ใช้เวลาอยู่บ้านทำ 6 Sensing รับรู้โลกไร้ขีดจำกัด
ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยจากไวรัสและทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน วันหยุดนี้ขอชวนเดินทางไปสัมผัสสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Readjust ขอเวลานอก(หน้าจอ)
Readjust – ปรับชีวิตเปลี่ยนโหมดใจ หนึ่งในหมวดกิจกรรมเมนูภูมิคุ้มใจ 14 วัน ฉันทำได้ ที่จะพูดถึงการพักใจ หยุดติดตามข่าวสารต่าง ๆ ทางสื่อออนไลน์ และโทรศัพท์มือถือ เพื่อที่ใจจะได้ผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดทางอารมณ์ลง
การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)
ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตโดยกูเกิล พบว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาดูเฉลี่ย 150 ครั้งต่อวัน รวมทั้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเมื่อปี 2561 พบว่าประแทศไทยติดอันดับคนใช้เวลากับอนเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และยังพบเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยยังไม่มีวุฒิภาวะในการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลในเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยควรมีการจำกัดเวลาการอยู่ที่หน้าจอ ที่มิได้หมายถึงการห้ามอย่างเด็ดขาด แต่หมายถึงการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ดิจิทัลกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เพื่อให้เขาเติบโตมาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง
งานอาสาเริ่มง่ายๆ เริ่มที่เรา ลงมือทำ
กลุ่มจิตอาสาไทย เป็นเครือข่ายจิตอาสาที่ชวนน้อง ๆ เยาวชนไทย แบ่งปันเวลา และยอมเสียสละตื่นนอนตั้งแต่ ตี 4 ตี 5 เพื่อมาทำงานอาสามอบประโยชน์ให้กับผู้อื่น ด้วยเชื่อว่า “ถ้าจะเปลี่ยนแปลงสังคมนั้นยาก แต่เปลี่ยนจากตัวเราเองเปลี่ยนง่ายกว่า” งานจิตอาสาเริ่มต้นง่าย ๆ ที่ตัวเรา เพียง “ลงมือทำ” ทันทีวันนี้ คลิกเข้าไปพบความสุขจากการทำงานอาสากันได้ที่ https://www.jitarsabank.com ร่วมเป็นสมาชิกสังคมออนไลน์ของธนาคารจิตอาสา https://www.facebook.com/JitArsaBank/
เปิดบัญชีออมเวลา รับดอกเบี้ยความสุข กับธนาคารจิตอาสา
ทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของมนุษย์คือ เวลา เพราะเมื่อเราเสียเวลาไป เราไม่สามารถที่จะหาเวลาจากที่ไหนมาทดแทนได้ ดังนั้นเราทุกคนจึงต้องมีการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า เพื่อคนที่เรารัก เพื่องานที่เราชอบ และเพื่อความสุขของเรา และที่สำคัญ หากเวลานั้น สามารถออมไว้เพื่อการใช้ประโยชน์ และแบ่งปันให้ผู้อื่น ย่อมทำให้เวลาทุกนาทีของเรามีคุณค่ายิ่งขึ้น ธนาคารจิตอาสาขอชวนคนไทยและผู้มีจิตอาสาทุกคน เปิดบัญชีออมเวลา ทรัพย์ที่มีค่าที่สุดในชีวิตของเรา เพื่อนำมาแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ช่วยเหลือกันและกัน แล้วเราจะสัมผัสได้ว่า เวลาของเราทวีค่ายิ่งขึ้น และได้รับดอกเบี้ยงาม ๆ คือ ความสุข อิ่มเอม จากการเป็นผู้ให้ ...”สังคมที่ดี เริ่มจากการสละเวลาเพื่อผู้อื่น”... สมาชิกธนาคารจิตอาสา สามารถบันทึกดอกเบี้ย ซึ่งก็คือเรื่องราวดีๆ ที่คุณได้ใช้เวลา เพื่อความสุขมวลรวมในสังคมของเรา สังคมที่ดี เริ่มจากการ สละเวลาเพื่อคนอื่น ธนาคารจิตอาสา #ปันเวลาแชร์ความสุข ใช้เวลาเพื่อสร้างความสุขมวลรวมร่วมกัน ได้ที่ https://www.jitarsabank.com ร่วมเป็นสมาชิกสังคมออนไลน์ของธนาคารจิตอาสา https://www.facebook.com/JitArsaBank/
วิชาชีวิต ตอน เตรียมลาจาก : เตรียมช่วงเวลาที่ต้องจากกัน คำตอบจากประสบการณ์ผู้ดูแล พ่อตุลย์ เพจแม่นุ่น
คุณอรทัย ชะฟู จิตอาสาเพื่อนร่วมเดินทางเยียวยาจิตใจผู้ป่วย และคุณวิทวัส โลหะมาศ (พ่อตุลย์) ผู้ดูแลแม่นุ่นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ให้จากไปอย่างสงบงดงามพร้อมแบ่งปันประสบการณ์ผ่านเพจแม่นุ่น ที่มีผู้ติดตามกว่า 600,000 คน ได้มาเล่าถึงประสบการณ์การเตรียมตัวเพื่อลาจากของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ว่า “การเตรียมลาจากไม่ใช่หน้าที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากเป็นสิ่งที่ต้องสร้างคุณภาพชีวิตให้เกิดขึ้นร่วมกันทั้งผู้ดูแล และผู้ที่กำลังจะจากไป” โดยปกติผู้ป่วยก็มีภาวะเครียดอยู่แล้วจากโรคที่เป็น ผู้ดูแลจึงต้องไม่สร้างภาวะนั้นอีก ขณะเดียวกันผู้ดูแลต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อจัดการความเครียดของตนเองด้วยเช่นกัน เพื่อทำทุกช่วงเวลาที่มีอยู่ในขณะปัจจุบันให้ดีที่สุดเพื่อผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อเตรียมตัวในการลาจากอย่างมีความสุข ผู้ดูแลต้องทำหน้าที่เสมือนเป็น “หมอน้อย” (Little Doctor) ที่อยู่เคียงข้างดูแลผู้ป่วยทั้งกายและใจ
เวชศาสตร์ฉุกเฉินกับผู้ป่วยระยะท้าย: การตัดสินใจของแพทย์ท่ามกลางวิกฤตเวลาและความคาดหวัง
“ห้องฉุกเฉิน” สถานที่แห่งความเป็นและความตาย ญาติๆ มักพาผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้ามาพบแพทย์ที่นี่ แท้จริงแล้วสถานที่แห่งนี้มีแต่ความวุ่นวาย และเร่งรีบทุกเสี้ยวนาทีคือความเป็นและความตายของคนไข้ แพทย์ต้องตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยด้วยความยุติธรรม และเท่าเทียมกัน ไม่สามารถดูแลใครได้พิเศษกว่าใคร ทุกชีวิตสำคัญ การยื้อชีวิตของคนไข้ในภาวะเช่นนี้ แม้อยู่ก็อาจจะทุกข์ทรมานด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แล้ว “ความสุขสุดท้ายของคนไข้คืออะไร” คือการได้กลับบ้าน ใช่หรือไม่ เราควรมีการสื่อสารในเรื่องนี้กันหรือไม่ ว่าชีวิตสุดท้ายเราอย่างอยู่ที่จุดไหน
เพราะเจ็บไม่ได้แปลว่าแพ้ เข้าใจการจัดการกับความเจ็บปวดทางร่างกาย เมื่อเวลาสุดท้ายของชีวิตใกล้มาถึง
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson หลายคนอาจเคยคิดว่า การแสดงความเจ็บปวดทางร่างกายหมายถึงความพ่ายแพ้ อ่อนแอ ไม่อดกลั้น การที่เราสกัดกั้นความเจ็บปวดไว้จะยิ่งทำให้ทรุดหนักและรักษาได้ยากกว่าเดิม เพราะฉะนั้น จึงควรสังเกตตัวเองอย่างถี่ถ้วน ไม่โกหกตัวเองหรือคนใกล้ชิดว่าสบายดีแล้วคิดว่าอาการจะหายเอง เพื่อที่แพทย์และญาติจะได้หาวิธีการจัดการกับความเจ็บปวด (Pain Management) ได้อย่างทันท่วงที
ภาริอร วัชรศิริ - สักวันเราทุกคนจะต้องเข้าสู่ลูปของการดูแลผู้ป่วยอันยาวนาน จนกว่าจะถึงวันที่เขาจากไป
บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว
เด็กกินอะไร เวลาอยู่ในโรงเรียน
เด็กไทยในวันนี้จะไม่เป็นผู้ใหญ่อ้วนในวันหน้า ถ้าพ่อแม่ปลูกฝังให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ โรงเรียนกวดขัน ดูแล และควบคุมร้านค้าที่ขายอาหารและขนมภายในโรงเรียน ไม่ให้มีขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ไอศกรีม และขนมไร้ประโยชน์ต่างๆ และที่สำคัญคือเด็ก ๆ ต้องมีความรู้เรื่องสุขภาพ ดูแลตัวเอง รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
หนังบักตื้อที่โรงเรียนบ้านเพียมาต
โรงเรียนบ้านเพียมาต (รัฐราษฎร์พิทยาคาร) ที่ จ.ศรีสะเกษ เป็นโรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนแห่งนี้ได้นำเอาภูมิปัญญาที่มีคุณค่า และชุมชนที่เข้มแข็งมาสร้างเป็นหลักสูตรพิเศษ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ให้กับเด็ก ๆ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด คือ การนำหนังบักตื้อ ที่เป็นศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของชุมชน มาถ่ายทอดให้เด็ก ๆ โดยครูภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากทักษะที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้แล้ว ยังเป็นการเพิ่มภูมิดีให้เด็ก ๆ ได้ภาคภูมิใจในคุณค่าของชุมชนของตนเอง
ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา)
พาไปดูตัวอย่างการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) จ.ศรีสะเกษ ที่ทำวันศุกร์ให้เป็น Friday is Flyday หรือวันแห่งการโบยบิน โดยที่ตลอดวันเด็ก ๆ จะได้ทำกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่เช้าเป็นการเดินจงกรม ทำสมาธิ ต่อมาที่ช่วงสาย ๆ จะเป็นการทำกิจกรรมศิลปะสนุก ๆ และปิดท้ายด้วยการฝึกทักษะชีวิตกับประสบการณ์ทำอาหารอร่อย ๆ เด็ก ๆ มีความสุข สนุกสนาน และสามารถนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้