trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "โครงการ" พบ 298 ข้อมูล

รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา - เข้าใจแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อไม่พาผู้ป่วยระยะท้ายมายื้อความตายยาวนาน

บทความสัมภาษณ์ รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา เรื่อง บทบาทที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินและคำแนะนำความรู้ความเข้าใจต่อความเจ็บปวดในการยื้อชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหน้าที่ที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินมีไว้เพื่อรองรับคนไข้ที่ยังมีโอกาสรอดต่อไป ไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยระยะท้ายค่อยๆ จากไปอย่างสงบสุขได้ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรทำความเข้าใจกับสิ่งสุดท้ายที่ผู้ป่วยระยะท้ายทุกคนต้องการจริงๆ คือ การลดความเจ็บปวดทรมานทางกาย หาที่พึ่งพิงทางใจ การตอบเรื่องจิตวิญญาณ การจัดการเรื่องทางสังคมและสถานที่ที่อบอุ่นเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้จากไปอย่างสงบ  

คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ - แท้จริงแล้ว ความตายไม่ใช่ศัตรู

บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson    ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานที่ปรึกษา บริษัท ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม เธอสนใจศึกษาธรรมะ ชีวิต และความตายมาอย่างยาวนาน มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์เรื่องการตายดีสำหรับสังคมไทย เธอเป็นวิทยากรและช่วยรวบรวมองค์ความรู้ทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยระยะท้าย จนเมื่อต้องมาเผชิญหน้ากับภาวะเจ็บป่วยครั้งนี้ด้วยตัวเอง นี่คือบทสนทนาแบบคำต่อคำ ว่าเธอคิดและมองความตายอย่างไร   คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ให้สัมภาษณ์กับ a day BULLETIN  

สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง วิทยาศาสตร์ โดยนายแพทย์ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล

“ผมมองว่าการตื่นรู้ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อะไร แต่เป็นมุมมองชีวิต เป็นเรื่องของตัวเราเอง เป็นศักยภาพพื้นฐานของมนุษย์ ที่ทุกคนจำเป็นต้องมี” "มนุษย์มีศักยภาพที่จะตื่นรู้ เป็นเรื่องของจิตไม่ใช่ แค่ร่างกาย การตื่นรู้ในมุมของผมจึงไม่ใช่ความสามารถพิเศษ (Extra Ability) แต่เป็นความต้องการพื้นฐานที่สุด (Minimal Requirement) ในการเป็นมนุษย์” (ส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ONE หนึ่งเดียวกัน") - หมอปอง -

สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง ปรัชญา โดย ดร เมธา หริมเทพาธิป

เมื่อผู้ตื่นรู้สามารถรวมใจกันให้เป็น Oneness ย่อมสามารถสร้างสรรค์สังคมเพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมร่วมกันได้ด้วย ความรักความเข้าใจ ความงามในจิตใจ และความรักในเพื่อนมนุษย์ตามความเป็นจริง สิ่งที่ทำได้เลยก็คือ ความเข้าใจ การยอมรับ และอภัยตนเองจากนั้นก็มองให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ‘การเชื่อมต่อ” (Connect) ด้วยอำนาจและผลประโยชน์ แท้จริงแล้วเป็น ‘การปฏิเสธการเชื่อมต่อ’ (Disconnect) การเชื่อมต่อให้ลึกถึงระดับความรู้สึกทางจิตใจนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการเข้าถึงความจริง ความงาม ความรักในตัวมนุษย์ เข้าใจตนเอง เห็นใจเห็นผู้อื่น เชื่อมโยงด้วยความรักความเข้าใจกับเพื่อนมนุษย์ . - ดร.เมธา หริมเทพาธิป ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ONE หนึ่งเดียวกัน"

สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง จิตวิญญาณ โดย คุณจุรี พิพัฒนรังคะ ครูบี

ตระหนักถึงความจริงว่าไม่มีสิ่งใดในโลก ที่ไม่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับสิ่งอื่น มีความรักให้ทุกชีวิตโดยไม่แบ่งแยก ตระหนักถึงที่ว่างอันกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต แผ่กว้างไพศาลข้างในตัวคุณ ยอมรับความแตกต่างมากขึ้น ไม่ได้มองว่ามันเป็นปัญหา พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น เห็นว่าทุกข์ของผู้อื่นคือทุกข์ของเรา เห็นตัวเราและสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แยกออกจากกัน เข้าใจความรักที่แท้จริง ความรักที่ไปพ้นขั้วบวกและลบ ไม่มีพวกเรา-พวกเขา ไม่มีฉัน-ไม่มีเธอ มีแต่ความเป็นดั่งกันและกัน ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากบอร์ดเกม "Path to Oneness - ทางสู่หนึ่งเดียวกัน"

ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล หัวข้อ “ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน” ถ่ายทอดสดจากวัดป่าสุคะโต We Oneness Live เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน - We Oneness“ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสหธรรมิกชนภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth

สังคมอริยะชน Part 2 โดย พระอาจารย์สมทบ ปรักกโม

สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรักกฺโม ในหัวข้อสังคมอริยะชน ช่วงที่สอง เป็นการเสวนาธรรมและตอบคำถามแก่ผู้เข้าร่วมเสวนาธรรม เรื่องการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งปัญญาหรืออริยะสังคม ซึ่งอริยะสังคมสามารถสร้างได้จากการริเริ่มพัฒนาศักยภาพภายในตัวบุคคล โดยนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อฝึกฝนและพัฒนาตนให้เกิดสติปัญญารู้เท่าทันไม่ประมาท รู้เหตุรู้ผล รู้คุณ รู้โทษและฉลาดในการเห็นความจริง เพื่อที่จะรับมือกับสิ่งที่เข้ามาในชีวิตได้อย่างมีสติและช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยดีงาม

สังคมอริยะชน Part 1 โดย พระอาจารย์สมทบ ปรักกโม

สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรกฺกโม ช่วงที่หนึ่ง เรื่องหนทางสู่การเป็น “อริยะชน” หรือ ผู้ที่เข้าถึงคุณธรรม รู้เท่าทันตนเอง มีสติและฉลาดในการจัดการ โดยการนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้และฝึกฝนในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาศักยภาพในตัวเราให้มีคุณสมบัติของอริยะชน คือ รู้เท่าทันตนเอง มีความเพียรและใฝ่รู้ รู้จักการเสียสละไม่ยึดถือ มีสติปัญญาในการจัดการที่ดีและมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเองในการทำสิ่งที่ดีงามได้ รวมถึงประพฤติตนให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและสามารถนำพาชีวิตของตนเองไปสู่จุดหมายได้อย่างมีความสุขจากภายในที่แท้จริง

เราจะเป็นมิตรกับตนเอง ได้อย่างไร โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “การเป็นหนึ่งกับตัวเองอย่างมีคุณค่า” โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ถ่ายทอดสดจากงาน Wake up ONE : Writers & Stars Awakening Workshop กิจกรรม Wake up ONE เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน - We Oneness“ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสหธรรมิกชนภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth

We Oneness คือ

We Oneness ในมูลนิธิสหธรรมนิกชน เกิดจากความตั้งใจในการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้ ของกลุ่มกัลยาณมิตรที่มีความหลากหลายในวิธีคิดแต่มีสัจจะความจริงเดียวกัน  ซึ่งมีเป้าหมายที่อยากจะให้ผู้คนหันกลับมาสนใจเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิตให้เกิดการตระหนักรู้โดยการนำหลักพระพุทธศาสนา ศาสตร์เพื่อการตื่นรู้ เพื่อให้มนุษย์ยุคนี้กลับมารู้จักตัวเองและนำวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดสังคมต้นแบบหรือสังคมอาริยะชน อีกทั้งเป้าหมายหลักของมูลนิธิสหธรรมนิกชน คือ ขยายพื้นที่ทางความคิดและเพิ่มกัลยาณมิตรในสังคม

The Last Life Lesson เตรียมจัดกระเป๋าออกเดินทางครั้งสุดท้าย

จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘เตรียมจัดกระเป๋าออกเดินทางครั้งสุดท้าย’พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญการวางแผนการเงิน -- เราเองอยากจะมีความเป็นอยู่อย่างไรเมื่อเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต ? การเตรียมการทางการเงินเพียงพอหรือไม่ ?  มีวิธีคำนวณอย่างไร ? เราอยากจะให้ญาติรอบตัวเข้ามาช่วยทำตามความต้องการนั้นอย่างไร ? จัดการเอกสารทางกฏหมายและวางแผนการเงินในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่  เพื่อเตรียมตัวในการออกเดินทางครั้งสุดท้าย    

The Last Life Lesson ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน

จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน’ โดย รศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี --  เมื่อผู้ป่วยระยะท้ายต้องมาที่ห้องฉุกเฉิน  การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง ?  ห้องฉุกเฉินสามารถตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) ได้จริงหรือไม่ ?     

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.