เริ่มเปลี่ยนด้วยวิธีที่เหมาะกับเรา
มาเรียนรู้การเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเราด้วยวิธีที่เหมาะสมผ่านการฝึกฝนการมีสติ กับ 8 ทางสุขใจ ทางไหนบ้างที่จะเหมาะกับเรา ออกไปสัมผัสธรรมชาติของโลกรวมถึงธรรมชาติในตัวเรา การเคลื่อนไหว การทำงานศิลปะเพื่อสะท้อนความรู้สึกของเราออกมาในทางที่สร้างสรรค์ ทำงานเพื่อให้เราเห็นคุณค่าในตัวเราและเป็นการเชื่อมโยงสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเรากับสังคม มีอีกหลายวิธีที่ช่วยให้เราสร้างการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่สร้างสรรค์ เพื่อรับมือกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ทำไมยังทุกข์ใจกับเรื่องเดิมๆ
ทำไมบางครั้งเรายังทุกข์ใจกับเรื่องเดิม ๆ สื่อคลิปวิดีโอชิ้นนี้ จะแนะนำในเรื่องการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะแค่ “รู้” อย่างเดียวคงไม่พอ เราต้องจัดระเบียบตัวเราเองใหม่และลงมือทำ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เราต้องเข้าใจและเชื่อมั่นในตนเอง เลือกวิธีที่เหมาะสมและทำอย่างสม่ำเสมอ โดยทั้งหมดนี้เริ่มจากสิ่งที่เรียกว่าการมีสติ มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้เราสำรวจตัวเองและได้ฝึกฝนสติให้การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเราเป็นไปได้จริง เมื่อเราเริ่มปฏิบัติเราจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงเริ่มได้ที่ตัวเรา
อยู่กับอารมณ์
วิดีโอคลิปที่แนะนำเรื่องการรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเราและทำความเข้าใจยอมรับ เพราะในวันแต่ละวันเราต้องเผชิญกับหลายสถานะการณ์ที่มากระทบจิตใจของเรา ทั้งสุข เศร้า ผิดหวัง โกรธ ลังเล เราไม่จำเป็นต้องปิดกั้นอารมณ์ แต่เราจำเป็นต้องเข้าใจและอยู่กับมันให้ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต ที่จะทำให้เราเติบโต หลายความรู้สึกจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของชีวิตทั้งตัวเราและผู้อื่นมากขึ้น
บนเส้นทางครู (กล้าสอน รุ่น ๒)
“ครูกล้าสอน” รุ่นที่สอง หลักสูตรการอบรมกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ให้แก่ครูอาจารย์ที่เข้าร่วมในโครงการ เพื่อนำประสบการณ์ความรู้ที่ได้ร่วมอบรมไปปรับใช้ฟื้นฟูชีวิตและทบทวนบทบาทของตัวเอง สร้างพลัง สร้างแรงบันดาลใจในการสอน รวมถึงทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการยอมรับในความแตกต่าง ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือในการเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและนักเรียน เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในชั้นเรียนต่อไป
คฑา มหากายี : ใช้โลกนี้เป็นห้องเรียน แล้วให้เด็กๆ รู้จากประสบการณ์ตรง
คฑา มหากายี เจ้าของโรงแรมพระนครนอนเล่น นักธุรกิจที่เชื่อมั่นในวิถีแห่งธรรมชาติ กับการตั้งคำถามถึงระบบการศึกษาไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มีข้อจำกัดและยังไม่สามารถตอบโจทย์ให้แก่ชีวิตหลากมิติของมนุษย์ได้ จึงได้เกิด ”บ้านเรียน” หรือ Home School ด้วยกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์โดยใช้โลกแห่งธรรมชาติ ต้นไม้ ลำธาร ท้องฟ้าและผืนดินเป็นห้องเรียน เพื่อสร้างวินัยและให้เด็กได้เรียนรู้ชีวิตจากประสบการณ์จริง
ประชา หุตานุวัตร : เราต้องช่วยกันเรียน ไม่ใช่แข่งกันเรียน
‘ประชา หุตานุวัตร’ กระบวนกรรุ่นใหญ่ ผู้บุกเบิกกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าถึงชีวิตจิตใจในแวดวงการศึกษาทางเลือก และผู้จัดทำหลักสูตร Awakening Leadership Training Program กับบทความเรื่องการแข่งขันกันเรียนในโลกปัจจุบัน ที่ทำร้ายและลดคุณค่าในตัวตนของเด็กและครูผู้สอน การจะผลักดันให้เกิดการศึกษาที่ไม่ทำร้ายและลดคุณค่าความเป็นคนได้นั้น จะต้องเริ่มจากการให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ ร่วมสร้างองค์ความรู้ มีความเข้าใจในเรื่องของการศึกษา มีความเป็นมิตรเห็นอกเห็นใจกัน เพื่อช่วยกันเรียน รวมถึงครูและนักเรียนเองจะต้องมีความเข้าใจและสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
ออกแบบการเรียน เปลี่ยนคำว่า ต้องรู้ เป็น อยากรู้
กิจกรรมการอบรม “ครูกล้าสอน” ชุดการเรียนรู้ที่ 3 “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” เป็นการทบทวนเนื้อหาการเรียนรู้และการนำไปปฏิบัติจริงจากชุดการเรียนครั้งที่ผ่านมา ครูอาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมในหลักสูตรครั้งนี้ ได้เรียนรู้หลักการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ วิธีการกระตุ้นความสนใจ สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่มีพลัง สนับสนุนช่วยเหลือและไว้วางใจต่อกัน ผ่านกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาการออกแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนให้ดียิ่งขึ้น
มนุษย์ครู ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์
'มนุษย์ครู' ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์ชวนครูสำรวจความเป็นมนุษย์ในตัวเอง ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีพลัง ส่งต่อไปยังห้องเรียนจากวงแลกเปลี่ยน “รวมพลคนกล้าสอน สู่การเรียนรู้มีชีวิต” เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2561
Courage to Teach ชวนครูเปลี่ยนห้องเรียนด้วยความกล้า
หลักสูตร “ครูกล้าสอน” จากทีม new spirit ภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่จะช่วยผลักดันระบบการศึกษาในประเทศไทยให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาศักยภาพในตัวครู ในหลักสูตรของโครงการมีอยู่ 3 ชุดการเรียนรู้ด้วยกันคือ “ครูผู้ตื่นรู้ในตน” “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” และ “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ครู อาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา เพราะนอกจากครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่ตนเองสอนแล้ว ครูยังจะต้องมีความตระหนักรู้ มีความเข้าใจและทบทวนตัวเอง รวมถึงต้องเข้าใจจิตใจของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์ อำนาจ และครู : วิลาวัลย์ สินธุประภา
วิลาวัลย์ สินธุประภา อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ครูในโครงการครูกล้าสอนกับความกลัวและมุมมองในการสอนก่อนเข้าร่วมอบรมในโครงการและสิ่งที่ได้รับภายหลังเข้าร่วมในโครงการ ทั้งเรื่องการนำความรู้มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพและทบทวนบทบาทของตัวเอง แรงบันดาลใจในการสร้างคุณค่าให้กับครูผู้สอนในการพัฒนาคน มุมมองการสอนที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งสามารถนำมากระตุ้นให้นักเรียนเปิดรับกับวิชาที่เรียนและสนุกไปกับการเรียนในชั้นเรียนได้
บทความจากนิตยสารสุขแนะนำโครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
หลักสูตร “ครูกล้าสอน” เป็นหลักสูตรสำหรับครูอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้ครูได้ทบทวนชีวิตความเป็นครู ด้วยการยอมรับตัวเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่อาจจะไม่สมบูรณ์แบบพร้อม แต่พร้อมเปิดใจรับฟังและสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียนผู้เรียน เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรักและเข้าใจและเอื้อต่อการเกิดพลังสร้างสรรค์ โดยครูที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้ จะต้องผ่าน 3 ชุดการเรียนรู้ คือ 1. “ครูผู้ตื่นรู้ในตนเอง” เพื่อให้ครูฟื้นฟูพลัง และเข้าใจตนเอง 2. “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” ฝึกทักษะตั้งคำถามเพื่อปลุกความคิดสร้างสรรค์ในตัวนักเรียน และ 3. “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ฝึกทักษะการออกแบบการเป็นผู้นำการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์
ปวีณ์กร สุรบรรณ์ : ครูมือใหม่ในหมู่เด็กช่าง
โบว์ ปวีณ์กร สุรบรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรายวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา ครูในโครงการครูกล้าสอน ได้นำประสบการณ์และกระบวนการฟังที่ได้เรียนรู้จากโครงการมาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง เพื่อแก้ไขการติดอยู่ในกรอบแห่งความกลัวในการสอนและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในชั้นเรียน โดยได้นำหลัก Childs Center คือ เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ทั้งครูผู้สอนและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกัน