Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "เท่าทันสื่อ" พบ 307 ข้อมูล

คู่มือ มือเล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ

ในช่วงที่โลกของเรากำลังประสบภาวะวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่และมีมาตรการต่าง ๆ ในการรักษาระยะห่างระหว่างกัน “มือเล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ” คู่มือที่รวบรวมสาระความรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ตลอดจนข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปควรรู้ เพื่อให้มีความรู้เท่าทันสื่อและรับมือรูปแบบสื่อ และช่วงเวลาที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนเป็นหลัก รวมไปถึงกิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อวางแนวทางการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนอย่างเหมาะสม

รายงานสรุปการถอดบทเรียนเวที International Conference on Fake News

E-book สรุปการถอดบทเรียนจากเวที International Conference on Fake News ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาข่าวลวงข่าวปลอม โดยได้รวบรวมสรุปสาระสำคัญของการประชุมจากวิทยากรทั้งไทยและต่างประเทศจำนวนกว่า 25 ท่านไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการให้ความรู้และเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของพลเมืองและสังคมในการรับมือกับปัญหาข่าวลวงที่ขณะนี้ก้าวสู่ปัญหาระดับโลก 

รู้เท่าทันข่าว (News Literacy)

ในยุคของการสื่อสารแบบหลอมรวม ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของผู้คนเปลี่ยนไป คนใช้สื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกันมากขึ้น ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์  และเรามิได้เป็นเพียงผู้อ่านหรือรับชมสื่อเท่านั้น ในคน ๆ หนึ่งเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้รับสารในคร่าวเดียวกัน เราเน้นการแชร์ การส่งต่อ และการกระจายข่าวออกแบบรวดเร็ว ขาดการตรวจสอบ จึงทำให้เกิดปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยรูปแบบการสื่อสารในสังคมยุคนี้ เราทุกคนจึงกลายเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว หรือ News Literacy  คือ มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์    

การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)

ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตโดยกูเกิล พบว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาดูเฉลี่ย 150 ครั้งต่อวัน รวมทั้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเมื่อปี 2561 พบว่าประแทศไทยติดอันดับคนใช้เวลากับอนเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และยังพบเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยยังไม่มีวุฒิภาวะในการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลในเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยควรมีการจำกัดเวลาการอยู่ที่หน้าจอ ที่มิได้หมายถึงการห้ามอย่างเด็ดขาด  แต่หมายถึงการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ดิจิทัลกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เพื่อให้เขาเติบโตมาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง

ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy)

การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล จัดเป็นประเด็นที่พลเมืองดิจิทัลควรให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น การเรียนรู้มารยาททางอินเทอร์เน็ต (Digital Etiquette) และการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy) เป็นทักษะที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รู้จักการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอื่นด้วยมารยาทอันดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ที่มีความแตกต่างจากเรา ไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในสังคม และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น อันเป็นคุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตย 

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง

Child Online  Protection Guideline 1.0 หรือ แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง ยังคงเข้มข้นด้วยเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรระแวดระวังทั้งเรื่องสื่อลามกอนาจารออนไลน์ , การพนันออนไลน์ , ภัยจากเกมออนไลน์ , การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ Cyber Bullying ซึ่งนอกจากเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเพื่อสร้างความตื่นตัวในการป้องกันแล้ว คู่มือเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดูแล และคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยสื่อออนไลน์ และเสริมสร้างความรู้เท่าทันทางสื่อออนไลน์ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในยุคดิจิทัลนี้อีกด้วย

หนูจี๊ดติดจอ

“หนูจี๊ด ติดจอ” นิทานภาพ โดย ตุ๊บป่อง ที่ชักชวนให้เยาวชนหันมาดูแลดวงตาและสร้างวินัยในการจัดเวลาการใช้งานสื่อให้เหมาะสม เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการเรียนรู้และในการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กๆ ถ้าหากใช้ดวงตาเพ่งมองจอโทรทัศน์ จอโทรศัพท์มือถือ หรือ หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป จะก่อให้เกิดผลเสียต่อดวงตาก่อนวัยอันควรได้

สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ทำไมสูงวัยต้องรู้ทันสื่อ

ในยุคของการสื่อสารดิจิทัล เครื่องมือการสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตกลายเป็นของคู่กายของผู้สูงวัย ในยามที่ลูกหลานไม่อยู่ไปทำงานหรือเรียนหนังสือ ผู้สูงวัยจะเข้าถึงสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งก็มีทั้งข้อดี คือ เป็นช่องทางการสื่อสารที่ได้พบเพื่อนเก่า เพื่อนใหม่ให้คลายเหงา มีข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ให้รับรู้และเข้าร่วม  แต่ก็แฝงไว้ด้วยข้อเสีย เพราะเป็นความเสี่ยงที่มิจฉาชีพจะใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงผู้สูงวัยได้ ดังนั้นจำเป็นที่ผู้สูงวัยต้องเรียนรู้ และเท่าทันสื่อยุคใหม่

สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ผู้สูงวัยกับสื่อสมัยใหม่

 เมื่อกระแสการผลิตและการรับชมสื่อในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป จากสื่อดั้งเดิมในกระแสหลักอย่างวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ  ได้เกิดการหลอมรวมเป็นสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงผู้รับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา  ผู้สูงอายุจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัว เพื่อนำเทคโนโลยีในการสื่อสารยุคดิจิทัลมาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทางภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรม เพื่อสร้างศักยภาพให้กับตนเอง

สารคดีสูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน วิธีการป้องกันผู้สูงวัยการโดนหลอกลวงจากสื่อ

ผู้สูงวัย เป็นช่วงวัยที่มีเวลาว่างเยอะ สมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จึงเป็นสื่อรูปแบบใหม่ที่ผู้สูงวัยใช้คลายเหงาเป็นส่วนใหญ่  จึงเป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่คนแปลกหน้าจะมาพูดคุย และหลอกลวงได้ ลูกหลานจึงต้องหาเวลาพูดคุยกับผู้สูงวัยเป็นประจำ เพื่อป้องกันภัยการหลอกลวงจากสื่อ ที่สำคัญเพื่อดูแลปู่ย่าตายายไม่ให้ใช้สื่อมากเกินไปจนส่งผลให้เสียสายตาและสุขภาพได้

สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน คาถาสูงวัยรู้ทันสื่อ

ผู้สูงอายุ ที่ใช้ชีวิตหลังเกษียณอยู่บ้าน  บางครั้งก็จะถูกสื่อต่างโฆษณาเชิญชวนให้มีความอยากซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ เกินความจำเป็น ผู้สูงอายุจึงต้องมีคาถาในการรู้เท่าทันสื่อทั้งหลาย ว่า จำเป็นไหม...ไปหาข้อมูลก่อน...เดือดร้อนใครหรือไม่  ท่องไว้ให้ดีก่อนที่จะจ่ายเงินในการซื้อสินค้าและบริการตามคำโฆษณา

แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Long Version บทบรรยายไทย)

คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Long Version/ มีบทบรรยาไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.