วันทุกข์ที่ผ่านพ้น รวมเรื่องสั้น อ่านยาใจ อ่านเพื่อหัวใจอิ่มสุข
ทุกครั้งที่เราเผชิญกับความทุกข์ ความคิดและตัวของเราเอง คือ เพื่อนที่คลายความทุกข์ที่ดีที่สุด วันทุกข์ที่ผ่านพ้น หนังสือรวมเรื่องสั้นที่จะช่วยเป็นยาใจและคลายทุกข์ให้กับผู้อ่านผ่านตัวละครต่างๆ ที่เกิดจากขบวนการการเขียนระบายความความทุกข์ของผู้เขียน จนเกิดเป็นเรื่องราวที่สวยงามและแตกต่างกัน16เรื่อง ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือกจากผู้ทรงวุฒิทั้งด้านของสุขภาพจิตและผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการเขียนวรรณกรรม โดยแต่ละเรื่องมีจุดเด่นคือปมที่ถูกคลี่คลายเพื่อคลายความทุกข์ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - รัสรินทร์ เรืองบูรณะรัตน์
รัสรินทร์ เรืองบูรณะรัตน์ หรือ คุณติ๊ก เจ้าของเพจ “ลูกในฝันคนอย่างฉันก็สร้างได้” เป็นการแบ่งปันการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีและมีความสุข แต่ครั้งหนึ่งคุณติ๊กเคยทุกข์แสนสาหัส ถึงขั้นอยากจะฆ่าตัวตาย นับเป็นโอกาสดีที่เกิดความคิดมาเปลี่ยนแปลงตนเอง เริ่มศึกษาธรรมะและฝึกสมาธิ จึงทำให้มีสติในการตื่นรู้กับชีวิตมากขึ้น ว่าความทุกข์ทั้งหมดในชีวิตมาจากรากคือความกลัว ซึ่งเกิดจากความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ ตั้งแต่นั้นมาคุณติ๊กก็มุ่งมาในเส้นทางศึกษาธรรมะ เพื่อการตื่นรู้เข้าใจตนเองมากขึ้น
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน กำแพงทางความคิด ชื่อโรคซึมเศร้า : นันทวัฒน์ ชัยพรแก้ว
อ่านโดย : คุณอินทีวร อุไรรัตน์ หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เสกโรคซึมเศร้าให้เป็นรอยยิ้มด้วยกิจกรรมมนตร์อาสา
“มนตร์อาสา” คือกลุ่มกิจกรรมจิตอาสา ที่คุณเน หรือทิพย์ชยพล ปารีณาพัฒน์นรี ตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการบำบัดความซึมเศร้าของตนเอง ในขณะเดียวกันก็อยากจะชวนเพื่อนมาร่วมกันเสกเวทมนตร์การบำบัดนี้เพื่อลดทอนความซึมเศร้าและภาวะเครียดในสังคมด้วยการลุกขึ้นมามีความสุขมากขึ้นโดยไม่ต้องคิดหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเอง ด้วยกิจกรรมไปล้างกรงเสือ กรงหมี ที่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หรือศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า รวมทั้งยังมี “กิจกรรมหินน้อยค่อยเจรจา” โดยในวงกิจกรรมมีหินอยู่ 1 ก้อน หินไปอยู่ที่ใครคนนั้นจึงมีพื้นที่ในการพูดและการเจรจา เพื่อผ่อนคลายความเครียดในใจให้เพื่อนได้รับฟัง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ฟังด้วยหัวใจ ฟังเสียงเพื่อนซึมเศร้า
การฟังด้วย “หัวใจ” จะช่วยดูแลคุณและคนที่คุณต้องดูแล เมื่อใดที่เราต้องรับสายโทรศัพท์เพื่อนซึ่งอยู่ในภาวะซึมเศร้าโทร. เข้ามาระบายให้คุณฟัง คุณจะต้องทำอย่างไร ? จะช่วยเขาได้ไหม ? บางครั้งการรับฟังด้วยหัวใจ นอกจากจะช่วยดูแลเพื่อนที่โทร. มาหาคุณแล้ว มันยังช่วยให้คุณได้ฟังเสียงข้างในของตัวเองว่าพร้อมจะรับฟังเพื่อนไหม ด้วยขั้นตอนดังนี้ 1. สังเกตุความรู้สึกตัวคุณเอง ว่าเป็นอย่างไร พร้อมจะรับฟังไหม 2. สังเกตเสียงความคิดในหัวคุณ เพื่อรู้เท่าทันและหรี่เสียงนั้นให้เบาลงๆ โดยไม่ต้องพูดมันออกมา 3. ฟังความรู้สึกคนพูด มากกว่าเรื่องราวที่เขาพูด 4. ไม่พูดแทรก หรือพูดขัด 5. ถามความรู้สึกเขา 6. ฟังด้วยความเห็นใจและไม่ตัดสิน เพื่อให้เขารู้ว่าเขามีตัวตน มีคุณค่า และมีคนที่พร้อมอยู่เคียงข้าง และ 7. ฟังแล้วต้องปล่อยวางให้เป็น เพียงเท่านี้ก็ฟังก็จะดูแลใจของกันและกันเป็นอย่างดี
โรคซึมเศร้า เราควรใกล้ชิด
เรียนรู้ และเข้าใจ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี เพราะผู้ป่วยไม่ได้อ่อนแอ แต่ความคิดในแง่ลบนั้นเกิดจากสารเคมีและระบบฮอร์โมนในสมองที่เปลี่ยนไป คนใกล้ชิดคือยาใจสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ ให้หายได้อย่างยั่งยืนเพียงแค่เปิดใจรับฟัง
ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น
บทความนี้พูดถึงความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งในกลุ่มผู้ใช้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ที่มีจิตใจอ่อนไหวเปราะบาง ผู้ติดสุรายาเสพติดและผู้ป่วยโรคร้ายแรงอื่นๆ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงในการฆ่าตัวตายจากความเปราะบางทางจิตใจและความหุนหันพลันแล่น โดยแนะนำให้เฝ้าระวังและยึดหลัก 4 “อย่า” คือ 1 อย่าท้าทาย 2 อย่าใช้คำพูดเยาะเย้ย 3 อย่านิ่งเฉย 4 อย่าส่งข้อความหรือเผยแพร่ภาพการฆ่าตัวตายเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลอกเลียนแบบ และ 3 “สิ่งที่ควรทำ” คือ 1 ควรห้าม 2 ควรชวนคุยไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว 3 ควรติดต่อหาทางช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด
พระอิน..เทอร์เน็ต ตอน พระอิน...แย่แล้ว
พระอิน...เทอร์เน็ต ตอน พระอิน...แย่แล้ว นำเสนอปัญหาของคนปัจจุบันที่เสพติดหน้าจอโทรศัพท์จนทำให้เกิดโรคภัยทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นโรคซึมเศร้า เปรียบเทียบชีวิตกับคนในโลกออนไลน์ อิจฉา เก็บกด ปวดคอ วุ้นนัยน์ตาเสื่อม ขาดสังคม พอขาดโทรศัพท์ก็หงุดหงิด ทำให้ชีวิตขาดความสุข เพราะไม่รู้เท่าทันการใช้โทรศัพท์มือถือและสื่อ ICT