trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "อาจารย์" พบ 18 ข้อมูล

The Reading อ่านสร้างสุข โดย อาจารย์เกริก ยุ้นพันธ์ EP.3

การอ่านหนังสือให้เด็กฟังหรือการให้เด็กอ่านหนังสือเองมีความสำคัญมาก แต่การเล่นกับเด็กก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะการเล่นกับเด็กจะช่วยในเรื่องพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ปฎิสัมพันธ์ทางสังคม ทักษะทางภาษาและทักษะการใช้กล้ามเนื้อ The Reading อ่านสร้างสุข โดย อาจารย์เกริก ยุ้นพันธ์ ในตอนที่ 3 นี้ อาจารย์เกริก จะมาสอนเทคนิคการเล่านิทานด้วยการพับผ้าเช็ดหน้าที่ทั้งสนุก ตื่นเต้นและสร้างสรรค์ ซึ่งเทคนิคการเล่านิทานวิธีนี้จะช่วยเสริมในเรื่องจินตนาการของเด็กๆ และสร้างสีสันความแปลกใหม่ของการเล่านิทาน ที่จะดึงดูดความสนใจจากเด็กๆ ให้มีส่วนร่วมและสนุกไปกับนิทานได้เป็นอย่างดี

The Reading อ่านสร้างสุข โดย อาจารย์เกริก ยุ้นพันธ์ EP.2

พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูผู้สอนควรประดับประดาตัวเองด้วยนิทาน ด้วยการสร้างความเคยชินและศึกษาเรื่องราวในนิทานเรื่องนั้นๆ ก่อนที่จะนำมาเล่าให้เด็กๆ ฟัง เพราะการอ่านนิทานให้สนุกมีเสียงหัวเราะและรอยยิ้มนั้นจะเป็นเครื่องมือช่วยปลูกฝังทั้งความดีงาม การรักการอ่านและความผูกพันในเรื่องราวของหนังสือให้กับเด็กๆ ได้ The reading อ่านสร้างสุข กับ อาจารย์เกริก ยุ้นพันธ์ ตอนที่2 อาจารย์เกริก จะมาแนะนำเทคนิควิธีการอ่านนิทานที่จะช่วยเพิ่มอรรถรสและดึงความสนใจจากเด็กๆ ให้มีส่วนร่วมในการฟังนิทานให้สนุกมากขึ้น ด้วยนิทานเรื่องมาร์สแมนกับยายเช้า ตอน ปราบปีศาจบุหรี่ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานของอาจารย์เกริก

The Reading อ่านสร้างสุข โดย อาจารย์เกริก ยุ้นพันธ์ EP.1

หนังสือกับมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา มีความสำคัญกับชีวิตการเดินทางของมนุษย์ The reading อ่านสร้างสุข กับ อาจารย์ เกริก ยุ้นพันธ์ เจ้าของผลงานนิทานสำหรับเด็กเรื่องมาร์สแมนกับยายเช้าและผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์ อาจารย์เกริกมีความผูกพันกับหนังสือมาตั้งแต่เล็กจากการได้ฟังนิทานของคุณแม่และมีความรักในศิลปะ จนกระทั่งได้กลายมาเป็นครูสอนศิลปะและเขียนนิทานสำหรับเด็กจนได้รับรางวัลนอมา(NOMA) ที่ประเทศญี่ปุ่น อาจารย์เกริกมีความเชื่อว่าการปลูกฝังการอ่านหนังสือให้กับเด็กเป็นเรื่องที่งดงาม  เพราะสิ่งต่างๆ ในหนังสือจะเป็นตัวบ่มเพาะให้เด็กคนนั้นเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะทำอาชีพใดก็ตาม

New Heart New World 2 พระอาจารย์ชยสาโร

มีคนเคยตั้งคำถามว่า เป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติติธรรมคืออะไร ? พระชยสาโร กล่าว่ามีอยู่ในบทสวดมนต์อยู่แล้ว “...เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ของสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงตลอดกาลนาน...” แล้วเราทุกคนต้องทำอย่างไรจึงจะมีประโยชน์ มีความสุข ไม่ใช่เป็นความสุขที่คนอื่นบอกให้เรามี บอกว่ามันคือประโยชน์ ทุกวันนี้เราเที่ยวแต่ไปรู้เรื่องชาวบ้านเขา แต่ไม่เคยรู้จักตนเองเลย ว่า เราจะมีความสุขในชีวิตได้อย่างไร ไม่มีใครทำให้เรามีความสุขได้  แม้แต่คนที่รักเราที่สุด คนที่ต้องรับผิดชอบชีวิตเราก็คือตัวเราเอง จะสุขจะทุกข์อยู่ที่เรา  ว่าจะใช้ชีวีตอย่างมีสติ เพื่อเกิดปัญญาได้อย่างไร จงอยู่กับ “ปัจจุบัน” ใช้เป็นห้องเรียน ในการฝึกและเรียนรู้ชีวิต บริหารเวลาที่มีเท่ากันทุกคน ปล่อยวางความกังวล ใช้ชีวิตอยู่กับสติทุกลมหายใจ

แปล ปลุก เปลี่ยน ใจ โดย อาจารย์สดใส ขันติวรพงศ์

เจ้าของนามปากกา - สดใส ผู้เดินทางภายในผ่านงานแปลจากวรรณกรรมระดับโลกทั้งด้านปรัชญา ศาสนา ชีวิต มากมายหลายเล่ม เช่น บทเรียน และ สิทธารถะ จากบทประพันธ์ของ เฮอร์มานน์ เฮสเส, พี่น้องคารามาซอฟ ของ ดอสโตเยฟสกี และงานเขียนของท่านอื่น ๆ เช่น โทมัส ฮาร์ดี, อรุณธาตี รอย และ ติช นัท ฮันห์ เป็นต้น ในโอกาสนี้ทีมงาน We Oneness ได้รับความเมตตาจากอาจารย์สดใส ในการสนทนา ถึงการเดินทางเรียนรู้ตนเอง เผยวิธีคิด และการใช้ชีวิตอย่างสดใส สมดั่งชื่อของอาจารย์

เดินสู่หนึ่งเดียวกัน กับ อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์

อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์  ผู้เขียนหนังสือ “เดินทางสู่อิสรภาพ”  ที่มียอดการพิมพ์หนังสือไม่ต่ำหว่า 20 ครั้ง ได้มาแบ่งปันแนวคิดจากประสบการณ์การเดินทางที่นำมาเขียนหนังสือเล่มดังกล่าว ว่าระหว่างการเดินทางนั้นได้มีการหลอมลวงดวงใจให้เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างไรกับผู้ตนที่ไปพบเจอ มิตรภาพเกิดขึ้นโดยก้าวข้ามคำว่าผลประโยชน์และเงินตรา ความงดงามเกิดขึ้นระหว่างเส้นทางที่ก้าวเดิน จะนำพาเราไปค้นหาและรู้จักกับ ความหมายอันงดงามของชีวิต ในที่สุด

อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา

ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล  หรือ อาจารย์แบต  อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่สนใจการสอนเรื่องการพัฒนาตนเอง และเชื่อมั่นว่าความมั่นคงของชีวิตเราสร้างได้จากภายในตัวเอง เพราะแก่นแท้ของการพัฒนาคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เราต้องก้าวให้พ้นตัวตนของเรา เราสามารถ “สุข” ได้ สุขแบบไม่ได้ร่าเริงสุดโต่ง แต่สุขใจได้แม้ในยามปกติ  นั่นคือความสุขทางจิตตปัญญา ที่เกิดจากการเดินทางสายกลาง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

จากเด็กท้องนาสู่อาจารย์สอนศิลปะเพื่อชุมชน

ผศ. ดร. อภิชาติ พลประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฎศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากเด็กชัยภูมิได้รับโอกาสทางการศึกษา เมื่อเติบใหญ่ได้เป็นครู จึงขอตอบแทนกลับสู่สังคม ด้วยการเป็นครู “ผู้ให้” ตามที่ตั้งใจไว้   “...เรางานศิลปะไปสู่ชุมชนทางศูนย์ศิลป์ที่ชัยภูมิเปิดบ้านเป็นศูนย์ศิลป์ สอนเด็กวาดรูปฟรี มีเพื่อนศิลปินต่างชาติมาร่วมทำงานศิลปะ และทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านด้วย ศิลปินคนหนึ่งได้ออกแบบลายผ้าโดยได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน แล้วจ้างแม่บ้านทอผ้าไหมจากลวดลายที่เขาออกแบบ เสร็จแล้วจัดนิทรรศการให้ชาวบ้านได้ชม และจัดแสดงต่อที่กรุงเทพฯ และที่อเมริกา” แม้วันนี้ครูอภิชาตเรียนจบดีกรีเด็กนักเรียนนอก  แต่ครูกลับเลือกลับมาทำงานที่บ้านเกิด อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล หัวข้อ “ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน” ถ่ายทอดสดจากวัดป่าสุคะโต We Oneness Live เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน - We Oneness“ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสหธรรมิกชนภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth

สังคมอริยะชน Part 2 โดย พระอาจารย์สมทบ ปรักกโม

สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรักกฺโม ในหัวข้อสังคมอริยะชน ช่วงที่สอง เป็นการเสวนาธรรมและตอบคำถามแก่ผู้เข้าร่วมเสวนาธรรม เรื่องการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งปัญญาหรืออริยะสังคม ซึ่งอริยะสังคมสามารถสร้างได้จากการริเริ่มพัฒนาศักยภาพภายในตัวบุคคล โดยนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อฝึกฝนและพัฒนาตนให้เกิดสติปัญญารู้เท่าทันไม่ประมาท รู้เหตุรู้ผล รู้คุณ รู้โทษและฉลาดในการเห็นความจริง เพื่อที่จะรับมือกับสิ่งที่เข้ามาในชีวิตได้อย่างมีสติและช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยดีงาม

สังคมอริยะชน Part 1 โดย พระอาจารย์สมทบ ปรักกโม

สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรกฺกโม ช่วงที่หนึ่ง เรื่องหนทางสู่การเป็น “อริยะชน” หรือ ผู้ที่เข้าถึงคุณธรรม รู้เท่าทันตนเอง มีสติและฉลาดในการจัดการ โดยการนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้และฝึกฝนในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาศักยภาพในตัวเราให้มีคุณสมบัติของอริยะชน คือ รู้เท่าทันตนเอง มีความเพียรและใฝ่รู้ รู้จักการเสียสละไม่ยึดถือ มีสติปัญญาในการจัดการที่ดีและมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเองในการทำสิ่งที่ดีงามได้ รวมถึงประพฤติตนให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและสามารถนำพาชีวิตของตนเองไปสู่จุดหมายได้อย่างมีความสุขจากภายในที่แท้จริง

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.