สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP4 Mental Garden กับการใช้ชีวิต
การดูแลจิตใจให้เหมือนดูแลสวนหลังบ้าน หรือ Mental Garden เป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติให้เป็นกิจวัตรในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่การแยกระหว่างการปฏิบัติติธรรมกับการใช้ชีวิต การที่เราสามารถกำจัดวัชพืช-อกุศลในใจจากความโกธร หลง ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ก็มิได้รับประกันว่าโจรหรือกิเลส อกุศลต่าง ๆ จะไม่เข้ามากระทบใจเรา เราจำเป็นต้องมีสติ เจริญภาวนา และทำสมาธิเสมอ เพื่อให้ทุกสภาวะของจิตเป็นกลางตลอดเวลา
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP3 Mental Garden ดูแลจิตใจแบบดูแลสวนหลังบ้าน
การดูแลใจให้เหมือนดูแลสวนหลังบ้าน แนวคิดนี้ เพื่อเป็นการชำระล้างใจให้เบา สบาย คลายความวิตกกังวล เหตุที่เปรียบกับสวนหลังบ้าน เพราะการปฏิบัติธรรม หรือการเจริญภาวนา เพื่อปรับใจให้คลายทุกข์และเป็นสุข ไม่จำเป็นต้องจัดสวนหน้าบ้านไว้โออวดใคร การหมั่นกำจัดวัชพืชในสวนหลังบ้าน เสมือนการนำเอา “อกุศล” ออกจากใจ โดยยึดหลัก ของใหม่ไม่เอาเข้า - ของเก่าให้นำออก และหมั่นดูแลดอกไม้เล็กที่เป็นกุศลให้เติบโตในใจของเราเอง
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP2 New Normal ของใจที่ได้จากโรคโควิดคืออย่างไร
หลังวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 โรคอุบัติใหม่ ทุกคนได้ปรับเปลี่ยนชีวิตสู่รูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal กันมากมาย แล้วเมื่อพูดถึง New Normal ของใจ ทุกคนรู้ไหมว่าคืออะไร ? การดูแลใจในรูปแบบของ New Normal คือการติด “เซนเซอร์ที่ใจ” ทำให้ใจมีการใคร่ครวญ ตอบสนองด้วยสติและปัญญา ไม่ทำอะไรรวดเร็วตามอารมณ์ ตามอัตโนมัติวูบไปวาปมา New Normal ของใจต้องตระหนักรู้-ยอมรับ-กลับสู่ความจริง
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP1 การยอมอย่างไม่มีเงื่อนไข คือการปล่อยวางที่แท้จริง
เชื่อว่าในช่วงชีวิตของคนเราต้องมีการเผชิญกับสิ่งที่กังวลและหวาดกลัว การต่อสู้ หรือวิ่งหนีความกลัวเหล่านั้นใช่ทางออกที่แท้จริงหรือไม่ ? รศ. นพ. ชัชวาล ศิลปะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้ให้ข้อคิดกับทุกคนที่ต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ ของชีวิต คือ “การยอมรับความจริงอย่างไท่มีเงื่อนไข คือการปล่อนวางอย่างแท้จริง เพื่อเรียกสติว่าเราจะลุกขึ้นสู้ใหม่อย่างไร เหมือนเราอยู่ในทะเล หากมีคลื่นมา ก็แค่ประคองตัวไปกับคลื่นนั้นให้ผ่านไปได้ เราไม่ได้มีหน้าที่ทำให้คลื่นสงบ
E-book ถอดบันทึก สุขสัญจรออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom
ช่วงวิกฤตโควิด -19 ระยะแรก มาตรการควบคุมโรคทําให้กิจกรรมต่าง ๆ ไม่สามารถดําเนินไปได้อย่าง ปกติ ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม ทํางานจากบ้าน ใส่หน้ากากอนามัย กิจการ ห้างร้านต้องปิดลงชั่วคราว โครงการหรือกิจกรรมอบรม สัมมนาต่าง ๆ ถูกยกเลิก หรือเลื่อนไปอย่างไม่มีกําหนด ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดําเนินชีวิตในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา โดยมี เภสัชกรหญิง ชรรินชร เสถียร ผู้ช่วยอาจารย์ประจําศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เป็นผู้ริเริ่มและบริหารจัดการ เนื้อหาหลัก ๆ แบ่งเป็นสองช่วง ๆ ละ 4 ตอน ช่วงแรกเกี่ยวกับการเผชิญภาวะวิกฤต และช่วงที่สองเกี่ยวกับ ชีวิตวิถีใหม่ ในรูปแบบการบรรยายร่วมกับการตอบคําถาม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้านต้านโควิด 2 ภาษา (ไทย-ญี่ปุ่น)
นิทาน 2 ภาษา ไทย-ญี่ปุ่น เรื่อง อีเล้งโค้งอยู่บ้านต้านโควิด ที่มาพร้อมความสนุกและอารมณ์ขันที่สอดแทรกความรู้ให้กับน้อง ๆ เยาวชนและทุกคนในครอบครัวให้หันมาทำความรู้จักกับโรคร้ายโควิด-19 และวิธีการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่ น้อง ๆ เยาวชน นอกจากจะได้รับความสนุกสนานและความรู้ไปกับการอ่านนิทานแล้ว ยังเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้แก่เยาวชนในการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยจากโรคร้ายโควิด-19 อีกด้วย สามารถดาวน์โหลดสื่อเพื่ออ่านได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=531
อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้าน...ต้านโควิด
นิทานอีเล้งเค้งโค้ง โดยครูชีวัน วิสาสะ สร้างสรรค์ขึ้นในวาระพิเศษช่วงของการ 'อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ' เนื้อหาเป็นการอธิบายให้เด็กๆ ได้เข้าใจสถานการณ์และการปฏิบัติตัวช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างที่ต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน ได้เพลิดเพลินกับการระบายสี แต่งแต้มสีสันให้กับนิทานเรื่องนี้ได้ตามจินตนาการอีกด้วย สามารถดาวน์โหลดสื่อเพื่ออ่านได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=530
มาล้างมือกันเถอะ (ป้องกันโควิด19)
หนังสือนิทาน ชุดสร้างเสริมสุขภาพป้องกัน COVID-19 ที่เป็นทั้งคู่มือสอนการล้างมือและการสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีให้แก่เยาวชน เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนหันมาใส่ใจรักษาความสะอาดและเห็นความสำคัญของการล้างมือ อีกทั้งเป็นการสร้างเสริมพฤติกรรมและวัฒนธรรมการอ่านให้เข้าถึงเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงหนังสือไปในตัว