เซ็ง เครียด ทำไง
วัฏชีวิตคนเมืองที่รุมเร้าด้วยภาวะ เซ็ง เครียด แล้วเราจะทำยังไงดี ? ทำความรู้จักและสังเกตอาการที่มากับความเครียด กดดัน วิตกกังวล ที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เป็นโรคกระเพาะ นอนไม่หลับ ซึมเศร้า และอีกหลายอาการที่อาจจะนำไปสู่โรคร้ายอื่น ๆ เรียนรู้การหลีกเลี่ยงและป้องกันความเครียด ศัตรูตัวร้ายของทุกคน เพื่อให้เราอยู่บนโลกที่วุ่นวายนี้ได้อย่างมีความสุข
โรคซึมเศร้า เราควรใกล้ชิด
เรียนรู้ และเข้าใจ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี เพราะผู้ป่วยไม่ได้อ่อนแอ แต่ความคิดในแง่ลบนั้นเกิดจากสารเคมีและระบบฮอร์โมนในสมองที่เปลี่ยนไป คนใกล้ชิดคือยาใจสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ ให้หายได้อย่างยั่งยืนเพียงแค่เปิดใจรับฟัง
แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Long Version)
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Long Version) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’
แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Short Version)
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Short Version) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’
เปิด 108 หนังสือดี เปิดหน้าต่างแห่งโอกาส ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
แนะนำหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย 108 เล่มที่คัดสรรโดยคณะกรรมการคัดสรรหนังสือดีสำหรับเด็กปฐมวัย แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ภายในหนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาทฤษฎีหน้าต่างแห่งโอกาสในช่วงวัยต่าง ๆ ของเด็กปฐมวัย รูปแบบของหนังสือที่เหมาะกับในแต่ละช่วงวัยของเด็กปฐมวัย หลักเกณฑ์และคณะกรรมการคัดสรรหนังสือ รวมถึงรายละเอียดและรูปร่างหน้าตาของหนังสือทั้ง 108 เล่มเรียบตามลำดับตัวอักษร เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ คุณครู และผู้ปกครองที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก ได้ใช้เป็นแนวทางในการเลือกหนังสือเพื่อนำไปพัฒนาเด็กปฐมวัย
แนะนำสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน
แนะนำ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน หรือ สสย. ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2549 โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) มีพันธกิจพัฒนาคุณภาพสื่อ ช่องทางสื่อ และพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างเสริมกระบวนการรู้เท่าทันสื่อและองค์ความรู้ต่างๆ ทำงานประสานเครือข่ายภาคี และร่วมผลักดันนโยบาย และกฎหมายเพื่อสร้างโอกาสให้สื่อเด็กและเยาวชน
แผ่นพับรู้ทันมือถือ
ชวนเด็ก ๆ และเยาวชนมาลองสำรวจตัวเองง่าย ๆ ว่าเรารู้เท่าทันการใช้โทรศัพท์มือถือหรือยังด้วยแบบทดสอบง่าย ๆ พร้อมกับข้อมูลหลักการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างถูกต้อง เหมาะสม สร้างสรรค์ เพื่อไม่ให้เด็ก ๆ ตกเป็นเหยื่อของทั้งผู้ผลิตและเจ้าของสัญญาณคลื่นโทรศัพท์มือถือ
อินโฟกราฟิก ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เรื่องการประเมินสื่อ
เวลารับสื่อ เด็ก ๆ อาจจะยังไม่สามารถแยกแยะ รู้เท่าทัน หรือประเมินสื่อได้ด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิด จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะช่วยชี้แนะให้เด็ก ๆ ได้เห็นประเด็นและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในสื่อ ให้เด็กสามารถประเมินสื่อได้อย่างรู้เท่าทัน ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ค่านิยม หรือพฤติกรรมในสังคม
ผลิตคลิปแนะนำตัวและ Storyboard (สำหรับน้องๆ ที่ประกวด Viral Clip)
นำเสนอกฎกติกาในการเข้าร่วมประกวด ในโครงการชวนเพื่อนผลิตสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 1 จัดโดยเครือข่ายเยาวชน สื่อเด็กเปลี่ยนโลก