Words Can Kill ฟังเสียงเด็ก - สปอตรณรงค์
สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย น้อง ๆ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน สปอตรณรงค์ชิ้นนี้ พาไปฟังเสียงเด็ก ๆ กับความรู้สึกเมื่อได้ยินคำพูดทำร้ายจิตใจจากพ่อแม่ ลองเปิดใจ ฟังเสียงเด็ก และเลือกใช้คำพูดที่เหมาะสมไม่ทำร้ายกัน ** ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน **
Creative Shield - 1
ผลงานอินโฟกราฟิก โดยนักศึกษาคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำเสนอเรื่องของพื้นที่สร้างสรรค์ จากการลงพื้นที่เรียนรู้ที่ชุมชนดวงแข กับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) โดยได้สะท้อนแนวคิดออกมาเป็นการทำสื่อ FB ชื่อ CreativeShield ในประเด็น ทำอย่างไรให้มีพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด Safe Space โดยสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง Safe Space ในความคิดของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง เกิดความเข้มแข็งที่จะปกป้องตนเองจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยอินโฟกราฟิกชิ้นนี้เป็น 1 ในผลงานที่ใช้ในการเผยแพร่
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องต่อมาตรการในการกำกับดูแล ป้องกัน เด็กและเยาวชน ที่เข้าร่วมแข่งขัน เล่นวิดีโอเกม เกมออนไลน์เพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัล eSports อย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ว่าด้วยประเด็นเรื่องนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ป้องกันเด็กและเยาวชนจาก eSports หรือการแข่งขันเล่นวิดีโอเกมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัล โดยให้คุณค่าเทียบเท่ากับการเล่นกีฬา ในขณะที่ความจริงอีกด้านกระแสดังกล่าวอาจกำลังผลักให้เด็กที่ไม่รู้เท่าทันกลายเป็นเด็กติดเกม ที่มีปัญหาด้านสุขภาพต่อไปในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาประเด็นกังวลเหล่านี้ ผ่านการสำรวจจากเอกสาร งานวิจัย รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ eSports ในหลายหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายให้ได้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการกำกับดูแลเยาวชนให้ปลอดภัยและรู้เท่าทัน
การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล สำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ และแนวทางสำหรับประเทศไทย
งานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ เพื่อใช้เสนอเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนไทย โดยมี 6 ประเทศที่เป็นแนวทางในการศึกษา ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหภาพยุโรป ประเทศอินเดีย ประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี 5 ประเด็นที่ค้นพบและสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนในประเทศไทยได้
รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการกํากับดูแล การเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชน
สิ่งที่มาพร้อมกับการสื่อสารที่รวดเร็วเปิดกว้างให้กับคนทุกเพศทุกวัย นำมาซึ่งความเสี่ยงในการสื่อสารด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมให้เข้าใจและรู้เท่าทันสื่อ เพื่อช่วยคัดกรองการเปิดรับสื่อของเด็กเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการจากสื่อดิจิทัลของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึงความคิดเห็นและแนวทางการเสริมสร้างบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลการเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็ก ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชนต่อไป
การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงเวลารายการเด็กและเยาวชน
ในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มีโฆษณาสินค้าปรากฎอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งการโฆษณาจริงและโฆษณาแฝง หากแต่ยังไม่เคยมีการสนับสนุนแนวทางการจัดการกับสิ่งที่โฆษณาส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน มีเดียมอนิเตอร์จึงศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยได้สำรวจการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงวันและเวลารายการสำหรับเด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 24 มี.ค. - 7 เม.ย.57 ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้ไปสนับสนุนแนวทางการจัดการกับผลกระทบต่อเยาวชนและขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายด้านการควบคุมการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มต่อไป
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.17 (ตอน งูเขียวเกียจคร้าน และ ตอน ควายป่ากับคนตัดฟืน)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.17 นำเสนอนิทานทุ่งซ่า ตอน งูเขียวเกียจคร้าน เป็นนิทานจากภาคอีสาน จ.มหาสารคราม เล่าถึงแม่งูเขียวที่ฟูมฟักเลี้ยงดูลูกๆ ให้ออกจากไข่และออกไปหากินเอง จนเหลือเพียงไข่ฟองสุดท้ายที่แตกออกมาเป็นงูเขียวน้อยจอมขี้เกียจ ไม่ยอมไปหากินเอง ได้แต่กินแล้วก็นอนในรังของตนเอง จนท้ายที่สุดก็กัดกินตนเองจนหายไป ต่อด้วยนิทานทุ่งซ่า ตอน ควายป่ากับคนตัดฟืน เป็นนิทานจาก จ. พัทลุง ภาคใต้ เล่าถึงคนตัดฟืน ที่สามารถต่อสู้กับควายป่าจอมอันธพาลได้สำเร็จ และสุดท้ายก็ได้ควายป่ามาเป็นสมาชิกในการแบกฟืนกลับบ้านอีกหนึ่งตัว ปิดท้ายด้วยกิจกรรมเล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการทำการ์ดป๊อบอัพอนุรักษ์ควายป่า
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.16 (ตอน เกือบจะทิ้งพ่อ และ ตอน เศรษฐี ลูกชายและม้า)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.16 พบกับนิทานทุ่งซ่า ตอน เกือบจะทิ้งพ่อ เป็นนิทานจากภาคกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา เล่าถึงลูกชายคนหนึ่ง ที่มีฐานะยากจน มีภรรยาและลูก 3 คนที่ต้องเลี้ยงดู และยังต้องดูแลป้อนข้าวป้อนน้ำให้กับพ่อของตนเองที่ชราและตาบอด จึงวางแผนจะนำพ่อของตนเองไปทิ้งเพราะไม่อยากรับภาระ แต่แล้วก็คิดได้และสำนึกผิดว่าเมื่อถึงตนเองชราบ้าง ลูกๆ ที่พบตัวอย่างไม่ดีของพ่อที่ทำกับปู่ ก็จะต้องทิ้งพ่อคือตนเองด้วยเช่นกัน ต่อด้วยนิทานทุ่งซ่า ตอน เศรษฐี ลูกชายและม้า เป็นนิทานจากภาคใต้ จ.พัทลุง เล่าถึงครอบครัวเศรษฐี ที่มีชีวิตสุขสบายตามประสาพ่อแม่ลูก มาวันหนึ่งภรรยาล้มป่วย จึงเสียเงินเสียทองรักษาไปจำนวนมาก ทรัพย์สมบัติเริ่มร่อยหรอจนเหลือม้าเพียงตัวเดียว จึงตัดสินใจนำม้าไปขายในเมือง ระหว่างที่เดินทางไปนั้น ชาวบ้านต่างซุบซิบนินทาการจูงม้า ของเศรษฐีและลูกมาตลอดทาง ปิดท้ายด้วยกิจกรรมฝึกความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก ๆ ด้วยการทำเรือจากกาบมะพร้าวและวัสดุธรรมชาติ
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.15 (ตอน ยาวิเศษ และ ตอน ทำคุณไม่ขึ้น)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.15 พบกับนิทานทุ่งซ่า ตอน ยาวิเศษ จาก จ.อุบลราชธานี เล่าถึงอาการประหลาดของเจ้าเมืองนครแห่งหนึ่งที่เป็นโรคเบื่ออาหาร ใครทำอะไรมาให้ก็ไม่ยอมกิน จนวันหนึ่ง ”บักเซี่ยงเมี่ยง” รู้ข่าว จึงบอกว่าจะพาเจ้าเมืองไปหายาวิเศษ เพื่อรักษาอาการประหลาดนี้ แต่ต้องเข้าไปหาในป่าลึกด้วยตนเอง และห้ามกินอะไรเลยจนกว่าจะได้ยา เจ้าเมืองรับปากทำตาม แต่ยังไม่ทันเจอยาวิเศษใด ๆ เลย เจ้าเมืองก็หายจากอาการประหลาดนี้แล้ว เพราะว่าได้ออกแรงจึงทำให้กินอาหารอร่อย ต่อด้วยนิทานทุ่งซ่า ตอน ทำคุณไม่ขึ้น จากภาคเหนือ จ.เชียงราย เล่าถึง “ลุงหนาน” ผู้ทำคุณไม่ขึ้น ไปช่วยชีวิตกวางจากการถูกงูเหลือมกิน ก็ถูกกวางก็ต่อว่าว่าจับตนเพราะหวังเอาเขากวางไปขาย พอไปช่วยผู้หญิงที่ถูกปูหนีบ ก็ถูกตบหน้าและว่าว่าหลอกลวง สุดท้ายลุงหนานท้อไม่อยากทำความดีต่อไป เทวดาเห็นจึงยืนมือมาช่วยเหลือและเป็นกำลังใจให้ลุงหนาน ปิดท้ายด้วยการชวนเด็ก ๆ ไปสนุกกับการละเล่นพื้นบ้าน 'อีตัก' ได้เรียนรู้เมล็ดพืชทั้งถั่วแดง ตะบูน น้อยหน่า ฯลฯ
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.14 (ตอน ชาวนากับงูเหลือม และ ตอน คำสอนของอาจารย์)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.14 พบกับนิทานทุ่งซ่า ตอน ชาวนากับงูเหลือม เป็นนิทานจากภาคเหนือ จ.เชียงราย เล่าถึงชาวนาผู้หนึ่ง เป็นคนดี ใจบุญสุนทาน ขยันขันแข็งทำมาหากินเลี้ยงชีพ วันหนึ่งเกิดพลัดหลงกับควายของตนเอง จึงเดินตามหาในป่าลึก พบกับงูเหลือมที่จะมาทำร้ายตนเอง แต่ด้วยคุณงามความดีที่ทำไว้ สัตว์ร้ายต่าง ๆ จึงไม่สามารถทำอันตรายใด ๆ ชาวนาได้ ต่อด้วยนิทานทุ่งซ่า ตอน คำสอนของอาจารย์ เป็นนิทานของ จ.พัทลุง เล่าถึงอาจารย์ที่มอบคำสอนให้กับลูกศิษย์ซึ่งร่ำเรียนศิลปะการต่อสู้จนจบและจะเดินทางกลับบ้านว่า “อยู่สูงให้นอนคว่ำ อยู่ต่ำให้นอนหงาย” ซี่งเมื่อลูกศิษย์เชื่อฟังคำสอนของอาจารย์เช่นนี้ จึงทำให้พวกเขารอดพ้นจากอันตรายต่าง ๆ ระหว่างการเดินทาง ปิดท้ายด้วยการประดิษฐ์หุ่นเงา ให้การเล่นหุ่นเงามีสีสันที่หลากหลาย
รายการทุ่งซาวาไรตี้ Ep.13 (ตอน พรของเสือ และ ตอน กินข้าวเหลือ)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.13 มีนิทานทุ่งซ่ามาให้สนุกกัน 2 ตอน ตอนแรกเรื่อง พรของเสือ เป็นนิทานเรื่องเล่าจากภาคใต้ จ. พัทลุง เล่าถึงตำนานการมีลูกของเสือว่าสาเหตุที่เสือมีลูกน้อย เพราะไปขอพรจากพระอินทร์ให้มีลูกได้ครั้งละหลายตัว พระอินทร์ให้แต่มีข้อแม้ว่าระหว่างเดินทางกลับจะต้องท่องพรที่ขอไว้ตลอดว่า “ปีละหนึ่งครอกๆ ละ 7 ตัว” ข่าวรู้ถึงชาวบ้านก็เกิดความหวาดกลัว จึงไปขอร้องให้พระอินทร์ช่วยสร้างอุปสรรคให้เสือท่องผิดเป็น “ 7 ปีหนึ่งครอกๆ ละ 1 ตัว” ส่วนนิทานทุ่งซ่าเรื่องที่สอง ตอน กินข้าวเหลือ เป็นนิทานจากภาคกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นเรื่องของ 2 ครอบครัวที่ฐานะต่างกัน ครอบครัวหนึ่งร่ำรวย แต่กินทิ้งกินขว้าง กับอีกครอบครัวที่ฐานะยากจนแต่ขยันขันแข็งและประหยัดอดออม เมื่อเกิดศึกสงครามข้าวยากหมากแพง ครอบครัวที่ประหยัดอาหารการกินไว้ก็อยู่ได้ไม่ลำบาก ส่วนครอบครัวร่ำรวยแม้มีเงินก็ไม่สามารถซื้อข้าวกินได้ ปิดท้ายรายการด้วยกิจกรรมสนุกกับเงา ให้เด็กๆ ไม่กลัวความมืดและสนุกอย่างสร้างสรรค์กับจินตนาการ