trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "แผน" พบ 495 ข้อมูล

โครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ปีการศึกษา 2559

คลิปวิดีโอนำเสนอภาพรวมและความสำเร็จที่ผ่านมาตลอด 3 ปีแรกของโครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ภายใต้ยุทธศาสตร์อ่านสร้างสุข โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. นำการอ่านเข้าสู่สถานศึกษา เป็นเครื่องมือในการสร้างชีวิตสุขภาวะให้กับทั้งครู พ่อแม่ ชุมชน และเด็ก ๆ นำสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งผลสัมฤทธิ์การเรียนที่สูงขึ้น การลดปัญหาการติดเกม เยาวชนรักการอ่านมากขึ้น ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดกิจกรรมจิตอาสา เด็ก ๆ กลายเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จากผลสำเร็จจึงสานต่อสู่โครงการอ่านสร้างสุขสู่สถานศึกษาต้นแบบ 5 จังหวัดชายแดนใต้และกรุงเทพมหานคร

ใจสนุกตูน ฉบับ น้ำลดน้ำใจผุด

หนังสือทำมือที่เกิดจากกลุ่มนักเขียนและผู้รักงานการ์ตูน ได้รวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมสนุกๆ แบ่งปันสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม โดยมีชื่อเรียกกลุ่มว่า...ใจสนุก... สำหรับการ์ตูนเล่มนี้เล่าเรื่องชวนติดตาม สะท้อนเรื่องราวชีวิตและภารกิจการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในช่วงที่ประเทศไทย โดยเฉพาะที่กรุงเทพฯ เกิดน้ำท่วมใหญ่ เป็นช่วงที่ทุกคนฝ่าวิกฤตเหล่านั้นมาได้ด้วยน้ำใจที่มีให้แก่กันและกัน

แก่นสาระและสุนทรียภาพหนังสือเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กและสังคมไทย

หนังสือรวบรวมบทวิจัย และวิเคราะห์ หนังสือภาพ 108 เล่มที่เด็กปฐมวัยควรอ่าน ซึ่งคัดสรรขึ้นจากแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เพื่อเป็นแนวทาให้ผู้มีบทบาทในการส่งเสริมการอ่าน อาทิ นักเขียน นักสร้างสรรค์ภาพ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์  ได้มีแนวทางในการจัดทำหนังสือภาพที่ดี เพื่อเปิดหน้าต่างแห่งโอกาสให้กับเด็ก ๆ ต่อไป  โดยเนื้อหางานวิจัยจะเน้นแก่นสาระ ด้านแนวคิด เนื้อหา และการนำเสนอ และสุนทรียภาพด้านการออกแบบรูปเล่ม รวมถึงความสละสลวยของภาษา

เปิด 108 หนังสือดี เปิดหน้าต่างแห่งโอกาส ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย

แนะนำหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย 108 เล่มที่คัดสรรโดยคณะกรรมการคัดสรรหนังสือดีสำหรับเด็กปฐมวัย แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ภายในหนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาทฤษฎีหน้าต่างแห่งโอกาสในช่วงวัยต่าง ๆ ของเด็กปฐมวัย รูปแบบของหนังสือที่เหมาะกับในแต่ละช่วงวัยของเด็กปฐมวัย หลักเกณฑ์และคณะกรรมการคัดสรรหนังสือ รวมถึงรายละเอียดและรูปร่างหน้าตาของหนังสือทั้ง 108 เล่มเรียบตามลำดับตัวอักษร เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ คุณครู และผู้ปกครองที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก ได้ใช้เป็นแนวทางในการเลือกหนังสือเพื่อนำไปพัฒนาเด็กปฐมวัย 

ประมวลภาพงานมหกรรมการอ่านแห่งชาติ

ประมวลภาพบรรยากาศการจัดงานมหกรรมการอ่านแห่งชาติ “มหัศจรรย์การอ่านเพื่อเด็กปฐมวัย” วันที่ 10 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ณ สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ มักกะสัน กรุงเทพมหานคร

อ่านสร้างสุข 25 ปลดล็อกวิกฤตพัฒนการเด็กด้วยการอ่าน

แม้สถิติการอ่านของคนไทยจะดีขึ้น แต่ก็ยังต้องยอมรับว่ามีเด็กไทยอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงการอ่าน อันเนื่องมาจากความเข้าใจผิดของผู้ใหญ่ อ่านสร้างสุขฉบับนี้นำเสนอเนื้อหาประโยชน์ของการอ่าน ที่จะเข้ามาช่วยปลดล็อกและแก้ไขวิกฤตพัฒนาการเด็กได้ เพียงผู้ใหญ่ให้ความสำคัญและส่งเสริมให้เด็กเริ่มอ่านตั้งแต่ปฐมวัย 

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 10

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 10 "ทุกคนมีสิ่งที่พิเศษบางอย่างที่เรียกว่า ศาสนาของข้าพเจ้า อะไรคือศานาของเขา ศาสนาที่ซ่อนอยู่ในหัวใจของเขา และสร้างเขาอย่างต่อเนื่อง" โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1861 – 1941 

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 9

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 9 "ข้าพเจ้ารู้สึกว่าอินเดียที่แท้จริงเป็นแนวคิด ไม่ใช่เพียงข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ แนวคิดของอินเดียขัดแย้งกับสำนึกอันเข้มข้นของการแบ่งแยกประชาชนของตนเองออกจากชาติอื่น ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งไม่รู้จบสิ้น ดังนั้นคำอธิษฐานเพียงประการเดียวของข้าพเจ้า คือขอให้อินเดียสนับสนุนความร่วมมือกันของประชาชนทั่วโลก จิตวิญญาณของการปฏิเสธการสนับสนุนการรู้สึกแบ่งแยก จิตวิญญาณของการยอมรับความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" จากแนวคิดเรื่อง สวราช การปกครองตนเอง โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1861 - 1941  

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 8

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 8 "เมื่ออยู่ในชนบทข้าพเจ้าพยายามตลอดเวลาที่จะเรียนรู้ไปในรายละเอียดปลีกย่อยที่สุด งานของข้าพเจ้าทำให้ต้องเดินทางไกลจากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง จากศิลัยดาถึงหมู่บ้านปักติษา ผ่านแม่น้ำน้อยใหญ่และข้ามหนองน้ำ ด้วยวิธีนี้ข้าพเจ้าได้เห็นชีวิตในหมู่บ้านทุกด้าน ข้านเจ้ากระตือรือร้นอย่างยิ่งที่จะเข้าใจกิจวัตรประจำวันในหมู่บ้าน ความเป็นมาของชีวิตในหมู่บ้านที่สำคัญและน่าสนใจ ไม่นานนักก็เห็นความทุกข์ยาก โศกเศร้าของพวกเขาชัดเจน แล้วรู้สึกอดร้นทดไม่ได้ที่จะต้องทำอะไรบางอย่างกับเรื่องนี้ สำหรับข้าพเจ้ามันน่าละลายที่จะใช้ชีวิตแบบเจ้าที่ดิน สนใจแต่เรื่องหาเงิน และหมกมุ่นอยู่กับกำไรขาดทุนของตนเอง" โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1861 - 1941  

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 7

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 7 "หากเราปลดปล่อยหมู่บ้านได้แม้เพียงแห่งเดียว จากพันธนาการของความสิ้นหวังและอวิชชา ต้นแบบของอินเดียทั้งประเทศจะเกิดขึ้น ขอให้หมู่บ้านบางแห่งฟื้นฟูมาเช่นนี้ และข้าพเจ้าจะกล่าวว่านี้คืออินเดียของข้าพเจ้า" โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1861-1941

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 6

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 6 "อะไรก็ตามที่ควรรู้ คือความรู้ และความรู้ทั้งชายและหญิง มิใช่เพื่อประโยชน์ใช้แสวงหาในทางปฏิบัติ แต่เพื่อความรอบรู้นั่นเอง ความปรารถนาที่จะเรียนรู้เป็นกฎธรรมชาติของมนุษย์ ความรู้มี 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือความรู้บริสุทธิ์ อีกประเภทหนึ่ง คือความรู้ที่ใช้สอย ในสาขาของความรู้บริสุทธิ์ไม่มีแตกต่างทั้งชายและหญิง ความแตกต่างอยู่ในขอบเขตของความรู้เพื่อใช้สอย ผู้หญิงควรมีความรู้บริสุทธิ์เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ และมีความรู้ใช้สอยเพื่อให้เป็นผู้หญิงที่แท้จริง" จากเรื่องการศึกษาของผู้หญิง โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1915

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.