ลูกติดเกม เกมที่ครอบครัวต้องช่วยกันแก้
ผลสำรวจเด็กไทย “ติดเกม เล่นออนไลน์” ปี 2556 สูงถึง 2.7 ล้านคน จากเยาวชน 18 ล้านคน พบอาการเด็กติดเกม 4 ระดับ คือ แสวงหาการเล่น ชินชาการเล่น ขาดการเล่นไม่ได้ และเล่นจนเสียการทำหน้าที่หลัก ทว่าพ่อแม่สามารถแก้ไขได้ เพียงหาเวลาและกิจกรรมดี ๆ ทำร่วมกันกับลูก
รู้ทันคำโตๆของโฆษณา ตอน น้ำบวกลม (ตอนที่ 1)
น้ำอัดลม เป็นที่รู้จักในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2492 เป็นเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล กรดคาร์บอนิก และคาเฟอีน ส่วนชนิดที่ไม่มีน้ำตาล ใช้สารทดแทนความหวาน เช่น แอสปาเทม และเติมหัวเชื้อกลิ่นน้ำผลไม้ต่างๆ สาเหตุผู้คนนิยมดื่มน้ำอัดลมเพราะหลงเป็นเหยื่อโฆษณา
ทัน 5 โรคฮิตคนติดโซเซียลมีเดีย
ยุคโซเชียลมีเดีย พบ 5 โรคฮิตที่ควรระวัง ทั้งโรคซึมเศร้า โรคละเมอแชท (Sleep-Texting) โรควุ้นในตาเสื่อม โรคโนโมโฟเมีย (Nomophobia) กลัวการไม่มีมือถือ และโรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) การก้มมองและจ้องจอมากเกินไป ทั้งหมดนี้บำบัดได้ ขอเพียงเปิดใจยอมรับ ควบคุมเวลาเล่น และหางานอดิเรกอื่นๆ ทำ
ระวังภัย ซ่อนสอนลูก เมื่อเด็กดูทีวี
การนั่งดูทีวีกับลูกเป็นโอกาสที่พ่อแม่ไม่ควรพลาด ทำให้สามารถคัดเลือกรายการดี ๆ เพื่อดูร่วมกัน รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการเรียนรู้ระหว่างโลกจริงและโลกสมมติ ที่สำคัญยังได้หลีกเลี่ยงภัยที่ซ่อนอยู่ในจอทีวี ทั้งการพูดจาก้าวร้าว การเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการโฆษณาเกินจริง
การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการเด็ก
ผลการศึกษาเรื่อง โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็ก ช่องฟรีทีวี (ช่อง 3,5,7,9) โดยมีเดียมอนิเตอร์ ร่วมกับแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ พบมีโฆษณาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กถึงร้อยละ 94 ล้วนแต่เป็นการโน้มน้าวให้บริโภคเกินจริง บริโภคทดแทนอาหารมื้อหลัก หากไม่บริโภคจะด้อยกว่าคนอื่นๆ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
คลิปวิดีโอประมวลกิจกรรมของคุณครูและเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์) ภายใต้แนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองตื่นรู้ เท่าทันสื่อ เท่าทันตนเอง เท่าทันสังคม
แผ่นพับสำรวจตัวเองว่าติดเกมหรือไม่
หลายคนเล่นเกม เล่นเยอะ เล่นจนไม่รู้ว่าตัวเองเข้าข่ายติดเกมหรือเปล่า? ถ้าอยากได้คำตอบ ลองมาสำรวจตัวเองง่าย ๆ ด้วยแผ่นพับสำรวจตัวเองว่าเข้าข่ายติดเกมหรือไม่? ถ้าสำรวจแล้วพบว่าเข้าข่ายเป็นคนติดเกมก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ มีวิธีช่วยเหลือแก้ไขอาการติดเกมเบื้องต้นมาให้ศึกษาพร้อมกันด้วยในสื่อเดียว
นิตยสารดีจัง เล่มที่ 3 ฉบับรู้เท่าทันสื่อ
นิตยสารดีจัง ฉบับ 'เล่นลม ล้อคลื่น กลางสึนามิสื่อ' เปรียบยุคสื่อสารดิจิทัลเป็นสึนามิสื่อที่ถาโถมให้เราต้องต่อสู้ฝ่าฟันเพื่อเอาตัวรอดให้ได้ ฉบับนี้จึงเจาะลึกประเด็นรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) การสร้างพลเมืองประชาธิปไตยในยุคดิจิทัล พบกับคนทำงานด้านรู้เท่าทันสื่อที่จะมาสะท้อนแนวคิด มุมมอง การรู้เท่าทันสื่อในยุคปัจจุบัน ข่าวสารการรู้เท่าทันสื่อจากทุกมุมโลก และตัวแทนเยาวชนผู้มีมุมมองรู้เท่าทันสื่อที่เป็นแบบอย่างและน่าสนใจ
นิตยสารดีจัง เล่มที่ 2 ฉบับอยู่ดีกินหอมหวาน
นิตยสารดีจัง ฉบับ 'อยู่ดี กินหอมหวาน' พาผู้อ่านไปร้อยเรียงเรื่องราวผ่าน 'การกิน' ในแง่มุมหลากหลายมิติ ทั้งวิถีชีวิต ชุมชน ศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุคปัจจุบัน พลิกมิติมุมมองผ่านอาหารการกินในบางแง่มุมที่เราอาจจะไม่เคยคิดถึงมาก่อน ให้ได้มองเห็นโลกและผู้คนรอบตัวอย่างลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น
นิตยสารดีจัง เล่มที่ 1 ฉบับปฐมยิ้ม
นิตยสารดีจัง ฉบับ ปฐมยิ้ม นิตยสารรายสะดวกฉบับแรกที่จะสร้างรอยยิ้มให้ผู้อ่านผ่านเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สร้างสรรค์ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยฉบับแรกนี้จะพาไปรู้จักพื้นที่สร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จ เช่น เพชรบุรีดีจัง อุตรดิตถ์ติดยิ้ม ฯลฯ พร้อมทั้งเรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมชุมชน และผู้ใหญ่ใจดีที่อยู่เบื้องหลังในการขับเคลื่อนสร้างพื้นที่ เติมความสุขและรอยยิ้มให้กับเด็ก ๆ และเยาวชนในทุกพื้นที่ทั่วไทย
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 6
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลและบทบาทผู้ที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลไกการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน โดยประกอบด้วยครอบครัว โรงเรียนและสถาบันการศึกษา และภาคส่วนต่าง ๆ การตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเอง รวมถึงการบูรณาการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ระบบการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลในเยาวชนสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 5
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลการพัฒนาพลเมืองให้รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ให้ประชาชนแต่ละช่วงวัยที่มีความแตกต่างกัน โดยแบ่งพลเมืองเป็น 5 กลุ่มอายุ คือ 1-5 ปี 6-12 ปี 13-18 ปี 18-25 ปี และ 25 ปีขึ้นไป โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ด้านสำคัญคือ คุณลักษณะ ความรู้ และทักษะ เพื่อเป็นแนวทางและกรอบแนวคิดสำหรับผู้ทำงานด้านความรู้เท่าทันสื่อได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป