Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "อาหาร" พบ 96 ข้อมูล

อร่อยปาก ระวังสารปรุงเปื้อน

การรับประทานอาหารหน้าตาดี รสชาติอร่อย อาจต้องระวังสารปนเปื้อน เพราะผักนอกฤดูอาจอุดมด้วยยาฆ่าแมลง อาหารทะเลสดใหม่ สีสวย ๆ อาจชุบตัวมาแล้วด้วยฟอร์มาลีน ส้มตำปลาร้ารสจัด อาจจะมีเชื้อบาซิลลัสซีเรียส แม้แต่น้ำสลัดไข่ก็อาจแฝงเชื้อซาลโมเนลลา ดังนั้น หากพบอาหารที่มีกลิ่น รส สี ที่ผิดปกติควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทานจะดีต่อสุขภาพที่สุด

ผักบ้านบ้านประโยชน์คับบ้าน

มาเรียนรู้ประโยชน์มากมายที่ซ่อนอยู่ในผักพื้นบ้าน ตัวอย่างเช่น ผักหวานมีวิตามินซี ใบย่านางช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ผักกูดมีธาตุเหล็ก บำรุงเลือด ช่วยลดไข้ อัญชัน กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและบำรุงสายตา เราลองหันมาปลูกผักกินกันเองที่บ้าน เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพกันเถอะ

มิกซ์แอนด์แมตช์ ผักผลไม้ให้ครบโดส

ในแต่ละวันเราควรจะต้องกินผักและผลไม้ให้ครบปริมาณ 400 กรัม จึงจะเพียงพอและเกิดผลดีต่อสุขภาพ เริ่มต้นง่าย ๆ อย่างน้อยเพียงกินผัก 3 อย่างกับผลไม้ 2 อย่าง สุขภาพก็ดี ร่างกายก็แข็งแรง

ผลไม้ที่คุณทานอ่อนหวานแค่ไหน

การรับประทานทุกอย่างต้องมีความพอดี แม้แต่การรับประทานผลไม้ก็เช่นกัน เพราะถ้ารับประทานมากเกินไป ความหวานในผลไม้อาจส่งผลให้เป็นโรคต่าง ๆ ทั้ง โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจหลอดเลือด และฟันผุ ตัวอย่างเช่น มะม่วงสุก 1 ผล มีปริมาณน้ำตาล 3.56 ช้อนชา แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 2.17 ช้อนชา ทุเรียนกวน 16 คำ มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 9.97 ช้อนชา

ปริมาณน้ำตาลในขนมไทย

คนไทยมีแนวโน้มบริโภคน้ำตาลมากขึ้นเป็น 3 เท่า เรามาลองมาเช็คปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในขนมไทยแต่ละประเภท จากขนมไทยปริมาณ 100 กรัม ถ้าเป็นทองหยอดปริมาณน้ำตาลมี 57 % ฝอยทอง 40 % ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง 26 % ขนมกล้วย 26 % และลอดช่องน้ำกะทิ 12 %

กินเท่าไหร่ ออก (กำลัง) กายเท่านั้น

ยิ่งเรากินอาหารเข้าไปมากเท่าไร เพื่อสุขภาพที่ดี เราก็ควรออกกำลังกายเพื่อเบิร์นออกเท่านั้น ตัวอย่างเช่น กาแฟ 1 แก้วมี 115 กิโลแคลอรี่ ต้องวิ่งออกกำลัง 1.8 กิโลเมตร โจ๊กหมู 1 ชามมี 253 กิโลแคลอรี่ ต้องวิ่งออกกำลัง 4.1 กิโลเมตร  ข้าวขาหมู 1 จานมี 438  กิโลแคลอรี่ ต้องวิ่งออกกำลัง 7 กิโลเมตร  แต่ถ้าเป็นแตงโม 1 ถุงมี 8 กิโลแคลอรี่วิ่งออกกำลังแค่ 0.5  กิโลเมตรเท่านั้นเอง

อันตรายใส่โฟมรองด้วยพลาสติก

โฟมและพลาสติก 2 มัจจุราชสุดอันตรายต่อสุขภาพ เพราะในโฟมมีสารสไตรีน มอนอเมอร์ ส่วนในพลาสติกขุ่นมีสารไดออกซิน และในพลาสติกใสมีสารไวนิล คอลไรด์ มอนอเมอร์ ซี่งทั้งหมดล้วนเป็นสาพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท สมอง และร่างกาย ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดี โปรดหลีกเลี่ยงภาชนะโฟมและพลาสติก ไม่นำมาใส่อาหารรับประทาน นอกจากเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ยังช่วยลดปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมด้วย

ผักย่างข้างไข่คน

เมนูมื้อเช้าแสนง่ายปรุงรสโดยทีม greeney. Eat good. Live green ผลิตโดย greeneyorg ตอนนี้ชวนทำมื้อเช้าแสนอร่อยที่ง่ายดายแต่มีประโยชน์สุขภาพครบดถ้วนกับเมนู 'ผักย่างข้างไข่คน' เริ่มด้วยการนำผักที่ชอบมาหั่นให้พอดีคำ นำไปย่างกับน้ำมันมะกอกในกระทะไฟอ่อน ๆ เติมเกลือ พริกไทย ตักใส่จานเคียงคู่กับขนมปังโฮลวีทปิ้ง ส่วนไข่คนก็ไม่ยาก นำเนยจืดไปละลายในไมโครเวฟ นำมาผสมกับไข่ไก่ดิบตีให้เข้ากัน ผัดกับน้ำมันมะกอก โรยเกลือ พริกไทย ผักโรยเล็กน้อย จากนั้นตักเสิร์ฟ พร้อมกับผักย่างหอมอร่อยได้สุขภาพดี  

ต้มยำไก่ ไล่หวัด หอมสมุนไพร

เมนู DIY ปรุงรสทีม greeney. Eat good. Live green ผลิตโดย greeneyorg นำเสนอเมนูต้มยำประจำครัว ง่าย ๆ แค่ต้มน้ำเดือด นำตะไคร้ทุบ ข่าหั่น ลงไปต้ม เติมน้ำมะขามเปียก แล้วนำสะโพกไก่ที่หั่นพอดีคำต้มในน้ำเดือด เคี่ยวไฟอ่อน ๆ ประมาณ 30 นาที เตรียมเครื่องปรุงหอมแดงและพริกแห้งไปจี่ด้วยไฟอ่อน ๆ จนหอม เสร็จแล้วโขลกหยาบๆ  ใส่เห็ดฟางลงในหม้อต้มยำ  เติมหอมแดง พริกแห้ง ผักชีฝรั่ง ใบมะกรูด จากนั้นตักใส่ชาม บีบมะนาวเล็กน้อย พร้อมเสิร์ฟความอร่อยที่เปี่ยมด้วยสมุนไพรสู้หวัดได้

ลาบเห็ดเพียบหอมข้าวคั่ว

เมนูง่าย ๆ เพื่อสุขภาพปรุงรสทีม greeney. Eat good. Live green ผลิตโดย greeneyorg วิธีทำง่ายดาย เริ่มจากการทำข้าวคั่ว ที่นำข้าวเหนียวดิบมาคั่วจนพองเหลืองสวย แล้วนำไปโขลกให้ละเอียด จากนั้นนำเห็ดที่ชอบมาหั่นพอดีคำ ลวกแล้วพักให้เย็น เติมสารอาหารด้วยอกไก่สับที่รวนสุกในน้ำเดือด นำทั้งหมดมาปรุงคลุกเคล้ากับน้ำปลา มะนาว พริกป่น  โรยหน้าด้วย หอมแดง ต้นหอม ผักชีฝรั่ง เพียงแค่นี้ก็ได้เมนูอร่อยและสุขภาพดี

อาหารที่ดีของลูก เริ่มต้นที่นมแม่

'นมแม่' อาหารมื้อแรกเพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย ใน 6 เดือนแรกที่ลูกได้รับนมแม่ จะได้สารอาหารครบถ้วน มีภูมิต้านทานโรคต่างๆ ส่วนคุณแม่ก็มีสุขภาพดี ไม่เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและรังไข่ และเมื่อลูกอายุ 1-5 ปี ก็ให้กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรส ทั้งมันจัด หวานจัด และเค็มจัด

รู้ทันโฆษณาอาหารเสริม

เช็ค..ก่อนเชื่อ โฆษณาอาหารเสริม ความจริงที่ต้องรู้และใช้วิจารณญาณในการเลือกบริโภค อีกทั้งในเรื่องการใช้เครื่องหมาย อย. มาเสริมโฆษณาให้ดูน่าเชื่อถือเกินจริงเพราะเครื่องหมาย อย. มีหน้าที่รับรองเฉพาะส่วนผสม สถานที่ผลิต และระบบการผลิตแต่ไม่ได้รับรองสรรพคุณ อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เพราะอาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.