trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "โซเชียล" พบ 43 ข้อมูล

ตายแล้วโปรไฟล์เฟซบุ๊กไปไหน จัดการมรดกดิจิตอลของเราก่อนวันที่บัญชีต่างๆ จะออฟไลน์ไปตลอดกาล

Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson   จะเกิดอะไรขึ้นกับบัญชีโซเชียลมีเดียและอีเมลของเราเมื่อถึงคราวที่ต้องจากโลกนี้ไป รูปที่โพสต์จะยังอยู่ไหม เพื่อนของเราจะกลับเข้ามาอ่านข้อความเก่าที่เคยคุยกับเราได้หรือเปล่า

การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying)

การรู้เท่าทันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและใส่ใจไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้รู้จักป้องกันตัวเอง  พ่อแม่และโรงเรียนควรจะเข้าใจในการให้คำปรึกษา และภาคเอกชนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและระเบียบกติกาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น มีรายงานสำรวจหลายชิ้นบ่งบอกว่า ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา สถิติของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ

ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว PRIVACY MANAGEMENT

มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และกลลวงทางไซเบอร์ 

รายงานสุขภาพคนไทย 2562 : สื่อสังคม สื่อสองคม สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล

รายงานสุขภาพคนไทย 2562 จัดทำโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเรื่องพิเศษประจำฉบับได้แก่ “สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ ส่วน 12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง ประกอบด้วย ประชากรข้ามชาติในไทย, ประชากรไทยในต่างแดน, ผู้ต้องขัง พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้สารเสพติด, กลุ่มเพศวิถีนอกขนบ, คนจนและผู้มีรายได้น้อย, ครอบครัวเปราะบาง, กลุ่มเปราะบางจากปัญหาสุขภาพจิต, เด็กเปราะบาง, วัยรุ่น, และ ผู้สูงอายุ

Cyberbullying คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ cyberbullying หรือ ความรุนแรงในโลกโซเชี่ยล พร้อมวิธีป้องกันตนเอง  

9 สิ่งที่ห้ามโพสต์ลงโซเชียล

ปัจจุบันโซเชียลมีเดียได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการติดต่อสื่อสารของคนส่วนใหญ่ในสังคม การที่เราคุ้นเคยกับการใช้สื่อเหล่านี้เป็นประจำอาจทำให้เราละเลยเรื่องความปลอดภัยของเราไป 9 สิ่งที่ห้ามโพสต์ลงโซเชียล เช่น บัตรประจำตัวประชาชนที่สามารถนำไปปลอมแปลงหรือใช้ทำธุรกรรมทางการเงินได้ ตั๋วเครื่องบินที่มีข้อมูลส่วนตัว ภาพวาบหวิว เช็คอินสถานที่ที่ระบุตำแหน่งที่พักอาศัย ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ภาพถ่ายบุตรหลาน ข้อความโจมตีผู้อื่นซึ่งเข้าข่ายหมิ่นประมาทและมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อีกทั้งข้อความว่ากล่าวองค์กรและข้อความดราม่า เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและป้องกันผลเสียที่อาจย้อนกลับมากระทบชีวิตของได้เราในภายหลัง

5 โรคฮิตจากโซเชียลมีเดีย

ยุคโซเชียลมีเดีย พบ 5 โรคฮิตที่ควรระวัง ทั้งโรคซึมเศร้า โรคละเมอแชท (Sleep-Texting) โรควุ้นในตาเสื่อม โรคโนโมโฟเมีย (Nomophobia) กลัวการไม่มีมือถือ และโรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) การก้มมองและจ้องจอมากเกินไป ทั้งหมดนี้บำบัดได้ ขอเพียงเปิดใจยอมรับ ควบคุมเวลาเล่น และหางานอดิเรกอื่นๆ ทำ

อันตรายจากปีศาจร้ายโลกไซเบอร์

เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ช่วยให้การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วทันใจ แต่ในข้อดีของความสะดวกรวดเร็วนั้น ก็มีข้อเสียและภัยร้ายที่สามารถเข้าถึงตัวเราได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในปี 2555 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ตมีสูงถึง 62% และมีแนวโน้มว่าอาชญากรทาง อินเทอร์เน็ตจะมีเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตควรศึกษาและหาวิธีดูแลความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนตกเป็นเหยื่อ เช่น การตั้งรหัสยากๆ สำหรับ user ในเว็บต่างๆ เช็คความปลอดภัยก่อนโอนเงินผ่าน  อินเทอร์เน็ตไม่ควรโหลดโปรแกรมจากคนหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ลบข้อมูลเว็บบราวเซอร์หลังจากใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะและติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลจากอาชญากรทางอินเทอร์เน็ต

ชีวิตติดสื่อ

คลิปวิดีโอสรุปสถานการณ์ชีวิตติดสื่อของเด็กและเยาวชนไทย โลกดิจิทัลทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อ Social Media มากกว่าการอ่าน และการเรียนหนังสือในห้องเรียนไปเสียแล้ว ชีวิตติดสื่อจึงเป็นวิกฤติที่น่าเป็นห่วง เพราะใน Social Media เหล่านั้นมีการเผยแพร่กันทั้งเว็บอนาจาร ข่าวไม่จริง เนื้อหาที่สร้างค่านิยมผิดๆ เมื่อเด็กและเยาวชนเสพมากเกินไป จะส่งผลกระทบให้เกิดการลอกเลียนแบบ หากไม่มีการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ อยากรู้เท่าทันสื่อ

โครงการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่น อายุระหว่าง 10-19 ปี

การเปลี่ยนแปลงของการสื่อสาร ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายประเทศทั่วโลก ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องของสื่อใหม่กับอิทธิพลที่มีต่อเด็กและเยาวชน งานวิจัยชิ้นนี้แตกต่างจากงานวิจัยที่ผ่านมา เนื่องจากมีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 ช่วงตามกระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษาอย่างชัดเจนคือ ประถมศึกษาปลาย มันธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้ผลวิจัยเป็นข้อมูลสำคัญให้หน่วยงานด้านเด็กและเยาวชนได้นำมาใช้ทบทวน ประเมินสถานการณ์ อันจะนำไปสู่การดำเนินงานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้เด็กได้อย่างเหมาะสม

เปิดอก

"เปิดอก" เป็นคลิปวีดีโอภายใต้โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม เนื้อหาว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อในครอบครัว สมาชิกทุกวัยในบ้าน ทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ต่างต้องเรียนรู้ที่จะเท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อที่หลอกลวงและบิดเบือนโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว เรียนรู้ที่จะเปิดอกพูดคุยกันด้วยความรักและความเข้าใจ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.