับร่างกายเราแล้ว เราไม่ควรมองข้าม ต้องรีบไปพบแพทย์ตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการดูแลรักษาต่อไปให้ทันท่วงที