สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP4 Mental Garden กับการใช้ชีวิต
การดูแลจิตใจให้เหมือนดูแลสวนหลังบ้าน หรือ Mental Garden เป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติให้เป็นกิจวัตรในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่การแยกระหว่างการปฏิบัติติธรรมกับการใช้ชีวิต การที่เราสามารถกำจัดวัชพืช-อกุศลในใจจากความโกธร หลง ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ก็มิได้รับประกันว่าโจรหรือกิเลส อกุศลต่าง ๆ จะไม่เข้ามากระทบใจเรา เราจำเป็นต้องมีสติ เจริญภาวนา และทำสมาธิเสมอ เพื่อให้ทุกสภาวะของจิตเป็นกลางตลอดเวลา
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP3 Mental Garden ดูแลจิตใจแบบดูแลสวนหลังบ้าน
การดูแลใจให้เหมือนดูแลสวนหลังบ้าน แนวคิดนี้ เพื่อเป็นการชำระล้างใจให้เบา สบาย คลายความวิตกกังวล เหตุที่เปรียบกับสวนหลังบ้าน เพราะการปฏิบัติธรรม หรือการเจริญภาวนา เพื่อปรับใจให้คลายทุกข์และเป็นสุข ไม่จำเป็นต้องจัดสวนหน้าบ้านไว้โออวดใคร การหมั่นกำจัดวัชพืชในสวนหลังบ้าน เสมือนการนำเอา “อกุศล” ออกจากใจ โดยยึดหลัก ของใหม่ไม่เอาเข้า - ของเก่าให้นำออก และหมั่นดูแลดอกไม้เล็กที่เป็นกุศลให้เติบโตในใจของเราเอง
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP2 New Normal ของใจที่ได้จากโรคโควิดคืออย่างไร
หลังวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 โรคอุบัติใหม่ ทุกคนได้ปรับเปลี่ยนชีวิตสู่รูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal กันมากมาย แล้วเมื่อพูดถึง New Normal ของใจ ทุกคนรู้ไหมว่าคืออะไร ? การดูแลใจในรูปแบบของ New Normal คือการติด “เซนเซอร์ที่ใจ” ทำให้ใจมีการใคร่ครวญ ตอบสนองด้วยสติและปัญญา ไม่ทำอะไรรวดเร็วตามอารมณ์ ตามอัตโนมัติวูบไปวาปมา New Normal ของใจต้องตระหนักรู้-ยอมรับ-กลับสู่ความจริง
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP1 การยอมอย่างไม่มีเงื่อนไข คือการปล่อยวางที่แท้จริง
เชื่อว่าในช่วงชีวิตของคนเราต้องมีการเผชิญกับสิ่งที่กังวลและหวาดกลัว การต่อสู้ หรือวิ่งหนีความกลัวเหล่านั้นใช่ทางออกที่แท้จริงหรือไม่ ? รศ. นพ. ชัชวาล ศิลปะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้ให้ข้อคิดกับทุกคนที่ต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ ของชีวิต คือ “การยอมรับความจริงอย่างไท่มีเงื่อนไข คือการปล่อนวางอย่างแท้จริง เพื่อเรียกสติว่าเราจะลุกขึ้นสู้ใหม่อย่างไร เหมือนเราอยู่ในทะเล หากมีคลื่นมา ก็แค่ประคองตัวไปกับคลื่นนั้นให้ผ่านไปได้ เราไม่ได้มีหน้าที่ทำให้คลื่นสงบ
E-book ถอดบันทึก สุขสัญจรออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom
ช่วงวิกฤตโควิด -19 ระยะแรก มาตรการควบคุมโรคทําให้กิจกรรมต่าง ๆ ไม่สามารถดําเนินไปได้อย่าง ปกติ ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม ทํางานจากบ้าน ใส่หน้ากากอนามัย กิจการ ห้างร้านต้องปิดลงชั่วคราว โครงการหรือกิจกรรมอบรม สัมมนาต่าง ๆ ถูกยกเลิก หรือเลื่อนไปอย่างไม่มีกําหนด ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดําเนินชีวิตในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา โดยมี เภสัชกรหญิง ชรรินชร เสถียร ผู้ช่วยอาจารย์ประจําศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เป็นผู้ริเริ่มและบริหารจัดการ เนื้อหาหลัก ๆ แบ่งเป็นสองช่วง ๆ ละ 4 ตอน ช่วงแรกเกี่ยวกับการเผชิญภาวะวิกฤต และช่วงที่สองเกี่ยวกับ ชีวิตวิถีใหม่ ในรูปแบบการบรรยายร่วมกับการตอบคําถาม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รักที่ต้องอยู่ด้วยกันในสถานการณ์โควิด-19
โควิดทำให้เราพูดกันไม่รู้เรื่อง โกรธกัน ทะเลาะกันง่ายหรือไม่ ไม่อยากให้ความสัมพันธ์ต้องพังลง ทำอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ของเรากับคนรักตอนนี้เป็นอย่างไร หลังที่ต้องอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลาส่งผลให้เราทะเลาะกันเพิ่มหรือไม่ หรือห่างเหินกันมากกว่าเดิมหรือเปล่า? ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รัก” เพื่อแนะนำแนวทางในการดูแลใจ เพิ่มความเข้าใจ เชื่อมสัมพันธ์และสร้างภูมิคุ้มใจเพิ่มให้กันและกัน โดยเนื้อหาในคู่มือฉบับนี้ว่าด้วย เราจะดูแลใจอย่างไรเมื่อความโกรธปรากฏขึ้น จะสื่อสารกับคนรักให้เข้าใจกันมากขึ้นได้อย่างไร และเราจะได้ย้อนเวลาหาความรัก เพื่อดูแลใจและความรักของคนรักไปได้พร้อมๆ กัน
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกันในสถานการณ์โควิด-19
ต่อสู่กับโควิด-19 อยู่ด้านหน้าแทบขาดใจ อยากกอดครอบครัวแค่ไหนก็ทำไม่ได้ จะบอกรักพวกเขาอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่หากมันกลับมาอีกครั้งเราในฐานะผู้ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าการต่อสู้กับไวรัสหรือเรามีคนในครอบครัวที่เป็นคนหน้าด่านต่อสู้กับโรคแล้วละก็ เราจะดูแลความรักกันอย่างไรดี ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกัน” สำหรับผู้คนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคโควิด-19 หรือผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกับคนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรค ให้สามารถดูแลความรักในชีวิตของเราและส่งกำลังใจดูแลกันและกันได้ไม่ให้ความรักล้มป่วยไปเสียก่อน โดยคู่มือฉบับนี้จะนำเสนอ “ภาษาชูกำลัง (ใจ)” ที่จะทำให้ใจใกล้กันได้แม้กายต้องห่าง อันนำไปสู่วิธีบอกรักแบบพอดีๆ
อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้าน...โควิด เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ
สามารถดาวน์โหลดสื่อได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=536
อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้าน...โควิด เวอร์ชั่นภาษาจีน
สามารถดาวน์โหลดสื่อได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=535
เรายังรักกันทุกวันจ้ะ
สื่อหนังสือภาพ 'เรายังรักกันทุกวันจ้ะ' โดยโครงการภูมิคุ้มใจและแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเป็นสื่อกลางให้ครอบครัวและเด็กๆ ได้เข้าใจถึงการสื่อสารภาษารักในรูปแบบต่างๆ ผ่านตัวละครครอบครัวหมีน้อยในนิทานเล่มนี้ โดยมีภาษารักแทนการกอดหรือหอมแก้มซึ่งไม่สามารถทำได้ในช่วงของการรักษาระยะห่างหรือ Social Distance ตัวอย่างเช่น การบอกรักด้วยคำพูด การบอกรักด้วยการดูแล เตรียมน้ำ เตรียมขนม หรือการบอกรักด้วยของขวัญแทนใจ ดังนั้น แม้ตัวจะห่างแต่หัวใจเรายังใกล้กันได้ผ่านภาษารักเหล่านี้
อานีสกับกอล์ฟสู้โควิด-19
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 เป็นโรคระบาดที่มีความรุนแรง สร้างความหวาดกลัวให้กับทั่วโลก ทว่าทุกคนสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคระบาดนี้ได้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคุณหมอและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ วันนี้ “อานีสกับกอล์ฟ” จะมาบอกถึงวิธีการต่อสู้กับโควิด 19 เริ่มจากการใส่ใจสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อย ๆ รักษาระยะห่าง 2 เมตรขึ้นไป กินร้อนช้อนเรา และที่สำคัญช่วงการแพร่ระบาดโควิด 19 ให้อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อส่วนร่วมดีที่สุด
ดูแลหัวใจเจ้าตัวน้อยช่วงโควิด-19
อินโฟกราฟิกแนะนำเทคนิคให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการดูแลเด็กๆ ลูกหลานที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้านช่วงโควิด-19 เด็กๆ เองก็เครียดไม่แพ้กันและบางครั้งก็ไม่เข้าใจสถานการณ์ จำเป็นที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและช่วยประคับประคองให้เด็กๆ ผ่านช่วงนี้ไปด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งไม่แพ้ผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน