การดูแลผู้สูงวัยช่วงโควิด
อินโฟกราฟิก เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยช่วงโควิด19 กับหลายแนวทางง่ายๆ อยู่บ้านอย่างไรให้มีคุณภาพ เช่น ชวนกันออกกำลังกายเบาๆ ภายในบริเวณบ้าน เดินแกว่งแขน ปลูกต้นไม้ เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองและร่างกาย เลือกทานอาหารที่ปรุงสุก เน้นอาหารจำพวกโปรตีนและผักผลไม้หลากสีเพื่อสร้างภูมิคุ้นกัน ที่สำคัญคือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่กังวลไปกับข่าวสารมากจนเกินไปและการ์ดอย่าตก ควรสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างจากคนที่มาเยี่ยมทุกครั้งและควรหมั่นล้างมือ
3 ข้อดีของโควิด-19 จากพระไพศาล วิสาโล
บทสนทนาตอบข้อสงสัยของทางโลกด้วยทางธรรมระหว่าง ธนญชัย ศรศรีวิชัย หรือ ต่อ ฟีโนมีน่า ผู้กำกับหนังชื่อดัง กับพระไพศาล วิสาโล เพื่อส่งต่อข้อคิดดีๆ ให้แก่สังคมไทยในวันที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสถานการณ์อันวิกฤตที่หลายคนอาจไม่เคยนึกถึง เรื่องโอกาสในการเรียนรู้..การยอมรับความจริง โอกาสในการเรียนรู้การมีสติและโอกาสแสดงความเอื้อเฟื้อ..ให้แก่กันและกัน เพื่อให้เราดำรงชีวิตในช่วงวิกฤติของโรคระบาดได้อย่างเท่าทันและมีความตระหนักรู้
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รักที่ต้องอยู่ด้วยกันในสถานการณ์โควิด-19
โควิดทำให้เราพูดกันไม่รู้เรื่อง โกรธกัน ทะเลาะกันง่ายหรือไม่ ไม่อยากให้ความสัมพันธ์ต้องพังลง ทำอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ของเรากับคนรักตอนนี้เป็นอย่างไร หลังที่ต้องอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลาส่งผลให้เราทะเลาะกันเพิ่มหรือไม่ หรือห่างเหินกันมากกว่าเดิมหรือเปล่า? ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รัก” เพื่อแนะนำแนวทางในการดูแลใจ เพิ่มความเข้าใจ เชื่อมสัมพันธ์และสร้างภูมิคุ้มใจเพิ่มให้กันและกัน โดยเนื้อหาในคู่มือฉบับนี้ว่าด้วย เราจะดูแลใจอย่างไรเมื่อความโกรธปรากฏขึ้น จะสื่อสารกับคนรักให้เข้าใจกันมากขึ้นได้อย่างไร และเราจะได้ย้อนเวลาหาความรัก เพื่อดูแลใจและความรักของคนรักไปได้พร้อมๆ กัน
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกันในสถานการณ์โควิด-19
ต่อสู่กับโควิด-19 อยู่ด้านหน้าแทบขาดใจ อยากกอดครอบครัวแค่ไหนก็ทำไม่ได้ จะบอกรักพวกเขาอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่หากมันกลับมาอีกครั้งเราในฐานะผู้ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าการต่อสู้กับไวรัสหรือเรามีคนในครอบครัวที่เป็นคนหน้าด่านต่อสู้กับโรคแล้วละก็ เราจะดูแลความรักกันอย่างไรดี ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกัน” สำหรับผู้คนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคโควิด-19 หรือผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกับคนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรค ให้สามารถดูแลความรักในชีวิตของเราและส่งกำลังใจดูแลกันและกันได้ไม่ให้ความรักล้มป่วยไปเสียก่อน โดยคู่มือฉบับนี้จะนำเสนอ “ภาษาชูกำลัง (ใจ)” ที่จะทำให้ใจใกล้กันได้แม้กายต้องห่าง อันนำไปสู่วิธีบอกรักแบบพอดีๆ
เรายังรักกันทุกวันจ้ะ
สื่อหนังสือภาพ 'เรายังรักกันทุกวันจ้ะ' โดยโครงการภูมิคุ้มใจและแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเป็นสื่อกลางให้ครอบครัวและเด็กๆ ได้เข้าใจถึงการสื่อสารภาษารักในรูปแบบต่างๆ ผ่านตัวละครครอบครัวหมีน้อยในนิทานเล่มนี้ โดยมีภาษารักแทนการกอดหรือหอมแก้มซึ่งไม่สามารถทำได้ในช่วงของการรักษาระยะห่างหรือ Social Distance ตัวอย่างเช่น การบอกรักด้วยคำพูด การบอกรักด้วยการดูแล เตรียมน้ำ เตรียมขนม หรือการบอกรักด้วยของขวัญแทนใจ ดังนั้น แม้ตัวจะห่างแต่หัวใจเรายังใกล้กันได้ผ่านภาษารักเหล่านี้
อานีสกับกอล์ฟสู้โควิด-19
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 เป็นโรคระบาดที่มีความรุนแรง สร้างความหวาดกลัวให้กับทั่วโลก ทว่าทุกคนสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคระบาดนี้ได้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคุณหมอและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ วันนี้ “อานีสกับกอล์ฟ” จะมาบอกถึงวิธีการต่อสู้กับโควิด 19 เริ่มจากการใส่ใจสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อย ๆ รักษาระยะห่าง 2 เมตรขึ้นไป กินร้อนช้อนเรา และที่สำคัญช่วงการแพร่ระบาดโควิด 19 ให้อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อส่วนร่วมดีที่สุด
ดูแลหัวใจเจ้าตัวน้อยช่วงโควิด-19
อินโฟกราฟิกแนะนำเทคนิคให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการดูแลเด็กๆ ลูกหลานที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้านช่วงโควิด-19 เด็กๆ เองก็เครียดไม่แพ้กันและบางครั้งก็ไม่เข้าใจสถานการณ์ จำเป็นที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและช่วยประคับประคองให้เด็กๆ ผ่านช่วงนี้ไปด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งไม่แพ้ผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน
คาถาดูแลผู้สูงวัยช่วงโควิด-19
อินโฟกราฟิกแนะนำวิธีการดูแลผู้สูงวัย ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงในช่วงการระบาดโควิด-19 ประกอบด้วยการดูแลทั้งด้านร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ และการดูแลสภาพจิตใจให้ไม่เผชิญหน้ากับความเครียดหรือเป็นทุกข์ในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ
เล่น สานสัมพันธ์ครอบครัวฝ่าวิกฤติโควิด-19 ตอน มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับช่วงอายุ 2-9 ปี
เมื่อ “บ้าน” กลายเป็นที่ทำงานของพ่อแม่ และลูก ๆ ต้องอยู่กับพ่อแม่ เพื่อทำตามมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ ในช่วงของวิกฤติวิด 19 การสร้างสรรค์มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับเด็กอายุ 2-9 ปี จึงทำให้พ่อแม่มีสมาธิและเวลาในการทำงาน ขณะเดียวกันเด็ก ๆ ก็ได้เรียนรู้และพัฒนาการตามวัย โดยมุมเล่นที่น่าสนใจมีทั้ง มุมทราย, มุมบ้านจำลอง, มุมเล่นขายของ, มุมอุโมงค์ และมุมแฟนตาซีหรือมุมเล่นแต่งตัว โดยพ่อแม่ชวนลูก ๆ ช่วยอันออกแบบมุมที่ลูกชอบเล่น จากนั้นพ่อแม่ตกลงกับลูกว่าต้องเล่นในมุมของตนเอง แล้วพ่อแม่จึงออกมาทำงานและค่อนสังเกตการณ์ห่างๆ ปล่อยให้ลูกเล่นตามจินตนาการและความสนุกสนาน
ลดความกังวลเรื่องโควิด-19 ด้วยการหาสิ่งที่เราควรใส่ใจ
ในสถาการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อโรคอุบัติใหม่อย่างไวรัสโควิด – 19 เราควรมีวิธีการดูแลสภาพจิตใจของตนเอง ให้แบ่งเรื่องออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ควบคุมไม่ให้ปล่อยว่าง และหันมาใส่ใจในเรื่องที่เราควบคุมได้ อย่างเช่นการดูแลสุขภาพตนเองกันดีกว่า