Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "อินโฟกราฟฟิก" พบ 332 ข้อมูล

อย่ามองตาได้ไหม ถ้าเธอ..ไม่แคร์

เมื่อเราหลีกเลี่ยงการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ได้ ก็ควรจัดหาที่วางอุปกรณ์ในที่มีแสงสว่างเพียงพอ เว้นระยะห่างระหว่างดวงตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสม สวมแว่นตากรองแสง หรือหาอุปกรณ์ช่วยลดแสงสะท้อนจากจอภาพ ขยายตัวหนังสือให้ใหญ่เพื่อมองสะดวก หากตาแห้งกระพริบตาถี่ ๆ หรือหยอดน้ำตาเทียมช่วย เป็นการช่วยดูแลและถนอมดวงตาของเราให้มีสุขภาพดีไปนาน ๆ  

เราเลิกกันเถอะ บอกเลิกพฤติกรรมเคยชินเพื่อชีวิตที่ดีกว่า

ชวนกันมาบอกเลิกพฤติกรรมที่ส่งผลเสียกับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น เลิกกินไปเล่นมือถือไป เลิกนั่งไขว้ห้างจะทำให้กระดูกสันหลังคด เลิกเขี่ยผักทิ้ง เลิกดิ่มเหล้าพ่นบุหรี่ เลิกกินแล้วนอน เลิกเครียด เลิกโกรธ เลิกเศร้า เลิกพฤติกรรมเหล่านั้น แล้วหันมาเริ่มต้นรักการออกกำลังกายกันเถอะ

ปวดหัวข้างเดียวอาจไม่เกี่ยวกับไมเกรน

อาการปวดหัวไมเกรน จะปวดตุบ ๆ ตามจังหวะของชีพจร ปวดเพียงข้างเดียว คนที่เป็นรุนแรงจะมีอาการตาพร่า คลื่นไส้อาเจียน แต่บางครั้งอาการปวดหัวข้างเดียวก็อาจไม่ใช่เกิดจากโรคไมเกรนเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิดจากการผิดปกติของเส้นประสาทคู่ที่ 5 และระบบประสาทอัตโนมัติ ที่เรียกว่าปวดหัวแบบคลัสเตอร์ ซึ่งเกิดจากการอดนอน การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ จะมีอาการปวดหัวตื้อ ๆ ที่ขมับ และท้ายทอย ปวดนานเป็นวัน ๆ เราเรียกว่า ปวดเครียดแบบเทนชั่น ถ้ามีอาการปวดหัวลักษณะนี้ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะอาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้ ควรไปพบแพทย์จะดีที่สุด

ทำนายสุขภาพจากอึทั้ง 7

บอกวิธีสังเกต อึ ที่จะช่วยบ่งบอกสุขภาพภายในของเราได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น อึกล้วย สีเหลืองสวย เป็นคนสุขภาพแข็งแรง, อึขี้กระต่าย สีน้ำตาลมีกลิ่น ท้องผูก ระวังเป็นริดสีดวงทวาร, อึโคลน เป็นคนนอนดึก ควรกินไฟเบอร์มากๆ, อึเป็นน้ำ มีกลิ่น เป็นคนเครียด กินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ, อึอุด้ง กล้ามเนื้อท้องมีปัญหา, อึแข็งปนเหลว ลำไส้กำลังมีปัญหาควรไปพบแพทย์ ส่วนอึที่บอกถึงสุขภาพที่แข็งแรงเต็มร้อย ต้องเป็นอึสีเหลือง ไม่มีกลิ่น เนื้อเนียนนุ่ม

5 วิธีจัดการกับฮอร์โมนความหิว

ฮอร์โมนหิว มีชื่อเรียกว่า “เกรลิน” หลั่งออกจากเซลล์กระเพาะอาหารเพื่อสั่งสมองให้เกิดความรู้สึกหิว ดังนั้นถ้าไม่อยากเป็นคนกินพร่ำเพรื่อ มี 5 วิธีการจัดการกับเกรลิน คือ 1. กินอาหารประเภทโปรตีนเยอะ ๆ เพื่อยับยั้งการผลิตเกรลิน 2. หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงเพราะจะไปกระตุ้นเกรลินทำให้หิวบ่อย 3. ถ้าหิวให้หันมากินอาหารมื้อเล็ก ๆ แทน 4. อย่าเครียด และ 5. อย่านอนดึก เพียงเท่านี้ เราก็จัดการกับฮอร์โมนหิวได้แน่นอน

ผลไม้ที่คุณทานอ่อนหวานแค่ไหน

การรับประทานทุกอย่างต้องมีความพอดี แม้แต่การรับประทานผลไม้ก็เช่นกัน เพราะถ้ารับประทานมากเกินไป ความหวานในผลไม้อาจส่งผลให้เป็นโรคต่าง ๆ ทั้ง โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจหลอดเลือด และฟันผุ ตัวอย่างเช่น มะม่วงสุก 1 ผล มีปริมาณน้ำตาล 3.56 ช้อนชา แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 2.17 ช้อนชา ทุเรียนกวน 16 คำ มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 9.97 ช้อนชา

ปริมาณน้ำตาลในขนมไทย

คนไทยมีแนวโน้มบริโภคน้ำตาลมากขึ้นเป็น 3 เท่า เรามาลองมาเช็คปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในขนมไทยแต่ละประเภท จากขนมไทยปริมาณ 100 กรัม ถ้าเป็นทองหยอดปริมาณน้ำตาลมี 57 % ฝอยทอง 40 % ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง 26 % ขนมกล้วย 26 % และลอดช่องน้ำกะทิ 12 %

น้ำมันทอดซ้ำ อร่อยมัน อันตราย

ภัยเงียบจากน้ำมันทอดซ้ำ เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารให้เราทานในแต่ละวัน จะเป็นต้นเหตุทำให้เราเป็นโรคหัวใจ มะเร็ง เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ส่งผลเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้ ดังนั้นเลือกกินอย่างฉลาดและปลอดภัย หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ทอดในน้ำมันทอดซ้ำเพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัย

กินเท่าไหร่ ออก (กำลัง) กายเท่านั้น

ยิ่งเรากินอาหารเข้าไปมากเท่าไร เพื่อสุขภาพที่ดี เราก็ควรออกกำลังกายเพื่อเบิร์นออกเท่านั้น ตัวอย่างเช่น กาแฟ 1 แก้วมี 115 กิโลแคลอรี่ ต้องวิ่งออกกำลัง 1.8 กิโลเมตร โจ๊กหมู 1 ชามมี 253 กิโลแคลอรี่ ต้องวิ่งออกกำลัง 4.1 กิโลเมตร  ข้าวขาหมู 1 จานมี 438  กิโลแคลอรี่ ต้องวิ่งออกกำลัง 7 กิโลเมตร  แต่ถ้าเป็นแตงโม 1 ถุงมี 8 กิโลแคลอรี่วิ่งออกกำลังแค่ 0.5  กิโลเมตรเท่านั้นเอง

ซื้อยาเอง สะดวกบนความเสี่ยง

คนไทยมีสถิติการใช้ยาสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ถึง 3 เท่า จากผลสำรวจพบว่าคนไทยที่ป่วย มักเลือกที่จะซื้อยามากินเองกว่า 98 % นับเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงและส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะอาจทำให้ดื้อยา ได้รับยาเกินขนาด ใช้ยาผิดประเภท หรืออาจทำให้เสพติดยาได้ในที่สุด

อันตรายใส่โฟมรองด้วยพลาสติก

โฟมและพลาสติก 2 มัจจุราชสุดอันตรายต่อสุขภาพ เพราะในโฟมมีสารสไตรีน มอนอเมอร์ ส่วนในพลาสติกขุ่นมีสารไดออกซิน และในพลาสติกใสมีสารไวนิล คอลไรด์ มอนอเมอร์ ซี่งทั้งหมดล้วนเป็นสาพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท สมอง และร่างกาย ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดี โปรดหลีกเลี่ยงภาชนะโฟมและพลาสติก ไม่นำมาใส่อาหารรับประทาน นอกจากเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ยังช่วยลดปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมด้วย

อันตรายใกล้ตัวแฝงภาชนะโฟม

ผลสำรวจร้านค้าใช้กล่องโฟมเป็นภาชนะใส่อาหารร้อนสูงมากถึง 70 %  ทั้งนี้ในกล่องโฟมที่เราใช้กินอาหารกันมีสารสไตรีน ซึ่งเมื่อโดนความร้อนจะมีโอกาสก่อให้เกิดมะเร็ง ดังนั้นเราควรเปลี่ยนมาใช้ภาชนะใส่อาหารที่เป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น แก้ว กระเบื้อง หรือวัสดุทดแทนจากธรรมชาติ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.