รู้ทันคำโตๆของโฆษณา ตอน ผงซักฟอก
รู้จักผงซักฟอกของใช้ใกล้ตัวของทุกครัวเรือน ทั้งที่มาและส่วนประกอบ ก่อนเลือกซื้ออย่าตกเป็นเหยื่อของโฆษณา ต้องคิดพิจารณาให้ดีก่อนซื้อ
รู้ทันคำโตๆของโฆษณา ตอน น้ำบวกลม (ตอนที่ 2)
องค์การอนามัยโลก แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา ขณะที่น้ำอัดลมน้ำดำ มีน้ำตาล 8.5 ช้อนชา, น้ำอัดลมน้ำสี มีน้ำตาล 10.25 ช้อนชา และน้ำอัดลมน้ำใส มีน้ำตาล 11.5 ช้อนชา น้ำตาลที่เป็นส่วนเกินจากน้ำอัดลมจึงไปสะสมในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิต โรคเบาหวาน และโรคอ้วน
มาเลือกของขวัญปีใหม่ ให้ยิ้มยกบ้าน อ่ะช้าาาา
หลักการเลือกซื้อของขวัญปีใหม่ โดยไม่ต้องพึ่งโฆษณา ให้คำนึงถึงความต้องการของผู้รับ สิ่งนั้นต้องเป็นประโยชน์ เป็นของขวัญที่ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง ที่สำคัญคือต้องดีต่อสุขภาพ
รู้ทันคำโตๆของโฆษณา ตอน น้ำบวกลม (ตอนที่ 1)
น้ำอัดลม เป็นที่รู้จักในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2492 เป็นเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล กรดคาร์บอนิก และคาเฟอีน ส่วนชนิดที่ไม่มีน้ำตาล ใช้สารทดแทนความหวาน เช่น แอสปาเทม และเติมหัวเชื้อกลิ่นน้ำผลไม้ต่างๆ สาเหตุผู้คนนิยมดื่มน้ำอัดลมเพราะหลงเป็นเหยื่อโฆษณา
ระวังภัย ซ่อนสอนลูก เมื่อเด็กดูทีวี
การนั่งดูทีวีกับลูกเป็นโอกาสที่พ่อแม่ไม่ควรพลาด ทำให้สามารถคัดเลือกรายการดี ๆ เพื่อดูร่วมกัน รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการเรียนรู้ระหว่างโลกจริงและโลกสมมติ ที่สำคัญยังได้หลีกเลี่ยงภัยที่ซ่อนอยู่ในจอทีวี ทั้งการพูดจาก้าวร้าว การเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการโฆษณาเกินจริง
การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการเด็ก
ผลการศึกษาเรื่อง โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็ก ช่องฟรีทีวี (ช่อง 3,5,7,9) โดยมีเดียมอนิเตอร์ ร่วมกับแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ พบมีโฆษณาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กถึงร้อยละ 94 ล้วนแต่เป็นการโน้มน้าวให้บริโภคเกินจริง บริโภคทดแทนอาหารมื้อหลัก หากไม่บริโภคจะด้อยกว่าคนอื่นๆ
การ์ตูน กระต่ายอวกาศ
'กระต่ายอวกาศ' เป็น 1 ในผลงานจากโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เรื่องราวของครอบครัวกระต่ายที่อยู่อาศัย ณ ดาวดวงหนึ่งในกาแล็คซี่อันกว้างใหญ่ ก็ยังมิวายได้รับอิทธิพลจากโฆษณาออนไลน์ ในวันเกิดของลูกกระต่าย ป๊ากระต่ายอยากจะเซอร์ไพร้ส์ลูกด้วยหุ่นยนต์ตัวใหม่ที่โฆษณาลดราคาออนไลน์ แต่พอซื้อมาสินค้ากลับไม่เหมือนโฆษณา จนทั้งป๊าและลูกน้อยเกือบต้องกลายเป็นกระต่ายทอด เรื่องราวสนุก ๆ ผูกเรื่องอย่างทันสมัย อารมณ์ขำขันในยุคโฆษณาออนไลน์ จะจับหัวใจของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้เพลิดเพลินติดตามไปได้ตลอดทั้งเรื่องอย่างไม่เบื่อหน่ายเลย
Jockey Whiskey "อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา"
คลิปวิดีโอจากโครงการปิ๊งส์ 'อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' เรื่องราวสะท้อน ล้อเลียน กระตุกต่อมคิดให้หันมามองโฆษณาเหล้าเมื่อเทียบกับความจริงของเหล้าที่มีต่อผู้ดื่ม นำเสนอภาพเชิงเปรียบเทียบให้เห็นโฆษณาชวนเชื่อซึ่งขัดกับความจริงอย่างตรงกันข้าม ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
นิทานภาพ กระต่ายน้อยไม่ตื่นตูม
'กระต่ายไม่ตื่นตูม' เป็น 1 ในผลงานจากโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญของครอบครัวในการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมทักษะรู้ทันสื่อให้กับเด็ก นำเสนอผ่านเรื่องราวของครอบครัวกระต่าย เมื่อคุณแม่กระต่ายเปิดนิทานออนไลน์ให้ลูกดู แล้วต้องเจอโฆษณาชวนเชื่อออนไลน์ ทำให้ลูกกระต่ายน้อยเกือบหลงเชื่อ แต่โชคดีที่คุณแม่และคุณพ่อกระต่ายสอนให้ลูกรู้เท่าทันสื่อ ลูกกระต่ายจึงไม่ตกเป็นเหยื่อของโฆษณา
ใจดีสู้สื่อ สื่อวิทยุ 29Dec12
ใจดีสู้สื่อ ตอน สื่อวิทยุ พาไปรู้จัก เข้าใจ และเท่าทันสื่อวิทยุในทุกแง่มุม ตั้งแต่อุปกรณ์การฟังวิทยุที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมของผู้ฟังวิทยุ ผู้ผลิตสื่อวิทยุ และสำคัญที่สุดคือผู้สนับสนุนและการตลาดในสื่อวิทยุ ที่อาจจะล่อลวงให้เราหลงเชื่อและเสียเงินไปโดยไม่ทันรู้ตัว
ใจดีสู้สื่อ เลือกตั้งกันยังไงดี 1Feb13
ใจดีสู้สื่อ ตอน เลือกตั้งกันยังไงดี เนื้อหารายการในตอนนี้แบ่งเป็น 2 เรื่องราวต่อเนื่องกัน ช่วงแรกจะเป็นการพาไปเจาะลึกถึงพฤติกรรมความชื่นชอบและการเลียนแบบนักร้องดังของเหล่าเยาวชน ที่ทำให้นักการตลาดสร้างกลยุทธ์จูงใจในการขายสินค้าให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งหากไม่รู้เท่าทันก็จะทำให้เราตกเป็นเหยื่อ ส่วนช่วงที่สองของรายการจะพูดถึงการหาเสียงเลือกตั้ง และพฤติกรรมการใช้สื่อของกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องของการหาเสียงผ่านสื่อโซเชียลออนไลน์และสื่ออื่น ๆ ซึ่งหากเราได้รับข้อมูลไม่ควรเชื่อตั้งแต่ครั้งแรก ต้องตั้งคำถามให้คาถา 'เอ๊ะ เอ๊ะ เอ๊ะ' ทบทวนให้ดีเสียก่อน
ใจดีสู้สื่อ เรื่องเล่าเหล้า 22Feb13
ใจดีสู้สื่อ ตอน เรื่องเล่าเหล้า พาไปติดตามประเด็นเรื่องเหล้าที่อยู่ใกล้ตัวเยาวชนเกินกว่าที่คิด เจาะลึกถึงกลยุทธ์ของบริษัทผู้ผลิตเหล้าในการเข้าถึงเยาวชนสารพัดรูปแบบ การสร้างค่านิยม วัฒนธรรมการสังสรรค์ โปรโมชั่น ฯลฯ เพื่อล่อลวงให้เยาวชนก้าวไปเป็นเป็นนักดื่มหน้าใหม่ หากรู้ไม่เท่าทัน เยาวชนจะตกเป็นเหยื่อของเหล้าได้อย่างง่ายดาย