trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "อินทรีย์" พบ 16 ข้อมูล

เที่ยวนี้ดี

เปลี่ยนวิถีการเที่ยวครั้งใหม่ ให้ดีต่อใจ ดีต่อกาย และดีต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการเที่ยววิถีอินทรีย์ที่เชื่อมโยงอย่างผู้คนในระบบการท่องเที่ยว ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้คุณค่าของเกษตรอินทรีย์ ที่ไม่ได้ให้แค่สุขภาพดีอย่างเดียว แต่ช่วยยกระดับคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นด้วย

มีใบไหม รู้จัก PGS ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม

ทำไมต้องมี PGS เพราะระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอก เช่น IFOAM หรือ มกอช. (มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ Organic Thailand) นั้น มักจะมีระเบียบข้อกำหนดที่ค่อนข้างเข้มงวด สลับซับซ้อน และอาจไม่เหมาะกับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพื่อขายในท้องถิ่นหรือเกษตรกรรายย่อย  ทาง IFOAM จึงได้มีการพัฒนาระบบการรับรอง Participatory Guarantee System (PGS) ที่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตและชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงที่เหมาะสมกับเกษตรกรในพื้นที่ แต่ก็ยังมีตรวจสอบกระบวนการผลิตเป็นประจำ ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ขณะที่เกษตรกรรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอินทรีย์ได้เช่นกัน

ผัก ระยะปลอดภัย

เพราะผักตามท้องตลาดทั่วไปที่เราไม่รู้ที่มา อาจเป็นผักที่ปลูกด้วยการใช้สารเคมี โดยไม่มีการตรวจสอบควบคุม ส่วนผักที่มีตรารับรองก็ไม่ได้แปลว่าปลอดภัยแบบ 100% จึงเป็นเหตุผลที่ผู้บริโภคอย่างเราต้องรู้จักเลือกและแยกแยะผักให้เป็น 

Folk Rice ตลาดข้าวอินทรีย์ในมือคนรุ่นใหม่

Flok Rice พันธุ์ข้าวหลากหลายพันธุ์ ที่เกิดจากริเริ่มจากการ “อกหัก”  ขออนุกูล ทรายเพชร อดีตเด็กวัด ที่เกิดมาเป็นลูกชายของชาวนา แต่กลับบอกแม่ให้ขายที่นา เพื่อส่งตนเองรียนวิศวกรรมศาตร์ สายอินเตอร์ฯ แต่สุดท้ายก็ไม่ปลื้มจนกระทั่งมาสอบเข้าศึกษาด้านสังคมศาสตร์ ด้าน area studies ที่คณะสหวิทยาการสังคมศาสตร์ สาขาอนุภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   หลังจากจบการศึกษามีความรู้สึก “ดาวน์และดาร์ก” ด้วยบาดแผลจากระบบการศึกษา จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดมาเช่าที่นาเพื่อปลุกข้าวอินทรีย์ และทำการตลาดผ่านออนไลน์ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Flok Rice”  ที่ทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มความโดดเด่นด้วยการหุงข้าวให้ชิมหลากหลายสายพันธุ์ ..ปัจจุบัน“Flok Rice” มีออเดอร์หลักพันตัน อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ต่างปลูก ต่างแปลง

ผลงานการสะท้อนคิดผ่านงานออกแบบชิ้นงานรูปแบบต่าง ๆ โดยนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ จุฬาลงกรณ์ นำเสนอการให้ความรู้เรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ที่ผู้บริโภคต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เราบริโภคเข้าไปว่ามีวัตถุดิบประกอบด้วยอะไร การผลิตด้วยวิธีใด มีสารตกค้างหรือไม่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค และนำเสนอทางเลือกให้กับผู้บริโภคด้วยเกษตรอินทรีย์ที่มีกระบวนการทางธรรมชาติ ปลูกด้วยธรรมชาติ ไม่ปนเปื้อนสารเคมี

ซุปเปอร์มาเก็ต

เพราะเชื่อว่าเกษตรอินทรีย์เป็นคำตอบของความสุขที่ยั่งยืน ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์แก่ผู้บริโภค และการปลูกกับการผลิตที่ปราศจากสารเคมีนั้น จะทำให้ผู้บริโภคไม่เจ็บป่วย มีอาหารและสุขภาพที่ดี นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้สะท้อนความคิดประเด็นนี้ออกมาเป็นงานนิทรรศการชื่อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต กระตุ้นเตือนให้คนได้เห็นว่า สิ่งที่แฝงมากับอาหาร บางอย่างเราไม่เห็น จึงคิดว่าไม่มี 

การร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาโรงเรียนบ้านเค็ง จังหวัดศรีสะเกษ

พาไปเรียนรู้การร่วมมือของชุมชนจากกรณีตัวอย่างโรงเรียนบ้านเค็ง จ.ศรีสะเกษ เป็นโรงเรียนที่อยู่พื้นที่แห้งแล้ง ห่างไกลความเจริญ ทางโรงเรียนและชุมชนจึงได้ร่วมมือกันโดยนำเกษตรอินทรีย์ วิถีพอเพียงมาพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ในโรงเรียน การเชื่อมโยงความช่วยเหลือจากนักศึกษา ม.ราชภัฏศรีสะเกษ และชุมชน จนทำให้โรงเรียนทำได้สำเร็จและขยายต่อเป็นองค์ความรู้ไปยังหมู่บ้านข้างเคียงต่อไปด้วย

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.