trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "เยียวยา" พบ 8 ข้อมูล

นิเวศภาวนา ค้นหาตนเองในธรรมชาติแห่งป่าเขา

ในโลกสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายทุกคนต่างใช้ชีวิตกันอย่างรีบเร่งเหมือนเครื่องจักร ธรรมชาติและพิธีกรรมเก่าแก่ถูกหลงลืม ถูกลดคุณค่าและถูกมองเป็นเรื่องที่ไกลตัว มนุษย์สมัยใหม่ส่วนใหญ่ถูกหลอมรวมเข้าไปในความสับสนวุ่นวายของสังคมและกำลังเผชิญกับความขัดแย้งในตัวเอง สุดท้ายกลายเป็นสับสนและหาคุณค่าความหมายของตัวเองไม่พบ นิเวศภาวนา ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนได้ค้นพบความหมายของชีวิตและบทบาทของตนเองในโลกนี้ โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงคนเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เพื่อละทิ้งตัวตนเดิม สู่การเปลี่ยนผ่านเข้าชีวิตใหม่อย่างตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติและคุณค่าที่แท้จริงของตัวเราในโลกนี้ 

เยียวยาปมชีวิต เพื่ออิสรภาพภายใน

โรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ที่ปรากฏให้เห็นทางกายภาพ ที่จริงแล้ว บางสาเหตุของอาการมีที่มาจากปมที่ฝังลึกในจิตใจ และปมเหล่านี้มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่สร้างความกระทบกระเทือนต่อจิตใจอย่างรุนแรง จนส่งผลให้ร่างกายสร้างปฏิกิริยาตอบโต้ หรือ เกราะป้องกันตัว เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับอดีต อาจจะปรากฏให้เห็นในรูปแบบความผิดปกติต่างๆ ทางร่างกาย หรือ รูปแบบนิสัยบางอย่าง แต่กลไกทางสมองของมนุษย์เองก็มีศักยภาพในการเยียวยารักษาตัวเองได้เช่นกัน เพราะกายกับจิตมีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว การเยียวยารักษาปมที่ฝังในจิตใจจึงต้องเริ่มจากการฝึกฝนให้ตัวเองกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ ละทิ้งความคิดที่สร้างอคติ ยอมรับตัวตนและการช่วยเหลือจากผู้อื่น เพื่อปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากความทุกข์และการใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมๆ 

New Heart New World 2 ทิชา ณ นคร

แม้ว่าคนเราจะเลือกเกิดไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับชีวิตและสังคมไม่ได้ ในสังคมที่มีผู้กระทำความผิด นอกจากการใช้กฎหมายเป็นบทลงโทษและรับมือกับผู้กระทำความผิดแล้ว ความเมตตาและโอกาสก็เป็นอีกหนทางที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและชีวิตของคนเหล่านี้ได้ เพราะคงไม่มีใครที่อยากจะทำผิดไปตลอดชีวิต New Heart New World 2 คลิปวิดีโอสัมภาษณ์ คุณ ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก กับความเมตตา ความเข้าใจและโอกาสที่สังคมของเราต้องการ รวมไปถึงความดีในภาคปฏิบัติจริงที่จะเป็นตัวสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม  

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ดร.อรุโณทัย ไชยช่วย

จากนักเยียวยา (Healer) ที่บำบัดช่วยเหลือผู้อื่นด้วยศาสตร์ของ Minddala และ Mindtangle ดร. อรุโณทัย ไชยช่วย หรือ ครูเอ๋ ยังได้แบ่งปันประสบการณ์ของการตื่นรู้ ว่า “เพียงลืมตาภายใน ใจก็ถูกปลุกให้ตื่นรู้” ทุกคนสามารถสัมผัสและเข้าถึงการตื่นรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน การตื่นรู้เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ ให้เราอยู่กับขณะจิต ณ ปัจจุบันอย่างเป็นจริง  โดยหลุมพรางที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการตื่นรู้ คือ “อัตตา” การยึดมั่นถือมั่น ในตัวกูของกู  ถ้าเรายังไม่มีการตื่นรู้ก็จะยึดติดอยู่ใน “ความอยาก” สร้างตัวตนในความหลง และก็จะทุกข์ไปกับความจริงที่จอมปลอมนั่นเอ ง

แลดู ผู้ดูแล แนวทางเยียวยา ผู้ดูแล ผู้ป่วยระยะท้าย

บางครั้ง “ผู้ดูแล” ผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็ต้องการการดูแล หนังสือ “แลดู ผู้ดูแล” เป็นการสะท้อนประสบการณ์จริงจากแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และญาติผู้ป่วย ที่รับภาระหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมีแนวโน้มประสบความเครียด ความกดดัน และความทุกข์จากการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว อีกทั้งเผชิญกับปัญหาชีวิตด้าน อื่น ๆ ที่เป็นผลตามมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  แนวทางการดูแลผู้ดูแลเหล่านี้ ให้มีคุณภาพีชีวิตที่ดี หลังจากที่เขาหมดภาระหน้าที่ตรงนี้แล้วก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเติมเต็มพลังใจให้พวกเขาก้าวหน้าต่อไปอย่างมีความสุข

วิชาชีวิต ตอน พลังกอด เยียวยาโรค

การกอด คือพลังมหัศจรรย์ สามารถเยียวยารักษาโรคได้ แม้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถึงการกอดจะไม่ทำให้หายป่วยได้ แต่อ้อมกอดที่อบอุ่น ช่วยเติมเต็มพลังแห่งรักให้คนที่เรารักจากไปอย่างสงบสุข โดยผู้ที่นำการกอดมาเป็นศาสตร์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วย คือ อาจารย์พรวรินทร์ นุตราวงศ์ หรือ คุณแอ้ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล คุณแอ้เชื่อมั่นว่าสุขาภวะที่ดีเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับสัมผัสที่อบอุ่น การเจ็บป่วยทำให้ผู้ป่วยเครียดและทุกข์ สิ่งแรกที่ญาติ ๆ ควรทำคือการอด การให้ความรัก เมื่อใจสู้ กายก็จะไม่ยอมแพ้  เกิดเป็นพลังชีวิตให้ก้าวข้ามความทุกข์ทรมานได้ นั่นคือ ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่ของ “พลังกอด”

ผ้าป่าสร้างอาคารแด่น้อง

คลิปบรรยายธรรมโดยพระไพศาล วิสาโล จากงานระดมทุนทอดผ้าป่าสามัคคี สร้างอาคารเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้ ฟื้นฟูและเยียวยาเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ โดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.