จะไปไหนจ๊ะ (2 ภาษา : ไทย - มลายู : รูปเขียนยาวี)
“จะไปไหนจ๊ะ” ฉบับพิมพ์ 2 ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษามลายู เนื้อหานิทานเสริมสร้างการเรียนรู้ในโลกกว้าง ให้เด็ก ๆ ได้รู้จักการเดินทางของสัตว์ต่าง ๆ หลากหลายชนิดที่มีการเดินทางหลากหลายรูปแบบ ทั้งบิน กระโดด ไต่ ฯลฯ เพื่อให้เด็ก ๆ เรียนรู้และรู้จักสังเกตการเคลื่อนไหวของสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว
ตูมตูม บานบาน
“ตูมตูม บานบาน” นิทานที่จะแนะนำดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จักดอกไม้จากรูปร่างที่มีทั้งตูมและบาน โดยสอดแทรกเรื่องของสีสัน จำนวน ให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนทั้งการนับจำนวนเลข พร้อมทั้งเรียนรู้เรื่องสีสันต่างๆ ไปพร้อมกันอย่างเพลิดเพลิน
พ่อช้างผู้หวังดี
อยู่ๆ วันหนึ่ง ณ ป่าที่เคยสงบสุข ก็เกิดเหล่าสัตว์ป่ามากมาย มีอาการเอะอะ โวยวาย ขาดสติ ทำร้ายกัน จน “พ่อช้างผู้หวังดี” สืบหาสาเหตุ พบว่ามาจากบ่อน้ำที่หมักผลไม้เน่าเสีย จนกลายเป็น ”น้ำเมา” พ่อช้างจึงหาใบไม้มากลบปิดไว้ เพื่อคืนความสงบสุขให้ป่าดังเดิม นิทานนี้สะท้อนแนวคิดให้เด็ก ๆ เห็นถึงผลเสียของสุราหรือน้ำเมา
ฉึกฉัก ฉึกฉัก
“ฉึกฉัก ฉึกฉัก” นิทานเสริมสร้างจินตนาการให้เด็ก ๆ สนุกกับการอ่านออกเสียง กับภาษาที่ล้อเสียงตามเพื่อนๆ สัตว์น้อยนานาชนิด ทั้งแมวน้อย หมาน้อย เสือน้อย จนถึงนกน้อย ที่ต่างร่วมเดินทางมาในขบวนรถไฟแห่งมิตรภาพนี้
อ่านสร้างสุข 21 การอ่านมหัศจรรย์แห่งสุขภาพ สุขชีวิต
อ่านสร้างสุข ๒๑ การอ่านมหัศจรรย์แห่งสุขภาพ – สุขชีวิต รวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาที่สำคัญจากหลายเทศถึงประโยชน์ของการอ่านที่ส่งผลต่อสุขภาพเชิงคุณภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจทั้งยังช่วยป้องกันโรคและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกว่า การอ่านหนังสือเล่ม และการอ่านบนเครื่องมือสื่อสารให้ผลต่อร่างกายและจิตใจแตกต่างกันหรือไม่ เหตุใดยังการอ่านหนังสือเล่มจึงยังได้รับความนิยมอยู่จนถึงปัจจุบัน
เรื่องเล่าสำหรับเด็กออทิสติก : สวัสดี ฉบับ เด็กหญิง
สวัสดี ฉบับเด็กหญิง เป็น 1 ในนิทานเรื่องเล่าทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก เนื้อเรื่องในเล่มนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมพฤติกรรมให้เด็กรู้จักการไหว้สวัสดีคุณครูที่โรงเรียน ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันที่น่าชื่นชม
เรือน้อย
ครูวิภาพัฒนาเรื่องเรือน้อย จากความรู้สึกห่วงใย เพื่อพบเรือล่องอยู่อย่างเคว้งคว้าง กลางทะเล ครูชีวันพัฒนาเรื่องและสร้างสรรค์ภาพ เรื่องราวจึงยิ่งลุ่มลึกแต่ทว่าเรียบง่าย ประกอบกับภาพที่งดงาม เด็ก ๆ จึงจะเข้าถึงได้ไม่ยาก ครูวิภาพัฒนาเรื่องเรือน้อย จากความรู้สึกห่วงใย เพื่อพบเรือล่องอยู่อย่างเคว้งคว้าง กลางทะเล ครูชีวันพัฒนาเรื่องและสร้างสรรค์ภาพ เรื่องราวจึงยิ่งลุ่มลึกแต่ทว่าเรียบง่าย ประกอบกับภาพที่งดงาม เด็ก ๆ จึงจะเข้าถึงได้ไม่ยาก