trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "อินโฟกราฟฟิก" พบ 332 ข้อมูล

ลูกติดเกม เกมที่ครอบครัวต้องช่วยกันแก้

ผลสำรวจเด็กไทย “ติดเกม เล่นออนไลน์” ปี 2556 สูงถึง 2.7 ล้านคน จากเยาวชน 18 ล้านคน พบอาการเด็กติดเกม 4 ระดับ คือ แสวงหาการเล่น ชินชาการเล่น ขาดการเล่นไม่ได้ และเล่นจนเสียการทำหน้าที่หลัก ทว่าพ่อแม่สามารถแก้ไขได้ เพียงหาเวลาและกิจกรรมดี ๆ ทำร่วมกันกับลูก

รู้ทันคำโตๆของโฆษณา ตอน น้ำบวกลม (ตอนที่ 1)

น้ำอัดลม เป็นที่รู้จักในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2492 เป็นเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล กรดคาร์บอนิก และคาเฟอีน ส่วนชนิดที่ไม่มีน้ำตาล ใช้สารทดแทนความหวาน เช่น แอสปาเทม และเติมหัวเชื้อกลิ่นน้ำผลไม้ต่างๆ สาเหตุผู้คนนิยมดื่มน้ำอัดลมเพราะหลงเป็นเหยื่อโฆษณา

ทัน 5 โรคฮิตคนติดโซเซียลมีเดีย

ยุคโซเชียลมีเดีย พบ 5 โรคฮิตที่ควรระวัง ทั้งโรคซึมเศร้า โรคละเมอแชท (Sleep-Texting) โรควุ้นในตาเสื่อม โรคโนโมโฟเมีย (Nomophobia) กลัวการไม่มีมือถือ และโรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) การก้มมองและจ้องจอมากเกินไป ทั้งหมดนี้บำบัดได้ ขอเพียงเปิดใจยอมรับ ควบคุมเวลาเล่น และหางานอดิเรกอื่นๆ ทำ

รู้ทันโปรโมชั่นค่าโทร ฮัลโหลต้องไม่เกิน 99 สตางค์

กสทช. ออกประกาศควบคุมอัตราค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้บริษัทที่บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องคิดค่าบริการไม่เกิน 99 สตางค์ต่อนาที เพื่อให้เกิดการแข่งขันด้านราคาที่เป็นธรรมกับผู้ใช้บริการ หากผู้ใช้บริการพบไม่เป็นตามประกาศ โทร. สายด่วน 1200 กสทช.

ระวังภัย ซ่อนสอนลูก เมื่อเด็กดูทีวี

การนั่งดูทีวีกับลูกเป็นโอกาสที่พ่อแม่ไม่ควรพลาด ทำให้สามารถคัดเลือกรายการดี ๆ เพื่อดูร่วมกัน รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการเรียนรู้ระหว่างโลกจริงและโลกสมมติ ที่สำคัญยังได้หลีกเลี่ยงภัยที่ซ่อนอยู่ในจอทีวี ทั้งการพูดจาก้าวร้าว การเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการโฆษณาเกินจริง

การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการเด็ก

ผลการศึกษาเรื่อง โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็ก ช่องฟรีทีวี (ช่อง 3,5,7,9) โดยมีเดียมอนิเตอร์ ร่วมกับแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ พบมีโฆษณาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กถึงร้อยละ 94 ล้วนแต่เป็นการโน้มน้าวให้บริโภคเกินจริง บริโภคทดแทนอาหารมื้อหลัก หากไม่บริโภคจะด้อยกว่าคนอื่นๆ

ยิ่งเล่น ยิ่งโต

สถาบันวิจัยด้านเด็กและวัยรุ่นของอังกฤษ (Childwise) ยืนยันว่าการเล่นช่วยพัฒนาและเสริมสร้างทักษะให้เด็กมีความคิดที่สร้างสรรค์ แก้ปัญหาเป็น เรียนรู้ และปรับตัวในการร่วมอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี ...วันนี้คุณพ่อคุณแม่ชวนเด็ก ๆ ผละจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ แล้วออก มาเล่นกันวันละ 60 นาที รับรอง “ยิ่งเล่น ยิ่งโต”

แผ่นพับสำรวจตัวเองว่าติดเกมหรือไม่

หลายคนเล่นเกม เล่นเยอะ เล่นจนไม่รู้ว่าตัวเองเข้าข่ายติดเกมหรือเปล่า? ถ้าอยากได้คำตอบ ลองมาสำรวจตัวเองง่าย ๆ ด้วยแผ่นพับสำรวจตัวเองว่าเข้าข่ายติดเกมหรือไม่? ถ้าสำรวจแล้วพบว่าเข้าข่ายเป็นคนติดเกมก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ มีวิธีช่วยเหลือแก้ไขอาการติดเกมเบื้องต้นมาให้ศึกษาพร้อมกันด้วยในสื่อเดียว

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 6

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลและบทบาทผู้ที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลไกการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน โดยประกอบด้วยครอบครัว โรงเรียนและสถาบันการศึกษา และภาคส่วนต่าง ๆ การตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเอง รวมถึงการบูรณาการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ระบบการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลในเยาวชนสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 5

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลการพัฒนาพลเมืองให้รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ให้ประชาชนแต่ละช่วงวัยที่มีความแตกต่างกัน โดยแบ่งพลเมืองเป็น 5 กลุ่มอายุ คือ 1-5 ปี 6-12 ปี 13-18 ปี 18-25 ปี และ 25 ปีขึ้นไป โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ด้านสำคัญคือ คุณลักษณะ ความรู้ และทักษะ เพื่อเป็นแนวทางและกรอบแนวคิดสำหรับผู้ทำงานด้านความรู้เท่าทันสื่อได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 4

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอกรอบแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) เน้นการพัฒนาใน 4 มิติคือ การรู้ตนเองและทักษะชีวิต การอยู่ร่วมกันในยุคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย และการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยแบ่งการพัฒนาพลเมืองเป็น 3 แบบ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม 

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 3

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลเจาะลึกการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ที่เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) โดยแบ่งพลเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เรียนรู้รายละเอียดของพลเมืองแต่ละแบบผ่านแนวคิดหลัก แนวปฏิบัติ และตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบที่ช่วยให้เข้าใจได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.