trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "โครงการ" พบ 298 ข้อมูล

สื่อศิลป์ SE - ประทีป อ่อนสลุง โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม

บริษัท ไทยเบิ้ง โคกสลุง จำกัด ต.โคกสลุง จ.ลพบุรี เป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของคนในชุมชน พี่มืด - ประทีป อ่อนสลุง ผู้ประสานงานหลักไทยเบิ้งโคกสลุง เล่าว่าการทำงานพัฒนาชุมชนเป็นการทำงานที่ไม่มีวันเสร็จ เราต้องสร้างคนรุ่นใหม่ เพื่อมาสืบสานงานต่อเสมอและเน้นการทำงานที่สร้างสมดุลระหว่าง “มูลค่า” และ “คุณค่า” เพราะถ้าคุยกันแต่เรื่องกำไรผลประโยชน์ ความยั่งยืนของชุมชนก็ไม่มีวันเกิด เราจำเป็นต้องสร้างเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ เป็นเด็กและเยาวชนให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด เราต้องเอาแนวคิดร่วมสมัยของคนรุ่นใหม่มาสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่นให้มีคุณค่า ซึ่งกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้เราต้องถอดบทเรียนสร้างเป็นหลักสูตร เพื่ออบรมและสร้างกระบวนการทำงานใหม่ ๆ ที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป   กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_YlnYKqe/

สื่อศิลป์ SE - ชมพิศ ปิ่นเมือง โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม อำเภอสหัสขันธ์

บริษัท สหัสขันธ์ จูราสสิก แอนด ทราเวล จำกัด หนี่งในวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมที่นำความโดดเด่นของพื้นที่ อ.สหัสขันธ์ มาพัฒนาให้เป็นต้นแบบชุมชนท่องเที่ยวสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ คุณชมพิศ ปิ่นเมือง ประธานวิสาหกิจชุมชนสหัสขันธ์ สะท้อนแนวคิดการพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืนโดยนำการท่องเที่ยวเป็นแกนกลางในการขยายเครือข่ายการทำงาน ทำให้เกิดการต่อยอดไม่สิ้นสุดโดยนำความเชื่อและศรัทธาของชุมชนที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาร้อยเรียงเข้ากับคุณค่าของโบราณสถานอย่างวัดวาอาราม หรือ การค้นพบ ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ใหญ่เพื่อสร้างเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวอันโดดเด่นต่อการต้อนรับผู้คนที่เดินทางมาที่ อ.สหัสขันธ์ และได้มีการส่งต่อคุณค่าของชุมชนด้วยการอบรมมัคคุเทศก์ที่หลากหลายวัย ให้เกิดการเรียนรู้ และซึมซับคุณค่าของชุมชนอย่างต่อเนื่อง   กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_JoG6-1L/

สื่อศิลป์ SE - สกาวกวิน กาญจนเสมา กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม สืบสานภูมิปัญญาล้านนา

เพื่อน - สกาวกวิน กาญจนเสมา ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนล้านนา เปิดใจถึงการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ตนเองได้รับเมื่อมีโอกาสมาทำงานกับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม จากเดิมที่ตนเป็นคนไม่กล้าแสดงออก หรือการพูดในที่สาธารณะ ขณะนี้ตนมีทักษะการพูด การแสดงออกเพื่อสื่อสารงานที่ขับเคลื่อน รวมทั้งมีทักษะในการประสานงานกับเครือข่ายภาคีในการเปิดพื้นที่สืบสานล้านนาให้กว้างขวางขึ้น ที่ไม่เพียงเป็นการสานพลังของรากเหง้าในชุมชน ยังเป็นการส่งต่อภูมิปัญญาล้านนาให้กับคนรุ่นใหม่ได้นำมาผสมผสานกับวัฒนธรรมอุษาคเนย์ หรือตะวันตก เพื่อสร้างสรรค์เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่จากรุ่นสู่รุ่น   กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_8ScWwZ_/

สื่อศิลป์ SE - แววดาว ศิริสุข กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม (Social Enterprise) สืบสานภูมิปัญญาล้านนา

คุณแววดาว ศิริสุข ได้เล่าถึงความสำเร็จของการขับเคลื่อน “โครงการสืบสานล้านนาสร้างสรรค์ ต่อยอดภูมิปัญญา นำพาวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน”  ที่เกิดจากถ่ายทอดภูมิรู้จากผู้อาวุโสของชุมชนสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อส่งต่อไปยังเด็กเยาวชนที่จะเติบโตมาเป็นพลังสำคัญในการสร้าง พื้นที่ดี-ภูมิดี-สื่อดี  โดยที่ผ่านมามีผลงานน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ กิจกรรม “กินข้าวซอย กอยน้ำปิง อิงประวัติศาสตร์” ที่นำแนวคิดชุมชนพึ่งพาตนเอง มาออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม  จนเป็นที่นิยมและรู้จักของนักท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้และความยั่งยืนให้กับท้องถิ่น  และอีกหนึ่งกิจกรรม คือ “ฟ้อนล้านนาเพื่อการบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ” เป็นการผสามผสานระหว่างความบันเทิงกับการออกกำลังกาย ช่วยสานสัมพันธ์ของคนต่างวัยให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง   กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป  https://fb.watch/im2Aoy0PgO/     

The Reading อ่านสร้างสุข โดย อ. สมบูรณ์ ศิงฆมานันท์ EP.1

อ.สมบูรณ์ ศิงฆมานันท์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งวรรณกรรมสำหรับเด็ก มศว. ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจในการริเริ่มวรรณกรรมสำหรับเด็ก เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ซึ่งเป็นประตูบานแรกที่สร้างจินตนาการให้กับเด็ก  จากจุดเริ่มต้นในการทำอาชีพครูที่บ้านเกิด ณ โรงเรียนสตรีพัทลุง  กระทั่งได้มาเป็นครูประจำที่โรงเรียนสวนกุหลาบ และได้เรียนต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) และย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเต็มตัวกว่า 30 ปี  ระหว่างที่ทำงานเป็นอาจารย์อยู่นั้น อ.สมบูรณ์ พบว่าเด็กๆ ในชนบทมีความขาดแคลนหนังสืออยู่มาก  จึงก่อตั้ง “โครงการหนังสือเพื่อเด็กชนบท” ขึ้น  และขยายการทำงานเป็น “ห้องสมุดฉบับกระเป๋า” ที่ถูกออกแบบให้เป็นชั้นวางหนังสือแบบพกพาที่เปิดออกมามีหนังสืออยู่ในนั้น  เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้มีหนังสือดี ๆ อ่านกัน   กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/ilZfRwlilA/

รายงานการวิจัยการทบทวนและการสร้างกรอบมโนทัศน์ของสุขภาวะทางปัญญาในคนวัยทำงาน

ปัจจุบันโลกของเรากำลังเผชิญวิกฤตสถานการณ์โลกปั่นป่วนที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งสังคมไทยของเราก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน จากสถานการณ์ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ สงคราม โรคระบาด ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ ปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพกายและจิตใจ งานวิจัยการทบทวนและการสร้างกรอบมโนทัศน์ของสุขภาวะทางปัญญาในคนวัยทำงานชุดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสุขภาวะทางปัญญา ด้วยการใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์เนื้อหาที่สามารถแบ่งกรอบมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับสุขภาวะทางปัญญาของคนวัยทำงานในสังคมไทยได้ 3 ประเด็นหลัก คือ การหยั่งรู้ความเป็นจริงทั้งภายในตนเองและโลกภายนอก การสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้อื่นและธรรมชาติ อีกทั้งงานวิจัยชุดนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นชุดกิจกรรมเชิงประสบการณ์ เพื่อพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและช่วยเหลือเยียวยาคนวัยทำงานในสังคมให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้

หลักสูตรวัยเพชร รู้ทันสื่อ

วัยเพชร คือ วัยที่เปรียบได้ดั่ง ”เพชร”ที่ผ่านการเจียระไนด้วยประสบการณ์ แต่ด้วยความถดถอยทางร่างกายจึงทำให้วัยเพชร หรือผู้สูงอายุมีความรอบในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารในโลกปัจจุบันน้อยลง "หลักสูตรวัยเพชรรู้เท่าทันสื่อ" เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติในโครงการสูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยงที่มีเนื้อหาสาระเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านกิจกรรม เนื้อหาและวิธีการสอนในแต่ละบทมีลักษณะสั้นกระชับเข้าใจง่าย เพื่อให้ง่ายต่อการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อและภูมิคุ้มกันในการบริโภคสื่อให้กับผู้สูงอายุให้ปลอดภัยจากการเสพข้อมูลข่าวสารในแต่ละวัน

ฉลาดทำบุญ โครงการปันกันอิ่ม

ในแต่ละวันเราทำบุญแบบไหนกันบ้าง คลิปวิดีโอ “ฉลาดทำบุญ” โครงการปันกันอิ่ม โครงการดีๆ ที่ทำให้เราได้เห็นอีกมุมหนึ่งของสังคมที่มีน้ำใจและเต็มใจที่จะแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่นเพื่อบรรเทาทุกข์ โดยมีทั้งร้านอาหารและร้านน้ำที่มองเห็นว่าการแบ่งปัน คือ การทำบุญรูปแบบหนึ่งและสนใจเข้าร่วมโครงการ เพราะได้ทั้งทำบุญและได้ความสุขใจเมื่อเห็นผู้อื่นอิ่มท้อง พร้อมทั้งได้เชิญชวนร้านค้าต่างๆ ให้เข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน เพราะการให้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้สังคมมีความสุข

The Reading อ่านสร้างสุข โดย รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ EP.2

การเล่านิทานและการผลิตสื่อที่เข้าใจง่าย เช่น การวาดรูปและการพับกระดาษประกอบการเล่านิทานให้เด็กฟังจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเด็กๆ เพราะเด็กๆ จะได้ทั้งประโยชน์จากการใช้กล้ามเนื้อมือ การพัฒนาทักษะการคิด การวางแผนและยังมีความผูกพันกับตัวละครในเรื่อง The Reading อ่านสร้างสุข โดย รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ Ep.2 ในคลิปวิดีโอที่สองนี้ ป้ากุล จะมาเล่านิทานพร้อมทั้งแนะนำการออกเสียงภาษาไทยที่ถูกต้องด้วยเรื่อง ทำไม ช.ช้าง จมูกยาว กับเทคนิคการเล่านิทานที่มีทั้งการพับกระดาษและการร้องเพลงมาช่วยหนุนพลังรักการอ่าน ซึ่งเด็กๆ จะได้ทั้งความรู้เรื่องการออกเสียงภาษาไทยที่ถูกต้องและยังได้ฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ผ่านทางภาพศิลปะในนิทานและการพับกระดาษ

The Reading อ่านสร้างสุข โดย รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ EP.3

หนังสือดีสำหรับเด็กส่วนมากมักจะมีราคาแพง แต่เราสามารถสร้างหนังสือดีสำหรับเด็กที่มีเพียงแค่เล่มเดียวในโลกได้ง่ายๆ ด้วยฝีมือของเราเอง The Reading อ่านสร้างสุข โดย รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ Ep.3 ในคลิปวิดีโอที่สาม นี้ ป้ากุลจะมาสาธิตวิธีทำหนังสือนิทานขั้นบันไดสำหรับเด็กด้วยวัสดุเหลือใช้ใกล้ตัว ที่มีวิธีการทำที่ทั้งง่ายและสร้างสรรค์ แถมป้ากุลยังได้เล่าถึงที่มาและแรงบันดาลใจของป้ากุลในผลงานนิทานเรื่อง เพื่อนหายไปไหน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากหนังสือนิทานทำมือจนกระทั่งได้กลายเป็นนิทานฉบับตีพิมพ์

ผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพ จ๊ะเอ๋ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้

“จ๊ะเอ๋” คลิปวิดีโอผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่หยิบนิทานภาพมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัวและสร้างวัฒนธรรมการกอดให้เกิดขึ้นในครอบครัวระหว่างพ่อแม่และลูกให้มีความใกล้ชิดและช่วงเวลาแห่งความรักร่วมกันทุกวัน หนังสือนิทานภาพถือเป็นบันไดขั้นแรกที่ปลูกฝังทั้งการรักการอ่านและสร้างพัฒนาการทางด้านสติปัญญาให้แก่เด็ก อีกทั้งผลการวิจัยพบว่าหลังจากที่ผู้ปกครองและเด็กได้เล่น “จ๊ะเอ๋” กันทุกวัน เด็กๆ มีความกล้าที่จะกอดพ่อแม่มากขึ้น เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งความรักที่สร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัว

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.