Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "เท่าทันสื่อ" พบ 307 ข้อมูล

รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการกํากับดูแล การเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชน

สิ่งที่มาพร้อมกับการสื่อสารที่รวดเร็วเปิดกว้างให้กับคนทุกเพศทุกวัย นำมาซึ่งความเสี่ยงในการสื่อสารด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมให้เข้าใจและรู้เท่าทันสื่อ เพื่อช่วยคัดกรองการเปิดรับสื่อของเด็กเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการจากสื่อดิจิทัลของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึงความคิดเห็นและแนวทางการเสริมสร้างบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลการเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็ก ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชนต่อไป

โครงการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่น อายุระหว่าง 10-19 ปี

การเปลี่ยนแปลงของการสื่อสาร ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายประเทศทั่วโลก ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องของสื่อใหม่กับอิทธิพลที่มีต่อเด็กและเยาวชน งานวิจัยชิ้นนี้แตกต่างจากงานวิจัยที่ผ่านมา เนื่องจากมีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 ช่วงตามกระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษาอย่างชัดเจนคือ ประถมศึกษาปลาย มันธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้ผลวิจัยเป็นข้อมูลสำคัญให้หน่วยงานด้านเด็กและเยาวชนได้นำมาใช้ทบทวน ประเมินสถานการณ์ อันจะนำไปสู่การดำเนินงานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้เด็กได้อย่างเหมาะสม

การศึกษาวิเคราะห์ สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏในเว็บไซต์

งานวิจัยชิ้นนี้ มีเดียมอนิเตอร์เน้นประเด็นไปที่การศึกษาวิเคราะห์สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ ทั้งเนื้อหา วิธีการนำเสนอ และการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย โดยเป็นการวิจัยจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์ google, youtube, 4shared ช่วงระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2556 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ กลุ่มยา อาหาร และเครื่องสำอาง โดยสรุปผลการศึกษาและมีการนำไปเปรียบเทียบกับผลการศึกษากับการศึกษาสินค้าบริการด้านสุขภาพและความงามในทีวีดาวเทียม ที่เคยศึกษาระหว่างวันที่ 11-26 พ.ย. 2554 อีกด้วย

ความเซ็กซี่ในมิวสิควิดีโอเพลงไทยป๊อบ ฮิปฮอป ลูกทุ่ง (2554-2556)

งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาเรื่องประเด็นกลยุทธ์การขายภาพลักษณ์ 'ความเซ็กซี่' ในเนื้อหาสื่อมิวสิควีดีโอเพลงไทยทั้งป๊อบ ฮิปฮอป และลูกทุ่ง ในประเทศไทยช่วงปี 2554-2556 โดยมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะการประกอบสร้างความเซ็กซี่ การใช้ภาษา พฤติกรรมการแสดงออกเรื่องเพศ เสื้อผ้าเครื่องแต่างกาย การทำให้ผู้แสดงกลายเป็นวัตถุทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ ความเชื่อมโยงกับทัศนคติ แนวคิด ค่านิยม และการเลียนแบบ โดยสำรวจจากเว็บไซต์ Youtube ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูงรวมถึงมีอิทธิพลหลักในการนำเสนอมิวสิควีดีโอเพลงสู่สังคม

การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงเวลารายการเด็กและเยาวชน

ในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มีโฆษณาสินค้าปรากฎอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งการโฆษณาจริงและโฆษณาแฝง หากแต่ยังไม่เคยมีการสนับสนุนแนวทางการจัดการกับสิ่งที่โฆษณาส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน มีเดียมอนิเตอร์จึงศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยได้สำรวจการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงวันและเวลารายการสำหรับเด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 24 มี.ค. - 7 เม.ย.57 ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้ไปสนับสนุนแนวทางการจัดการกับผลกระทบต่อเยาวชนและขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายด้านการควบคุมการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มต่อไป

วิน เดอะ ทอล์ค

ภาพยนตร์สั้นสะท้อนเรื่องราวของสื่อในยุคปัจจุบันที่หลอกลวงผู้ชม เต็มไปด้วยแง่มุมทางธุรกิจ การขายสินค้า มอมเมาคนให้หลงเชื่อด้วยความเชื่อและไสยศาสตร์ เรื่องราวของรายการ วิน เดอะ ทอล์ค ที่พิธีกรร่วมมือกับวิทยากร แสดงตนเป็นหมอดูทำนายอนาคต หลอกให้หลงเชื่อเพื่อขายสินค้าคือสร้อยลูกประคำ ท้ายภาพยนตร์เปิดเผยให้เห็นเบื้องหลังของการแสดง การประกอบสร้างสื่อที่ทำให้คนดูหลงเชื่ออย่างแนบเนียนเป็นกระบวนการ

คนอวดหวย

เราขอชวนคุณมาพิสูจน์ว่า “หวย” หรือสถานที่ขอหวย ที่สื่อนำเสนอ จนทำให้ทุกคนหลงเชื่อ และงมงาย ว่าจะแม่นหรือไม่แม่น    

เปิดอก

"เปิดอก" เป็นคลิปวีดีโอภายใต้โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม เนื้อหาว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อในครอบครัว สมาชิกทุกวัยในบ้าน ทั้งวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ต่างต้องเรียนรู้ที่จะเท่าทันสื่อ ไม่ตกเป็นเหยื่อของสื่อที่หลอกลวงและบิดเบือนโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ สิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัว เรียนรู้ที่จะเปิดอกพูดคุยกันด้วยความรักและความเข้าใจ

Scene

ภาพยนตร์สั้นเรื่อง Scene ผลงานของ บุญชัย กัลยาศิริ สะท้อนการประกอบสร้างแนวคิดของสื่อ เบื้องหลังการแต่งแต้มเรื่องราวในแต่ละฉากแต่ละตอน การสะท้อนภาพความโหดร้าย ความดิบเถื่อนในสัญชาตญาณของมนุษย์เทียบกับสัตว์ ความสัมพันธ์ระหว่างนายทุนกับผู้ผลิตสื่อที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขทางธุรกิจโดยปราศจากซึ่งจรรยาบรรณ

Video Presentation โครงการประกวดคลิปสั้นและมิวสิควิดีโอ รู้เท่าทันสื่อออนไลน์

คลิปวีดีโอโครงการประกวดคลิปสั้นและมิวสิควิดีโอ เนื้อหาแสดงให้เห็นสถิติสำคัญของนักดื่มหน้าใหม่ที่เข้าสู่วงจรการดื่มแอลกอฮอล์ หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือการไม่รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ของกลุ่มเยาวชน นอกจากนี้กระแสการตลาดของสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลากหลายรูปแบบที่แข่งขันกันรุนแรงในปัจจุบัน ทำให้เกิดการสร้างภาพลักษณ์ของนักดื่มในรูปแบบที่เท่ ทันสมัย ซึ่งหากเด็กและเยาวชนไม่รู้เท่าทันสื่อออนไลน์และเบื้องหลังการตลาดเหล่านี้ ก็อาจตกเข้าเป็นเหยื่อของการตลาดและเข้าสู่วงจรนักดื่มจนส่งผลเสียต่อสุขภาพและเป็นอันตรายต่อชีวิต

เมื่อวานนี้ที่เธอยังอยู่

'แค่คุณหยิบมือถือถ่ายคลิปวิดีโอ เก็บเรื่องราวของผู้อื่นเอาไว้ อาจทาให้เกิดผลกระทบกับเขาคนนั้นแบบไม่คาดคิด'

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.